โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนนับว่าเป็นโรคที่เราจะพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น
องค์ประกอบของกระดูก
กระดูกประกอบด้วย โปรตีนหนึ่งในสามส่วน ซึ่งโปรตีนที่เป็นเนื้อกระดูก ส่วนใหญ่เป็นคอลลาเจน
อีกสองในสามส่วนเป็นเกลือแร่ ที่อยู่ในกระดูกก็คือ แคลเซียม
กระดูกก็เหมือนกับเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายที่ต้องมีการผลัดผิวเอาเซลล์เก่าออกแล้วเติมเซลล์ใหม่
ซึ่งการผลัดผิวเกิดจากการทำงานร่วมกันของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก
โดยเซลล์สลายกระดูกจะกินเนื้อกระดูกเป็นหลุมลงไป ต่อจากนั้นเซลล์สร้างกระดูก
จะสร้างเนื้อกระดูกเติมลงไปในหลุมจนเต็มเป็นการปะหลุมนั้น ทำให้ได้กระดูกที่มีผิวสวยงามตามเดิม
ทั้งนี้การทำงานของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูกจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนและ
สารภายในร่างกายหลายชนิดที่เกี่ยวกับการอักเสบ
การเติบโตของกระดูกจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์จนได้ความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงที่สุด
ที่อายุ 20 ปีในเพศหญิง และ 25 ปีในเพศชาย หลังจากนี้มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นลดลงอย่างช้าๆ
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นลดลงร้อยละ 0.5-1 ต่อปี
แต่เพศหญิงในช่วง 10 ปีแรกหลังหมดระดู ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงเร็วมาก
คือร้อยละ 3-5 ต่อปี เมื่อพ้น 10 ปีไปแล้วความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงช้าลง
คือลดลงร้อยละ 1-2 ต่อปี
โรคกระดูกพรุน คืออะไร มีอาการอย่างไรโรคกระดูกพรุน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า osteoporosis (อ่านว่า ออส-ที-โอ-พอ-รอ-สิส)
เป็นโรคที่มีความผิดปกติของกระดูกที่เกิดเนื่องจากมีความไม่สมดุลในกระบวนการผลัดผิวกระดูก
โดยเซลล์สลายกระดูกทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง
เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง และมีความเปราะเพิ่มขึ้นโรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุ และเป็นภัยเงียบ เนื่องจากไม่มีอาการอะไร
มีเพียงแต่เนื้อกระดูกบางลง มีความหนาแน่นน้อยลง กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
ก็เมื่อเกิดกระดูกหัก ซึ่งมักเกิดตามหลังอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกบันได
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีการไออย่างรุนแรงก็อาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ตำแหน่งของกระดูกที่มีการหักที่พบส่วนใหญ่จะเป็นที่กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง
เป็นเพราะเมื่อหกล้ม เราก็จะเอามือยันพื้นไว้เพื่อประคองตัวเอง แต่ด้วยความที่เนื้อกระดูกบางลง
กระดูกข้อมือจึงไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่เหมือนตอนหนุ่มสาว กระดูกข้อมือจึงหัก
เมื่อกระดูกข้อมือหักก็ใช้มือข้างนั้นหยิบจับอะไรไม่ได้ ในระหว่างที่ต้องเข้าเฝือก
หากมีก้นกระแทกพื้น เช่นในกรณีตกบันไดหรือตกจากเก้าอี้ ก็จะมีกระดูกสะโพกหัก
ทำให้เดินไม่ได้ในระหว่างการรักษา บางรายอาจต้องเปลี่ยนข้อใส่ข้อเทียม ทำให้ต้องนอนติดเตียง
ซึ่งอาจเกิดแผลกดทับหรือโรคอื่นๆตามมา หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ
ผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากถึงร้อยละ30-40
ในขณะที่ผู้ชายมีโอกาสร้อยละ13 โดย ผู้หญิงช่วงอายุ 10 ปีแรกหลังหมดระดู
กระดูกจะบางลงเร็วมาก เนื่องจากเกิดการขาดฮอร์โมนเพศหญิง
ที่มีชื่อว่าเอสโตรเจนนอกจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้ว
ยังเกิดจากความเสื่อมตามวัย ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงโรคกระดูกพรุนยังอาจเกิดตามมาจากการเป็นโรคอื่น เช่น
โรคไต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็ง
ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง และภาวะกลุ่มอาการคุชชิง
(Cushing’s syndrome มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดสูง)
หรือเกิดจากการใช้ยา ได้แก่ ยากลูโคคอร์ติคอยด์(ยาสเตอรอยด์)
ยารักษามะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยากันชัก
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วด้วยเหตุที่โรคกระดูกพรุน มักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก
จึงควรทราบว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
ปัจจัยเสี่ยงอยู่ 2 ประเภท คือปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
-รับประทานแคลเซียมไม่พอเพียง
-ไม่ค่อยได้ใช้แรงกาย
-สูบบุหรี่เป็นประจำ
-ดื่มสุราเกินขนาดเป็นประจำ
-ดื่มกาแฟเกินขนาดเป็นประจำ
-มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า19กิโลกรัม/ตารางเมตร
-มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู
-มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม เนื่องจากสาเหตุอื่นที่แก้ไขได้
เช่น ตาเป็นต้อ สายตาสั้น สายตายาว ตาพร่ามัวปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้
-มีอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
-เป็นเพศหญิง
-เป็นผู้หญิงเอเชีย และผิวขาว
-หมดระดูก่อนอายุ 45 ปี
-มีพยาธิสภาพที่ต้องมีการผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออกก่อนถึงวัยหมดระดู
-มีโครงร่างกายเล็ก
-มีประวัติญาติทางสายเลือด เป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
-เคยกระดูกหักจากภาวะกระดูกเปราะบางผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยก็จะมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนและ
จะมีโอกาสสูงที่จะเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนขอขอบคุณ
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลท่านที่กระดูกหัก หรืออายุ 35 ปีขึ้นไป
ควรรับประทาน ยาบำรุงกระดูก เรืองแผนไทยเภสัช