ท้องเสีย ท้องร่วง ทำอย่างไร

บางท่านอาจเคยมีอาการท้องเสียหรือท้องร่วงโดยไม่ทราบสาเหตุ
และเมื่อมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ต้องทำอย่างไร

ท้องเสีย ท้องร่วง หรืออุจจาระร่วง หมายถึง อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวหรือ
ถ่ายเป็นน้ำเกินกว่าวันละสามครั้ง หรือ
ถ่ายเป็นมูกเลือดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง

อาการเหล่านี้ หากมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน
หากมีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง
ผู้ที่ป่วยท้องเสียจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารหรือน้ำได้อย่างเหมาะสม
หากเป็นนานเกินไป อาจมีภาวะขาดน้ำหรือ มีปัญหาเกลือแร่ผิดปกติได้

สาเหตุของอาการท้องเสีย

-การกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด
-การแพ้อาหารบางชนิด เช่น เห็ดดิบบางชนิด
นม(เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม)
-กินอาหารมากเกินไปหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

อาการท้องเสียสามารถแบ่งตามลักษณะของอุจจาระได้ 2 แบบ คือ

1.อาการท้องเสียที่ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยผู้ป่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดท้องหรือ
ปวดเบ่งที่ทวารหนัก ถ่ายบ่อย และมีปริมาณอุจจาระที่ออกในแต่ละครั้งไม่มากนัก
2.อาการท้องเสียที่ถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ สีเหลืองหรือเขียวอ่อน
ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเป็นน้ำขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว

อาการแบบไหนจึงต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ(ยาปฏิชีวนะ)

การใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย
มักจะพิจารณาให้การรักษาเฉพาะในผู้มีอาการท้องเสียที่ถ่ายเป็นมูกเลือด
หรือผู้มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือน้ำซาวข้าวที่มีอาการแสดงของการขาดน้ำ เช่น
อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ ปากคอแห้ง หน้ามืด เป็นต้น

เนื่องจากอาการเหล่านี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ดังนั้น สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียแบบถ่ายเหลวไม่มีเลือดปน และไม่มีอาการขาดน้ำ
ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อ(ยาปฏิชีวนะ)

เมื่อมีอาการท้องเสียควรทำอย่างไร
ต้องรับประทานยาหยุดถ่ายโดยทันทีหรือไม่

หลายๆท่านอาจคิดว่า เมื่อมีอาการท้องเสียควรทานยาหยุดถ่ายหรือ
ยาแก้ท้องเสีย แต่วิธีการเช่นนี้เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

เพราะการรับประทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสีย
นั้นทำให้ลำไส้ต้องกักเก็บเชื้อโรคเอาไว้นานขึ้น
ซึ่งจะทำให้ท้องอืด ปวด และแน่นท้องมากขึ้น

ดังนั้นถ้าท้องเสียไม่ควรรับประทานยาหยุดถ่าย แต่ควรจะถ่ายให้หมด
เนื่องจากร่างกายจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบ เมื่อมีการติดเชื้อหรือ
กินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
โดยการขับถ่ายสารพิษหรือเชื้อโรคออกมา และเมื่อขับถ่ายหมด
การเคลื่อนตัวของลำไส้ก็จะกลับมาเป็นปกติ

วิธีดูและตัวเองเมื่อท้องเสียในช่วง 24-72 ชั่วโมง

1.หยุดรับประทานอาหาร 2 ถึง 4 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้หยุดการทำงาน

2.ให้รับประทานถ่านกัมมันต์ เพื่อให้ถ่านกัมมันต์ดูดซับสารพิษ หรือเชื้อโรค
ช่วยลดต้นเหตุของอาการท้องเสีย
(หากรับประทานแล้วอาเจียนออกมา ก็ให้รับประทานถ่านกันมันต์เม็ดใหม่เข้าไปอีก)

ถ้ามีลม จุกเสียด ให้ใช้ พิมเสนน้ำ ตรา เอ ทารอบสะดือ
แบ่งนำมาแตะที่ลิ้นแล้วกลืนลงไป
(พิมเสนน้ำ ตรา เอ เท่านั้น เพราะใช้วัตถุดิบเป็น Foodgrade
แม้ว่าขึ้นทะเบียนยาเป็นยาใช้ภายนอก)

3.จิบสารละลายเกลือแร่ (Oral rehydration salts, ORS)
หรือ เตรียมเองได้โดยผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือแกง 1 ช้อนชา
ลงในน้ำที่ต้มเดือดที่เย็นแล้ว750ซีซี ละลายให้เข้ากัน

องค์การอนามัยโลกแนะนำส่วนประกอบไว้ดังนี้
โซเดียม 30-80 mmole/l
กลูโคส 30-112 mmole/l
โดยวิจัยจาก electrolyte ในอุจจาระที่เกิดท้องเสียจากเชื้อโรคต่างๆ

การจิบเกลือแร่ ให้จิบปริมาณน้อยๆ แต่จิบบ่อยๆ ไปเรื่อยๆ และควรเตรียมสารละลาย ORS ใหม่
หากใช้ไม่หมดภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อทดแทนน้ำกับเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป

*** ห้ามทดแทนด้วยเครื่องดื่มเกลือแร่ ***
เพราะเครื่องดื่มเกลือแร่ มีปริมาณน้ำตาล
และเกลือแร่บางชนิดที่สูงกว่า
ทำให้ร่างกายดึงน้ำเข้ามาในทางเดินอาหาร
ส่งผลให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น
กระตุ้นการถ่ายเหลวมากขึ้น

4.หลังจากนั้นจึงเริ่มรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวใส่เกลือ ข้าวต้ม หรือ โจ๊ก
งดอาหารรสจัดและอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก ผลไม้
5.รับประทานโยเกิร์ต ที่มีโปรไบโอติก (probiotic yogurt)
เชื้อแบคทีเรียมีชีวิตเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงบางชนิดและทำให้หายเร็วขึ้นได้
6.ลองรับประทานแบรทไดเอ็ท (BRAT diet) ได้แก่ กล้วย , ข้าว, แอปเปิ้ลหรือน้ำแอปเปิ้ล และขนมปังปิ้งแห้ง
อาหารสูตรนี้เหมาะสำหรับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน
ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะอาหารเหล่านี้ แต่การรับประทานอาหารเหล่านี้เพิ่ม
อาจช่วยให้อาการท้องร่วงหายเร็วขึ้นได้
7.งดดื่มนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน จนกว่าจะหายท้องเสีย
8.หลีกเลี่ยงยารักษาโรคท้องเสีย ยกเว้นแพทย์สั่ง เนื่องจากท้องเสียเป็นการขับสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย
ดังนั้นทางเดียวที่จะดีขึ้นได้คือต้องยอมถ่ายเหลว
9.รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง หรือ ยาลดไข้
10.เมื่ออาการถ่ายเหลวผ่านไปหลายวันแล้ว แต่ถ้ายังมีอาการถ่ายเหลวอยู่
ให้ดื่มน้ำต้มเปลือกมังคุด

ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในกรณีดังต่อไปนี้

-อาเจียนหรือท้องเสียในเด็กแรกเกิดอายุน้อยกว่า 3 เดือน
(พบแพทย์ทันทีที่มีอาการ)
- เด็กอายุเกิน 3 เดือนที่มีอาการอาเจียนนานกว่า 12 ชั่วโมง
- มีไข้ร่วมกับท้องเสีย โดยไข้สูงกว่า 38.33°C ในผู้ใหญ่
หรือสูงกว่า 38°C ในเด็ก
- ท้องเสียนานกว่า 3 วัน
- อุจจาระมีเลือดปน มีสีดำ หรือดูมีน้ำมันปน
- อาการปวดท้องที่ไม่ดีขึ้นเมื่อได้ถ่ายอุจจาระ
- อาการขาดน้ำ เช่น เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หรือตะคริว

 

เส้นเอ็นตึง เจ็บเส้น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเข่า
นั่งยองๆยาก ยกแขนไม่ขึ้น วิธีรักษา

 

กระดูกหัก กระดูกร้าว
ข้อเข่าเสื่อม กระดูกเสื่อม
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
วิธีรักษา