แผลร้อนในบ่อย ทำอย่างไร
แผลร้อนในในปาก Aphthous ulcer แซชือ
แผลร้อนในในปากนั้นต่างกับแผลเริมที่ปาก โดยแผลเริมเกิดจากเชื้อไวรัส
Herpes simplex virus 1 (HSV-1) (รักษาแผลเริมได้ด้วยการใช้ใบพญายอเพสลาด
หมายถึง ใบที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่ มาคั้นน้ำแล้วทาแผลเริมวันละ 4-5 ครั้ง)ส่วนแผลร้อนในนั้นเกิดจากภาวะการพร่อง(ซึ่งจะกล่าวต่อไป)
โดยแผลร้อนในเป็นแผลที่พบมากบริเวณริมฝีปากด้านใน หรือกระพุ้งแก้ม
หรือเหงือก บางรายเกิดแผลร้อนในที่ลิ้น แผลร้อนในจะเริ่มจากตุ่มเล็กๆ
แล้วกลายเป็นวงและมีขนาดใหญ่ขึ้น ตรงกลางจะมีเยื่อสีขาวบางๆ ขอบจะบวมแดง
และมีอาการปวด มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงเส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งนิ้ว
บางรายเกิดขึ้นตำแหน่งเดียว บางรายเกิดหลายตำแหน่งพร้อมๆกัน
บางรายแผลเก่ายังไม่ทันหายแผลใหม่ก็มาเกิด จะเจ็บมากเมื่ออาหารรสเปรี้ยว
อาหารเผ็ด หรือลิ้นไปโดนถูกคนจีนแต้จิ๋ว เรียกแผลร้อนในในปากว่า "แซชือ" แต่ถ้ามีการปูดเป็นก้อน
ที่ด้านข้างของเหงือก เรียก "ผู่คีเปา" หรือบางครั้งตุ่มเล็กจะไม่กลายเป็น
แผลร้อนในแบบเปิด แต่จะปูดเป็นตุ่มใหญ่ขึ้นมาบริเวณใต้ริมฝีปากด้านใน
หรือใต้ลิ้น ทำให้ตกใจผู้ที่ไม่รู้ว่าเกิดจากร้อนใน ก็จะไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดออกสาเหตุของแผลร้อนในในปาก แท้จริงแล้ว แผลร้อนในในปาก ไม่ได้เกิดจากเชื้อใดๆ
แต่แผลร้อนในในปากหรืออาการร้อนใน เกิดจากคนที่มีภาวะอิน(ยิน,หยิน)พร่อง
จากกรรมพันธุ์หรือเป็นพื้นฐานของร่างกาย ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วมีพฤติกรรม
ที่ทำให้ร้อนใน เช่น นอนดึก รับประทานอาหารเผ็ด ของทอด-อบ-กรอบ ผลไม้บางชนิดที่มีฤทธิ์ร้อน
ความไม่สมดุลระหว่างอิน-หยาง จึงทำให้ร่างกายแสดงออกมาเป็นอาการร้อนใน
เช่น เกิดแผลร้อนใน บางรายอาจมีอาการร้อนในอื่นๆ เช่น เจ็บคอ ลิ้นแตกหรือเป็นแผลร้อนในที่ลิ้น
เหงือกบวม มีเสมหะ ไอ เป็นไข้ ร่วมด้วย หรือหายจากเป็นไข้ แล้วมีแผลร้อนในขึ้นมา หรือ
บางท่านอาจไม่เป็นไข้ แต่จะมีแผลร้อนในในปากบ่อยบางท่านอาจคิดว่า แผลร้อนในในปาก เกิดจากการกัดถูกกระพุ้งแก้มหรือลิ้นของตัวเอง
แต่ความจริงแล้วเกิดจากร้อนในเพราะเมื่อร้อนใน กระพุ้งแก้มก็หนาตัวขึ้นหรือ
ลิ้นจะมีการพองตัวมากขึ้น จึงไปกัดถูก แล้วกลายเป็นแผลร้อนในขึ้นมา
บางท่านจัดฟันหรือแปรงฟัน แล้วแปรงไปกระแทกถูก ถ้าหากว่าไม่มีอาการร้อนใน
เพียงแค่ 1-2 วันแผลก็จะหายเป็นปกติ แต่ถ้าร่างกายร้อนใน แผลนั้นก็จะกลายเป็น
แผลร้อนในในปาก และแผลร้อนในนั้นยังอาจขยายใหญ่ขึ้นอีกร้อนในมีหลากหลายอาการแล้วแต่ว่าจะเกิดกับอวัยวะส่วนไหน เช่น เส้นที่คอตึง
ตกหมอน มีขี้ตา ตาแฉะ ระคายเคืองตา บางครั้งน้ำตาไหลเอง หรือมีเม็ดที่ตาคล้ายตากุ้งยิง
มีเสมหะ ไอ เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ(Tonsillitis) แผลร้อนในในปาก
เหงือกบวม ลิ้นแตก ในปากมีตุ่มปูด ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ท้องผูก
อุจจาระแข็ง-ดำ (ระบบทางเดินอาหารไม่มีเลือดออก)
แต่บางครั้งก็ถ่ายเหลวและมีลม บางทีก็ร้อนในในหลายส่วนพร้อมกัน
ทำให้มีหลายอาการพร้อมกันรวมถึงเป็นต้นเหตุของอาการไข้หวัด เพราะเมื่อร้อนใน ภูมิต้านทานก็ลดลง
อาการเหล่านี้แต่ละคนจะไว(Sensitive)ไม่เท่ากัน
เนื่องจากดุลยธาตุ(อิน-หยาง)ของแต่ละคนไม่เท่ากันการรักษาอาการร้อนใน แผลร้อนในในปาก
- ห้ามรับประทานยาบำรุง เช่น เขากวางอ่อน โสมคน(หยิ่งเซียม)
ยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น พริกไทย ดีปลี อบเชย(ชินนามอน)- งดอาหารที่ทอดน้ำมัน อาหารรสเผ็ด อาหารหวานจัด
หรือขนมบางอย่างเช่น คุ้กกี้ ขนมกรอบๆ หรือเบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผลไม้บางชนิด เช่น ลำไย ทุเรียน เงาะ ขนุน ลิ้นจี่ ละมุด
องุ่น มะม่วงสุก รวมถึงข้าวเหนียว
(แต่ละคนไวต่ออาหารและชนิดของอาหารไม่เหมือนกัน)- สำหรับเด็กที่ดื่มนมชง ให้สังเกตนมชงด้วย เพราะนมแต่ละยี่ห้อ
มีสูตรที่ไม่เหมือนกัน บางสูตรทำให้ร้อนใน- นอนหลับให้เต็มที่ ดื่มน้ำให้มากขึ้นในกรณีที่ดื่มน้ำน้อย
- รักษาอาการร้อนในหรือแผลร้อนในในปาก โดยการรับประทาน
ยาแก้ไข้ ตรา เอ ซึ่งแก้อาการร้อนในได้ดีมาก
ถ้ารู้สึกว่าแผลร้อนในกำลังจะเกิดขึ้น หรือเริ่มมีอาการร้อนใน
ให้รีบรับประทานยา จะทำให้แผลร้อนในไม่เกิดขึ้นมา หรืออาการร้อนในหายได้เร็ว- การรับประทานยาแก้ไข้ ตรา เอ รับประทานเมื่อมีอาการร้อนใน
เมื่อหายร้อนในก็หยุดรับประทาน สลับกันไปเรื่อยๆ
ในระยะยาว จะทำให้อาการร้อนในเป็นน้อยลงหรือเป็นขึ้นมายากขึ้น
เพราะในยาแก้ไข้ ตรา เอ มีตัวยาที่เสริมอิน ทำให้ร่างกายผู้ที่พร่องอินได้สมดุล