ยาปฏิชีวนะ หลายคนรู้จัก แต่ไม่รู้จริง
ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ
ยาปฏิชีวนะ(Antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้
ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น
ทอนซิลอักเสบเป็นหนองตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่ใช้กันบ่อย
อะม็อกซีซิลลิน เรียกกันว่า อะม็อกซี่
เพนนิซิลลิน เรียกกันว่า ยาห้าแสน
เตตราซัยคลิน เรียกกันว่า xxxมัยซินอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
แพ้ยา หากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้
หลุดลอก หรืออาจถึงขึ้นเสียชีวิตเกิดเชื้อดื้อยา การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรีย
กลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น
แพงขึ้นและผลข้างเคียงมากขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด
สุดท้ายคือไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุดเกิดโรคแทรกซ้อน ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรีย
ชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป
เชื้ออื่นๆที่ไม่ดี ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรค
แทรกซ้อนต่างๆเช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ที่
ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ อันตรายถึงชีวิต
3 โรคหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
1.หวัด-เจ็บคอ
กว่าร้อยละ80 เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม
เสียงแหบ เจ็บคอ คันคอ มีไข้ เป็นนาน 7-10 วัน โดยวันที่ 3-4
จะมีอาการมากที่สุด แล้วจะค่อยๆดีขึ้นเอง รักษาโดยการดื่มน้ำอุ่น
กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ พักผ่อนให้มาก รับประทานยาแก้ไอ ตรา เอและ
ยาแก้ไข้ ตรา เอ อย่างละ 3 เม็ด วันละ 3 ครั้งแต่ถ้า มีอาการ 3 ใน 4 ข้อ ดังนี้ ต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกร
-เจ็บคอมาก และไม่ไอ
-มีไข้
-มีหนองที่ต่อมทอนซิล
-ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บและรับประทานยาแก้ไข้ ตรา เอ ร่วมด้วย
2.ท้องเสีย
กว่าร้อยละ99 เกิดจากไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ มีอาการ ถ่ายเหลวหรือ
ถ่ายเป็นน้ำ อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่
ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ แต่ถ้า มีไข้และถ่ายเป็นมูกเลือด
ต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกร
3.แผลเลือดออก
เช่น มีดบาด แผลถลอก แผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยที่มีสุขภาพ
โดยรวมแข็งแรงดี รักษาโดยล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้า เป็นแผลที่เท้า ตะปูตำ สัตว์กัด
แผลถูกสิ่งสกปรก เช่น มูลสัตว์ น้ำครำ หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
ต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรขอบคุณข้อมูลจาก Antibiotics Smart Use