ข้อสอบวิชาเภสัชกรรมไทย ประจำปี 2544

1.ฤาษีตนหนึ่ง บริโภคซึ่งรากเจตมูลเพลิง เชื่อว่า อาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ดีอันทำให้หนาวเย็นได้ ชื่อว่า บุพพรต
2.ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา
3.กะพังอาด(พญามือเหล็ก) มีรส ขมเมา
4.ดอกกระดังงามีสรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน
5.ลูกกราย มีสรรพคุณ 1.แก้บิด 2.แก้ปวดเบ่ง 3.แก้เสมหะเป็นพิษ 4.ถูกทุกข้อ
6.กรวยป่า มีสรรพคุณ 1.แก้ริดสีดวงจมูก 2.แก้ไข้ 3.แก้ปวดเบ่ง 4.
7.คนไข้รายหนึ่ง มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขากรรไกรแข็ง แสดงว่าได้รับประทานสิ่งใดเข้าไป ลูกกะจี้
8.โกฐน้ำเต้าใช้ส่วนใดทำยา ราก
9.โกฐน้ำเต้ามีสรรพคุณอย่างไร 1.แก้คลื่นเหียนอาเจียน 2.ระบายท้อง แก้ริดสีดวงทวาร
10.โกฐชฎามังษี มีกลิ่นคล้ายอะไร 1.คล้ายพิมเสน 2.คล้ายเมนทอล 3.คล้ายน้ำมันยูคาลิปตัส
11.ขันทองพยาบาทแก้อะไร แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็ง แก้กลากเกลื้อน
12.ตัวยาในข้อใดบำรุงหัวใจ 1.สนุ่น     2.อบเชย หญ้าฝรั่น ว่านน้ำ 3.กฤษณา ขอนดอก รากระย่อม
13.ข้อใดอยู่ในโกฐทั้งห้า 1.โกฐกระดูก 2.โกฐพุงปลา 3.โกฐเชียง 4.โกฐน้ำเต้า
14.ข้อใดเป็นสัตตะโกฐทั้งหมด 1.โกฐเชียง โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐเขมา โกฐจุฬาลำพา โกฐก้านพร้าว โกฐกระดูก
15.ทิ้งถ่อน มีสรรพคุณ เจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ
16.เทียนใดอยู่ในพิกัดเทียนทั้งเก้า 1.เทียนตาตั๊กแตน 2.เทียนขาว 3.เทียนสัตตะบุษย์ 4.เทียนตากบ
17.ข้อใดผิด 1.ผักกะเฉด เรียกว่า ผักรู้นอน 2.เจตมูลเพลิง เรียก ลุกใต้ดิน 3.ผักเป็ด เรียกว่า ตีนเป็ดน้ำ
18.โกฐก้านพร้าว มีสรรพคุณเสมอกับ 1.บอระเพ็ด 2.ชิงช้าชาลี 3.หัวเปราะป่า
19.สัตว์ชนิดใดที่หมอนิยมนำหัว กระดูก และขนมาทำเป็นยา 1.แร้ง 2.อีกา 3.นกยูง 4.ค้างคาวแม่ไก่
20.เขาแพะ เขาแกะ เขาวัว มีรสและสรรพคุณอย่างไร 1.รสเย็นคาว บำรุงกำลัง ถอนพิษผิดสำแดง
21.หญ้าฝรั่น ใช้ส่วนใดทำยา 1.ใบ 2.ราก 3.ผล 4.เกสร
22.ตัวยาในข้อใดขับปัสสาวะ 1.หญ้าคา ขลู่ น้ำนมราชสีห์ 2.หญ้าถอดปล้อง
23.ถ้ากระหายน้ำ ใช้ตัวยาในข้อใด 1.หญ้าใต้ใบ 2.เปลือกสมุลแว้ง
24.ข้อใดถูกต้อง 1.วันอังคารเก็บยาทิศตะวันออก
25.การเก็บตัวยาตามกาลเวลา ในเวลากลางวันข้อใดผิด 1.ยาม๒เก็บใบดอกฝัก
26.คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ได้แบ่งรสยาออกเป็น 4 รส
27.คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ได้แบ่งรสยาออกเป็น 8 รส
28.วาโยธาตุพิการ แก้ด้วยยา รสเผ็ดร้อน สุขุม
29.เตโชธาตุพิการ แก้ด้วยยา รสเย็น จืด
*30.มัชฉิมวัย ตั้งแต่อายุ๑๖ปีถึงอายุ๓๒ปี เป็นโรคเพื่อโลหิตและดี จัดอยู่ในสมุฏฐาน อาโป
31.ฤดูหนาว ควรใช้ยารสสุขุม เปรี้ยว
32.ตั้งแต่เวลา๐๖.๐๐–๑๐.๐๐น.เกิดโรคใด 1.เสมหะ
33.จิงจ้อ    จิงจ้อน้อย จิงจ้อใหญ่
34.พิกัดทเวคันธา มีตัวยาคือ 1.รากบุนนาคและรากมะซาง
35.พิกัดตรีเกสรมาศ มีตัวยาคือ เปลือกฝิ่นต้น ลูกมะตูมอ่อน เกสรบัวหลวง
36.พิกัดตรีสัตกุลา มีสรรพคุณ บำรุงไฟธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุ๑๐ประการ มีตัวยาคือ เทียนดำ ลูกผักชีลา เหง้าขิงสด
37.พิกัดตรีวาตะผล มีตัวยาคือ ลูกสะค้าน รากพริกไทย เหง้าข่า
38.พิกัดตรีสุรผล มีตัวยาคือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร
39.พิกัดจตุทิพยคันธา มีตัวยา รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ เหง้าขิงแครง ดอกพิกุล
40.น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำมันเนย อยู่ในพิกัดตรีมธุรส
41.ข้อใดไม่ได้อยู่ในพิกัดบัวทั้งห้า 1.บัวสัตตะบุษย์ 2.บัวสัตตบรรณ 3.บัวลินจง 4.บัวขม
42.๑ทะนานมีปริมาตรเท่ากับ 1.๑ลิตร 2.๒ลิตร 3.๕๐๐ซีซี 4.๑๐๐ซีซี
43.๑หาบมีกี่ก.ก. 1.๓๐ 2.๔๐ 3.๕๐ 4.๖๐
44.มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้เสมหะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอพิเภก๘ส่วน ลูกสมอไทย๔ส่วน ลูกมะขามป้อม๑๒ส่วน
45.ลูกสมอพิเภก๔ส่วน ลูกสมอไทย๑๒ส่วน ลูกมะขามป้อม๘ส่วน เป็นมหาพิกัดใดใช้แก้ในกองอะไร
1.มหาพิกัดตรีผลา 2.มหาพิกัดตรีผลา แก้ปิตตะ 3. มหาพิกัดตรีผลา แก้วาตะ 4. มหาพิกัดตรีผลา แก้เสมหะ
46.มหาพิกัดทศเบญจขันธ์ ใช้แก้ในกองใด อสุรินธัญญาณธาตุ
47.โสฬสเบญจกูล มีตัวยาน้ำหนักมากที่สุดเท่าไร 16 ส่วน
48.อภิญญาณเบญจกูล จะมีใบ ดอก ราก เจตมูลเพลิง สิ่งละกี่ส่วน 4 ส่วน
49.การฆ่าลูกสลอดมีวิธีใด
50.การสะตุสิ่งใด ที่มีการละลายฟู 1.สารส้ม-รงทอง 2.สารส้ม-น้ำประสานทอง 3.สารส้ม-ดินสอพอง 4.สารส้ม-มหาหิงคุ์
51.ไพล แก้อะไร 1.แก้คลื่นเหียนอาเจียน 2.แก้บิด
52.ถ้าสะอึก จะใช้อะไรเป็นกระสายยา รากมะกล่ำเครือ
53.ถ้าต้องการกระสายยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ใช้สิ่งใด 1.น้ำข้าวเช็ด 2.   3.น้ำซาวข้าว 4.
54.หมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทร์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ดีงูเหลือม หนักสิ่งละ๔ส่วน ชะมด พิมเสน หนักสิ่งละ๑ส่วน ยาตำรับนี้ยังขาดตัวยาใด 1.ใบโหระพา 2.ใบแมงลัก 3.ใบกะเพราะ 4.
55.ยากวาดแสงหมึก ซึ่งประกอบด้วยหมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทร์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ใบกะเพรา ดีงูเหลือม หนักสิ่งละ๔ส่วน ชะมด พิมเสน หนักสิ่งละ๑ส่วน มีสรรพคุณอย่างไร
     1.แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ 2.แก้ไอ ละลายน้ำลูกมะแว้ง 3.แก้ปากเป็นแผล ละลายลูกเบญกานี 4.ถูกทุกข้อ
56.ยาไฟห้ากอง ประกอบด้วย รากเจตมูลเพลิง ขิง พริกไทยล่อน สารส้ม แล้วยังขาดตัวยาในข้อใด ฝักส้มป่อย
57.ยาไฟประลัยกัลป์ มีสรรพคุณอย่างไร ขับน้ำคาวปลา
58.ถ้าต้องการกระทุ้งพิษไข้เด็ก ใช้ยาตำรับใด 1.ยาห้าราก 2.ยาเขียวใหญ่
59.ยาวิมานฉิมพลี มีสรรพคุณอย่างไร 1.แก้ไข้ แก้ขัดเบา 2.แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
60.ถ้าคนไข้เป็นตานโจร หืดน้ำนม ไอผอมเหลือง ไส้พอง ท้องใหญ่ ต้องใช้ยาตำรับใด 1.ยาฤทธิจร 2.ยาปะโตลาธิคุณ 3.          4.ยาไฟอาวุธ
61.พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ เข้าไปตรวจในเวลาใด 1.พระอาทิตย์ขึ้น-ตก 2.เวลาทำการ 3.ตลอดเวลา 4.
62.คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวิชาชีพ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
     1.มีลายมือชื่อของประธานกรรมการวิชาชีพ 2.มีลายมือชื่อของกรรมการวิชาชีพและมีคำวินิจฉัยคำกล่าวหาหรือกล่าวโทษและต้องมีเหตุผลไว้ด้วย
     3.มีลายมือชื่อของ… 4.ถูกทุกข้อ
63.หมอตุ๊ก(จัง) สอบได้ใบประกอบโรคศิลปะเภสัชกรรมไทย แต่ได้ปรุงยาลูกกลอนโดยผสมยาสเตียรอยด์ลงไปด้วย หมอตุ๊ก มีความผิดหรือไม่
     1.ผิด เพราะผิดสาขา
64.นาย ก. ยังไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ แต่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า ”ตนมียารักษาโรคเอดส์ได้” นาย ก. มีความผิดหรือไม่
     1.ผิด เพราะเป็นการกระทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ์ประกอบโรคศิลปะ 2.ผิดเพราะ
65.เมื่อคณะกรรมการยกคำกล่าวโทษแล้ว ผู้ใดมีสิทธิ์อุทธรณ์
     1.ผู้เสียหาย 2.ผู้เห็นการกระทำผิด 3.คณะกรรมการ 4.ไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์
66.ข้อใดผิด
     1.ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ฉบับละ๒,๐๐๐บาท
     2.ค่าสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ฉบับละ๒,๐๐๐บาท
     3.ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ๓๐๐บาท
67.คณะกรรมการได้แจ้งให้ นายมอมแมม ส่งวัตถุที่จำเป็นแก่การดำเนินการ แต่นายมอมแมม ไม่ส่ง นายมอมแมม จะได้รับโทษใด
     1.จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
     2.จำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
     3.จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
     4.จำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
68.ผู้ประกอบโรคศิลปะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้กระทำด้วยประการใดๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะต้องระวางโทษจำคุก
โดยคดีถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพกระทำการใด
     1.ไม่ต้องกระทำการใด 2.สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
69.สาขาใด้ไม่ได้อยู่ในพรบ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542
    1.การแพทย์แผนไทย 2.การแพทย์แผนจีน 3.กายภาพบำบัด 4.เทคนิคการแพทย์
70.ยาไฟอาวุธ มีสรรพคุณอย่างไร

คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
ข้อสอบวิชาเภสัชกรรมไทย
วันพุธ
ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2545 เวลา 09.00 - 12.00 น.

ข้อ 1.      ข้อใดจัดเป็นยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ.ยา
                 1.   ยาที่มุ่งหมายสำหรับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
                 2.   ยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ
                 3.   ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกต้องแล้ว
                 4.   ยาสมุนไพรที่มุ่งหมายใช้บำบัดโรคสัตว์
ข้อ 2.      ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาสเตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้  ถือว่าเป็นการผลิต
                 1.   ยาผลิตมาตราฐาน
                 2.   ยาาปลอม
                 3.   ยาแผนปัจจุบัน
                 4.   ยาอันตราย
ข้อ 3.      นายสุดหล้าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ปรุงยาเพื่อขายให้กับผู้ป่วยของตน กรณีใด สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผลิตยาตาม พ.ร.บ.ยา
                 1.   ปรุงยาสูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นเอง
                 2.   ปรุงยาตามตำรับแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
                 3.   ปรุงยาตามหลักที่ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณใช้สืบต่อกันมา
                 4.   ปรุงยาตามตำรับแบบไทย
ข้อ 4.      ผู้รับอนุญาตผู้ใดเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ต้องแจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาต ทราบไม่เกินกี่วัน นับแต่วันเลิกกิจการและให้ถือว่าใบอนุญาตหมดอายุตั้งแต่วันเลิกกิจการตามที่แจ้งไว้นั้น
                 1.   10 วัน
                 2.   15 วัน
                 3.   7 วัน
                 4.   5 วัน
ข้อ 5.      พ่อหมอทองหล้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเก็บตัวยาสมุนไพรหลายชนิดมาหั่นและสับเป็นชิ้นๆ ใส่ถุงรวมกัน ปิดฉลากว่า "ยาโลหิตสตรี บำรุงร่างกาย ทำให้เลือดลมดี ประจำเดือนมาปกติ แก้มุตกิต" และนำไปขายในงานวัด พ่อหมอทองหล้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา หรือไม่
                 1.   ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร กฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องขออนุญาตผลิตยา
                 2.   ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร ยังไม่ปรุงเป็นยา
                 3.   ผิด เพราะแสดงสรรพคุณบนฉลากว่าเป็นยา โดยไม่ได้รับอนุญาต
                 4.   ข้อ 1 และ 2 ถูก
ข้อ 6.      คณะกรรมการสถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ กี่ปี
                 1.   1 ปี
                 2.   2 ปี
                 3.   3 ปี
                 4.   ไม่กำหนดวาระ
ข้อ 7.       คำว่า ผู้อนุญาต ในพระราชบัญญัตสถานพยาบาล พ.ศ.2541 หมายความว่า
                 1.   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                 2.   ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
                 3.   ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ปลัดมอบหมาย
                 4.   อธิบดีกรมการแพทย์
ข้อ 8.    ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจำนงเพื่อขอประกอบกิจการต่อ ต้องแสดงความจำนงต่อผู้อนุญาตภายในกี่วัน นับตั้งแต่ วันที่  ผู้รับอนุญาตตาย
                 1.   ภายใน 7 วัน
                 2.   ภายใน 15 วัน
                 3.   ภายใน 30 วัน
                 4.   ภายใน 15 วัน
ข้อ 9.      ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลมีอายุ
                 1.   1 ปี
                 2.   2 ปี
                 3.   10 ปี
                 4.   ไม่มีอายุ
ข้อ 10.    สถานพยาบาลหมายความว่า
                 1.   สถานที่จัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะโดยตรง
                 2.   สถานที่จัดไว้เพื่อช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วย ตามกฎหมาย
                 3.   สถานที่จัดไว้เพื่อรักษาผู้ป่วยและขายยา
                 4.   สถานที่รวมถึงยานพาหนะซึ่งจัดแสดงไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะ ตามกฎหมายโดยกระทำเป็นปกติธุระ
ข้อ 11.    กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
                 1.   1 ปี
                 2.   2 ปี
                 3.   3 ปี
                 4.   ไม่กำหนดวาระ
ข้อ 12.  การขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตการออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรค ศิลปะ  การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อใด
                 1.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                 2.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
                 3.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 13.    การประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย อาจเพิ่มประเภทใหม่ๆขึ้นได้โดย
                 1.   การประกาศกำหนดของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                 2.   การประกาศกำหนดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
                 3.   รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                 4.   รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 14.    ณ วันที่ 25 มีค. 2545 นาย ก.หยิบหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งประจำวันที่ 24 มีค. 2544 มาอ่าน พบว่ามีการโฆษณาการประกอบโรคศิลปะของนาย ข.ดังนี้ นาย ก.จะนำเรื่องร้องเรียนได้หรือไม่
                 1.   ร้องเรียนได้ เพราะนาย ข. กระทำผิด
                 2.   ร้องเรียนไม่ได้ เพราะขาดอายุความ
                 3.   ร้อนเรียนได้ โดยทำหนังสือกล่าวหาต่อคณะกรรมการวิชาชีพ
                 4.   ร้องเรียนได้ เพราะยังไม่ขาดอายุความ
ข้อ 15.    นส.วนิดา ช้าเหลือเกิน รับใบอณุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ประจำปี 2543 ทำไมในใบอนุญาตจึงยังมีข้อความว่า " อาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ"
                1.   ยังอยู่ในระหว่างเปลี่ยนแปลง พรบ.
                2.   ยังต้องใช้กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศเดิมจนกว่าจะได้มีฉบับใหม่
                3.   กฎหมายใหม่ยังไม่ได้กำหนดเรื่องใบอนุญาต
                4.   เป็นการปฎิบัติตามกฎหมายเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไข
ข้อ 16.    นางสาวขวัญ รักคุณ มีความรู้เรื่องการประกอบโรคศิลปะโดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ แต่ไม่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรค ศิลปะ ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย และเรียกค่าตอบแทนนางสาวขวัญ รักคุณ มีความผิดหรือไม่
                1.   ไม่มีความผิด เพราะได้รับการยกเว้น
                2.   มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่มีใบอนุญาต
                3.   ไม่มีความผิดเพราะไม่เกิดอันตราย
                4.   มีความผิดเพราะกฎหมายบัญญัติห้าม
ข้อ 17.    นาย ก.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะที่ถูกคณะกรรมการวิชาชีพลงโทษสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ต่อมา นาย ก. ได้พบเห็นผู้ป่วยจึงช่วยเหลือ ดังนี้ ถือว่า นาย ก.
                1.   ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยไม่มีใบอนุญาต ผิดกฎหมาย
                2.   ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยเข้าข้อยกเว้นกฎหมาย
                3.   ทำการประกอบโรคศิลปะ โดยผิดกฎหมาย แต่ได้รับโทษเบากว่าผู้ไม่มีใบอนุญาต
                4.   ทำการประกอบโรคศิลปะไม่ได้ เพราะถือว่า ไม่มีใบอนุญาตแล้ว
ข้อ 18.  ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณ จะได้รับหนังสือแจ้งข้อหา พร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาจากใคร ภาย ในกี่วัน   
                1.   จากผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
                2.   จากประธานอนุกรรมการวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่สอบสวน ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
                3.   จากผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
                4.   จากประธานอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่สอบสวน ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
ข้อ 19.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ตรงตามข้อใด
                1.   แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
                2.   ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
                3.   กำหนดกิจการอื่น ออกระเบียบและประกาศ
                4.   ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 20.    หากผู้ประกอบโรคศิลปะถูกกล่าวหาเรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณ และคณะกรรมการวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัย มีคำสั่งให้พักใช้ ใบอนุญาต ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นมีสิทธิ์อุทธรณ์อย่างไร
                1.   อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการวิชาชีพภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง
                2.   อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง
                3.   อุทธรณืเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการวิชาชีพภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
                4.   อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ข้อ 21.    1 หาบ หนักกี่กิโลกรัม
                1.   60 กิโลกรัม
                2.   80 กิโลกรัม
                3.   100 กิโลกรัม
                4.   120 กิโลกรัม
ข้อ 22.    กัญชา จัดเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง แต่มีสรรพคุณในทางรักษาโรคอย่างไร
                1.   ชูกำลัง เจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ
                2.   ระงับประสาท และระงับอาการปวด
                3.   กระตุ้นหัวใจให้เต้นแรงและบำรุงหัวใจ
                4.   แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ข้อ 23.    การทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการทำยาเม็ด ควรทำด้วยวิธีใด
                1.   นำน้ำเดือดราดพิมพ์มือทองเหลือง เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดอีกครั้ง
                2.   แช่พิมพ์มือทองเหลืองในน้ำอุ่น แอลกอฮอล์ เช็ดให้แห้งสนิท และใช้สำลีชุบอีกครั้งหนึ่ง
                3.   แช่พิมพ์มือทองเหลืองในแอลกอฮอล์เช็ดอีกครั้ง
                4.   น้ำเดือดราดพิมพ์มือทองเหลืองแล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
ข้อ 24.    การบูรตัด หมายถึง
                1.   นำการบูรตำเป็นผงผสมกับน้ำไปผสมยา
                2.   นำเอาการบูรแทรกลงไปผสมกับยาเล็กน้อย แล้วรับประทาน
                3.   นำการบูรไปสะตุเสียก่อนแล้วนำมาผสมกับยาต้ม
                4.   นำเอาการบูรผสมตำรับยาเพื่อให้ได้สรรพคุณดีขึ้น
ข้อ 25.   การปรุงยาแผนโบราณในปัจจุบันนี้อยู่มีกี่วิธี
                1.   23 วิธี
                2.   24 วิธี
                3.   25 วิธี
                4.   28 วิธี
ข้อ 26.    การสะตุ ยาดำ มีวิธีการอย่างไร
                1.   นำยาดำมาทุบให้แตก ห่อด้วยใบบัว นำไปปิ้งไฟจนยาดำกรอบดำเป็นถ่าน
                2.   นำยาดำใส่หม้อดิน เติมน้ำเล็กน้อย ตั้งไฟจนยาดำแห้งกรอบ
                3.   นำยาดำใส่หม้อดิน บีบมะนาวหรือมะกรูด ตั้งไฟให้ยาดำแห้งกรอบ ทำให้ครบ 3 ครั้ง
                4.   นำยาดำมาพรมด้วยส้มสายชูแล้วนึ่งจนยาดำสุก
ข้อ 27.    การสะตุ รงทอง เพื่อนำไปปรุงยานั้น หลังจากบดรงทองแล้ว จะใช้ใบของพืชชนิดใดห่อปิ้งไฟ
                1.   ใบข่า-ใบบัว
                2.   ใบข่า-ใบพลวง
                3.   ใบข่า-ใบพลู
                4.   ใบบัว-ใบพลู
ข้อ 28.   การสะตุน้ำประสานทอง ทำอย่างไร
                1.   เอาน้ำประสานทองใส่หม้อดิน ยกตั้งไฟจนฟู ทิ้งไว้ให้เย็น จึงนำไปทำยา
                2.   เอาน้ำประสานทองใส่หม้อดิน บีบน้ำมะนาวลงผสม 17 ยกตั้งไฟจนฟูจึงนำไปทำยา
                3.   เอาน้ำประสานทองใส่หม้อดินต้มจนแห้งฟู ผสมน้ำกลั่นจึงนำไปทำยา
                4.   เอาน้ำประสานทองใส่หม้อดิน เติมสารส้มต้มจนแห้ง จึงนำไปทำยา
ข้อ 29.    การอบยาเพื่อง่ายในการบด ควรใช้อุณหภูมิเท่าไร
                1.   50-55 องศาเซลเซียส
                2.   40-45 องศาเซลเซียส
                3.   60-65 องศาเซลเซียส
                4.   65-70 องศาเซลเซียส
ข้อ 30.    ข้อใดเป็นพิษของสารหนู
                1.   กัดกระเพาะและลำไส้
                2.   ประสาทหลอน
                3.   ชักกระตุกทำให้ตายได้
                4.   ทำให้หมดกำลังอ่อนเพลีย
ข้อ 31.    คนป่วยเบื่ออาหาร ควรใช้น้ำกระสาย
                1.   น้ำดีปลีต้ม
                2.   ใบฝรั่งต้ม
                3.   น้ำรากระย่อมต้ม
                4.   น้ำต้มลูกผักชีลา
ข้อ 32.    คนเป็นไข้ระส่ำระสาย ใช้ตัวยาใดต้มเป็นน้ำกระสายยา
                1.   รากมะละกอ
                2.   รากคนทีสอ
                3.   รากบัว
                4.   น้ำมูตร
ข้อ 33.    คำตอบข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า ประสะกะเพรา
                1.   การทำความสะอาดกะเพรา
                2.   การฆ่าหรือสะตุกะเพรา
                3.   การนำกะเพรามาทำยา
                4.   กะเพราหนักเท่ายาอื่นทั้งหมดรวมกัน
ข้อ 34.    คำว่า " รำหัด" มีความหมายตรงกับข้อใด
                1.   ใช้ปลายนิ้วกลางและปลายนิ้วหัวแม่มือหยิบขึ้นมือ
                2.   ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบขึ้นมา
                3.   ใช้ปลายนิ้วก้อยกับนิ้วหัวแม่มือหยิบขึ้นมา
                4.   มีปริมาณเท่ากับครึ่งช้อนกาแฟ
ข้อ 35.    ช่วงเวลา 14.00 - 18.00 น. เกิดโรคเพื่อลม ท่านควรจะใช้น้ำกระสายยารสอะไร
                1.   ใช้น้ำกระสายยารสร้อน
                2.   ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว
                3.   ใช้น้ำกระสายยารสสุขุม
                4.   ใช้กระสายยารสหอมเย็น
ข้อ 36.    ตัวยา เนื้อสมอพิเภก เนื้อลูกมะขามป้อม ลูกผักชีลา หนักสิ่งละ 4 ส่วน เป็นส่วนประกอบของยาสามัญประจำบ้านตำรับยาใด
                1.   ยาตรีหอม
                2.   ยาจันทลีลา
                3.   ยาบำรุงโลหิต
                4.   ยาหอมอินทจักร์
ข้อ 37.    ถ้าต้องการร่อนยาผ่านตะแกรงหรือแร่ง ให้ได้ผงยาที่ละเอียดมากๆ ต้องใช้ตะแกรงขนาดเบอร์อะไร
                1.   เบอร์ 0
                2.   เบอร์ 100
                3.   เบอร์ 80
                4.   เบอร์ 60
ข้อ 38.    ถ้าต้องการให้เด็กที่เป็นไข้หัดรับประทานยามหานิลแท่งทอง จะให้รับประทานอย่างไร
                1.   ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
                2.   ครั้งละ 2-4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
                3.   ครั้งละ 2-4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
                4.   ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
ข้อ 39.    ใบทองหลางใบมนต้มเอาน้ำเป็นกระสาย สรรพคุณตรงกับข้อใด
                1.   แก้ท้องขึ้น
                2.   แก้หอบ
                3.   แก้อาเจียน
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 40.    เมล็ดลำโพง ถ้ากินมากจะมีอาการอย่างไร
                1.   ทำให้เสียสติ
                2.   ทำให้เหงื่อออกมากเกินไป
                3.   ถ่ายอย่างแรง
                4.   ชักกระตุก
ข้อ 41.    ยาชนิดใดใส่กล่องเป่าบาดแผลและฐานฝี
                1.   ยากลั่นเอาน้ำเหงื่อ
                2.   ยาเผาเป็นด่าง
                3.   ยาหุงด้วยน้ำมัน
                4.   ยากัดด้วยเหล้า
ข้อ 42.    ยาต้มที่มีแก่นไม้ เครื่องเทศ โกฐเทียน เป็นองค์ประกอบ จะมีอายุเท่าใดจึงเริ่มเสื่อมคุณภาพ
                1.   ต้มครั้งเดียว
                2.   ภายใน 7-10 วัน
                3.   ภายใน 7-15 วัน
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 43.    ยาในข้อใด ให้รับประทานและมีชโลมคู่กันไปด้วย
                1.   ยาเขียวหอม
                2.   ยาประสะจันทร์แดง
                3.   ยาวิมานฉิมพลี
                4.   ยามหานิลแท่งทอง
ข้อ 44.    ยาไฟประลัยกัลป์มีสรรพคุณ
                1.   แก้ธาตุไม่ปกติ
                2.   บำรุงโลหิต
                3.   แก้กระษัยจุกเสียด
                4.   ขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
ข้อ 45.    ยาสามัญประจำบ้านขนานใด ที่มีสรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ
                1.   ยาหอมเนาวโกฎ ยามหาจักร์ใหญ่
                2.   ยาประสะกะเพรา ยาวิสัมพญาใหญ่
                3.   ยาประสะกานพลู ยาเนาวหอย
                4.   ยาตรีหอม ยาหอมอินทรจักร์
ข้อ 46.    รากเหมือดคน รากมะปรางหวาน รากมะนาว เปราะหอม โกฐหัวบัว จันทร์เทศ ฝางเสน หนักสิ่งละ 4 ส่วน เกสรบัวหลวง ดอกบุน นาค ดอกสารภี ดอกมะลิ หนักสิ่งละ 1 ส่วน จันทน์แดง 32 ส่วน ยาขนานนี้มีสรรพคุณตรงในข้อใด
                1.   แก้ลมขึ้นเบื้องสูง วิงเวียน บำรุงหัวใจ
                2.   แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
                3.   แก้ลมทราง ท้องผูก ระบายพิษไข้
                4.   แก้ไข้ ตัวร้อน กระหายน้ำ
ข้อ 47.    ลูกของนายแดง ท้องผูก และมีไข้ หมอควรใช้ยาขนานใด
                1.   ยาประสะมะแว้ง
                2.   ยาเขียวหอม
                3.   ยาตรีหอม
                4.   ยามันทธาตุ
ข้อ 48.    "พิกัดตรีญาณรส" มีสรรพคุณอย่างไร
                1.   แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ดีพิการ
                2.   แก้ไข้ดับพิษร้อน ขับเสมหะ แก้โลหิตเสีย
                3.   บำรุงธาตุ แก้กำเดา แก้ไข้ตรีโทษ
ข้อ 49.    กระพังโหมทั้งสองต่างกันอย่างไร
                1.   ต่างกันที่รส
                2.   ต่างกันที่ชนิด
                3.   ต่างกันที่ขนาด
                4.   ต่างกันที่สี
ข้อ 50.    โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย อยู่ในพิกัดใด
                1.   พิกัดตรีสุคนธ์
                2.   พิกัดตรีทิพย์รส
                3.   พิกัดตรีสินธุรส
                4.   พิกัดตรีสุรผล
ข้อ 51.    โกฐกะกลิ้ง อยู่ในพิกัดอะไร?
                1.   โกฐทั้ง 5
                2.   โกฐทั้ง 7
                3.   โกฐทั้ง 9
                4.   โกฐพิเศษ
ข้อ 52.    ดอกดีปลี 16 ส่วน ลูกมะขามป้อม 8 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 1 ส่วน เถาสะค้าน 3 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน เมล็ด พริกไทยระคน 1/2 ส่วน เป็นตัวยาประจำธาตุสมุฎฐานใด
                1.   ปถวีธาตุหย่อน
                2.   อาโปธาตุพิการ
                3.   ปถวีธาตุกำเริบ
                4.   อาโปธาตุหย่อน
ข้อ 53.    ตัวยาใดต่อไปนี้ไม่อยู่ในพิกัดดีทั้ง 5
                1.   ดีงูเหลือม
                2.   ดีหมูป่า
                3.   ดีวัวป่า
                4.   ดีงูเห่า
ข้อ 54.    ตัวยาต่อไปนี้ ตัวยาใดอยู่ในพิกัดจตุผลาธิกะ
                1.   ลูกสะค้าน
                2.   ลูกช้าพลู
                3.   ลูกมะขามป้อม
                4.   ลูกดีปลี
ข้อ 55.    ตัวยาที่มีน้ำหนักมากที่สุดในมหาพิกัดเบญจกูลคือตัวยาในข้อใด
                1.   ดอกดีปลี
                2.   รากช้าพลู
                3.   เถาสะค้าน
                4.   รากเจตมูลเพลิง
ข้อ 56.   ตัวยาในข้อใดอยู่ในพิกัดตรีผลธาตุ
                1.   ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย
                2.   ลูกช้าพลู รากดีปลี รากมะกล่ำเครือ
                3.   เหง้ากระทือ หัวตะไคร้หอม เหง้าไพล
                4.   ลูกมะตูม ลูกยอ ลูกผักชีลา
ข้อ 57.   รากกระเพราแดง หัวกระชาย เหง้าข่า อยู่ในพิกัดอะไร
                1.  พิกัดตรีกาฬพิษ
                2.   พิกัดตรีชาต
                3.   พิกัดตรีผลธาตุ
                4.   พิกัดตรีพิษจักร์
ข้อ 58.    รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 8 ส่วน ลูกสมอพิเภก 4 ส่วน รากช้าพลู 2 ส่วน ดอกดีปลี 1 ส่วน เถาสะค้าน 3 ส่วน เป็นตัวยา ประจำธาตุสมุฎฐานใด
                1.   เตโชธาตุกำเริบ
                2.   เตโชธาตุหย่อน
                3.   เตโชธาตุพิการ
                4.   วาโยธาตุกำเริบ
ข้อ 59.    รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน เถาสะค้าน 4 ส่วน รากช้าพลู 12 ส่วน เป็นมหาพิกัดใด แก้ธาตุสมุฎฐานใด
                1.   มหาพิกัดตรีสาร กองปิตตะ
                2.   มหาพิกัดตรีสาร กองเสมหะ
                3.   มหาพิกัดตรีสาร กองเสมหะ
                4.   มหาพิกัดกฎุก กองเสมหะ
ข้อ 60.    ลูกสมอพิเภก เหง้าขิงแห้ง รากเจตมูลเพลิง เป็นตัวยาประจำกองธาตุใด?
                1.   ปิตตะสมุฎฐาน
                2.   วาตะสมุฎฐาน
                3.   เสมหะสมุฎฐาน
                4.   ประเทศสมุฎฐาน
ข้อ 61.    สรรพคุณของพิกัดสัตตะปะระเมหะ คือข้อใด
                1.   ถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษร้อน แก้ไข้เรื้อรัง
                2.   ดับพิษในช้อในกระดูก บำรุงเส้นเอ็น แก้บวม
                3.   แก้โรคกระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ลมในลำไส้
                4    ชำระมลทินโทษให้ตก ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้ปะระเมหะ 20 ประการ
ข้อ 62.    ไส้หมาก รากสะเดา เถาบอระเพ็ด สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษร้อน ขับปัสสาวะ บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร อยู่ในพิกัดอะไร
                1.   พิกัดสินธุรส
                2.   พิกัดตรีมธุรส
                3.   พิกัดตรีทิพยรส
                4.   พิกัดตรีญาณรส
ข้อ 63.    กะสาวะ คือยารสอะไร
                1.   ฝาด
                2.   หวาน
                3.   เผ็ดร้อน
                4.   สุขุม
ข้อ 64.    การจำแนกประเภทของตัวยารสที่นิยม ใช้ตามคำภีร์วรโยคสาร ตัวยาที่มีชื่อว่า ติดติกะ หมายถึงอะไร?
                1.   ยารสฝาด
                2.   ยารสหวาน
                3.   ยารสเปรี้ยว
                4.   ยารสขม
ข้อ 65.    โทษของรสยา รสเผ็ด รสเปรี้ยว รสเค็ม ทำให้โรคใดกำเริบ
                1.   โรคลม
                2.   โรคดี
                3.   โรคเสลด
                4.   โรคโลหิต
ข้อ 66.    ในสรรพคุณเภสัชได้จัดรสยาแก้ธาตุทั้ง 4 พิการไว้ ข้อใดถูกต้อง
                1.   ถ้าปถวีธาตุพิการ ใช้ยารสหวาน มัน เมาเบื่อ
                2.   ถ้าอาโปธาตุพิการ ใช้ยารส เปรี้ยว ขม เมาเบื่อ
                3.   ถ้าวาโยธาตุพิการ ใช้ยารสเผ็ดร้อน ฝาด
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 67.    ในสรรพคุณเภสัช ได้จำแนกรสยาไว้ 9 รส มีรสอะไรบ้าง
                1.   ฝาด หวาน เมาเบื่อ ขม เผ็ดร้อน มัน หอมเย็น เค็ม เปรี้ยว
                2.   ฝาด หวาน มัน เค็ม เมาเบื่อ ขม เผ็ดร้อน เปรี้ยว เย็นจืด
                3.   ฝาด หวาน เมาเบื่อ ขม เผ็ดร้อน มัน หอมเย็น เค็ม สุขุม
                4.   ไม่มีข้อใดถูกเลย
ข้อ 68.    ยาเขียว สรรพคุณหลักให้แก้อะไร?
                1.   แก้ไข้ตัวร้อน
                2.   แก้ปวดประจำเดือน
                3.   แก้เริม
                4.   แก้ผดผื่นคัน
้ข้อ 69.    ยาปรุงสำเร็จแล้วนั้น มีหลายขนาน แต่เมื่อชิมดูแล้วมีกี่รส?
                1.   2 รส
                2.   3 รส
                3.   9 รส
                4.   10 รส
ข้อ 70.    ยารสฝาดมีฤทธิ์ทางสมาน แสลงกับโรคอะไรบ้าง?
                1.   ไอ ท้องผูก โรคลม
                2.   ไอ ท้องเสีย โรคกระดูก
                3.   ไอ หัวใจ แผล
                4.   นอนไม่หลับ อาเจียน ท้องเสีย
ข้อ 71.    ยารสหวานแสลงกับโรคอะไร
                1.   ท้องผูกเป็นพรรดึก
                2.   โรคเสมหะเฟื่องและบาดแผล
                3.   หัวใจพิการ
                4.   ไข้ที่มีพิษร้อน
ข้อ 72.    รสยา มีสรรพคุณแก้พิษ ถอนพิษ เช่นพิษดี พิษโลหิต พิษเสมหะ และพิษสัตว์กัดต่อย คือรสใด
                1.   รสเผ็ดร้อน
                2.   รสมัน
                3.   รสขม
                4.   รสเบื่อเมา
ข้อ 73.    รสยาแก้ตามวัย คืออายุแรกถึง 16 ปี ควรจะใช้รสยาข้อใดที่ถูกต้อง?
                1.   เปรี้ยว ขม หวาน
                2.   ขม เมา เบื่อ
                3.   มัน เค็ม
                4.   จืด เปรี้ยว
ข้อ 74.    รสยาสุขุม เผ็ดร้อน เป็นรสยาประจำธาตุอะไร
                1.   ไฟ
                2.   ดิน
                3.   ลม
                4.   น้ำ
ข้อ 75.    เวลากลางวันตั้งแต่เวลา 14.00-18.00 น. และเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 02.00-06.00 น. ควรใช้ยาที่มีรสใด
                1.   เปรี้ยว
                2.   ร้อน
                3.   ขม
                4.   เย็น
ข้อ 76.    อายุ 16-32 ปี เมื่อเป็นไข้ ควรใช้ยารสใด?
                1.   ขม-เปรี้ยว
                2.   ฝาด-เค็ม
                3.   จืด-เผ็ด
                4.   ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
ข้อ 77.    "พระขรรค์ไชยศรี " หมายถึงตัวยาในข้อใด
                1.   ตะโกนา
                2.   ต้นทิ้งถ่อน
                3.   หนาวเดือนห้า
                4.   ร้อนเดือนห้า
ข้อ 78.    การเก็บตัวยาตามฤดูนั้น ท่านคิดว่าข้อใดถูกต้อง
                1.   ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) เก็บ เปลือก แก่น เนื้อไม้ ราก
                2.   ฤดูฝน (วสันตฤดู) เก็บ หัว เหง้า เนื้อไม้ ใบ
                3.   ฤดูหนาว(เหมันตฤดู) เก็บ กระพี้ เปลือก เนื้อไม้
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 79.    แก่นกาแล รสขมขื่น มีสรรพคุณแก้โรคอะไร
                1.   บำรุงน้ำเหลือง ให้เป็นปกติ บำรุงกำลัง
                2.   บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ธาตุพิการ
                3.   ขับโลหิตในสตรีที่เน่าเสีย ทำให้เกิดโรคต่างๆ
                4.   แก้ไข้ที่มีพิษ แก้ไข้ตรีโทษ แก้ไข้เพื่อเสมหะ
ข้อ 80.    โกฐจุฬาลัมพา มีสรรพคุณเสมอกับ
                1.   หญ้าตีนนก
                2.   ทรงบาดาล
                3.   เปลือกนนทรี
                4.   หัวเปราะป่า
ข้อ 81.    ชาวบ้านรู้จักใช้ลูกมะเกลือถ่ายพยาธิมานานแล้ว ได้ผลดี สำหรับพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย จำนวนและขนาดเท่าอายุคนไข้ 1 ปีต่อ 1 ผล และจำกัดไว้ไม่เกินกี่ผลต่ออายุ 40 ปี
                1.   25 ผล
                2.   30 ผล
                3.   35 ผล
                4.   40 ผล
ข้อ 82.    ใช้ดีทำยา สรรพคุณแก้ตาต้อ หางตาแห้ง แก้โรคในปากเป็นเม็ด ตัวร้อนนอนสะดุ้ง
                1.   ปลาช่อน
                2.   ปลาหมอ
                3.   ปลากระเบน
                4.   ปลานิล
ข้อ 83.    ต้นกาหลงใช้ทำยาแก้ปวดศีรษะ ลดความดันเลือดสูง มักใช้ส่วน
                1.   ราก
                2.   ใบ
                3.   ดอก
                4.   ฝัก
ข้อ 84.    ตัวยาชนิดหนึ่งได้จากแผลของค่างที่เป็นปรวดแข็ง มีสรรพคุณดับพิษกาฬ ดับพิษทั้งปวง ตัวยาชนิดนี้คือ
                1.   คุลิก่า
                2.   โคโรค
                3.   ชะมดเชียง
                4.   อำพันทอง
ข้อ 85.    ธาตุใดผสมกับน้ำมัน มีสรรพคุณรักษาบาดแผล และแก้พิษอักเสบได้
                1.   ตะกั่วนม
                2.   ดินถนำถ้ำ
                3.   ดินถนำส้วม
                4.   สารหนู
ข้อ 86.     ใบมะนาว ใช้ทำยาในพิกัดกี่ใบ(กัดฟอกเสมหะและระดู)
                1.   9 ใบ
                2.   50 ใบ
                3.   60 ใบ
                4.   108 ใบ
ข้อ 87.    พระยาฉัตรทัน อีกชื่อหนึ่งเรียกว่าอะไร?
                1.   ทิ้งถ่อน
                2.   เทพธาโร
                3.   จำปาขอม
                4.   ตะโกนา
ข้อ 88.    พืชวัตถุที่ใช้ส่วนทั้ง 5 คือ
                1.   หัว ราก ใบ ดอก ฝัก
                2.   ราก ต้น ใบ แก่น ฝัก
                3.   ต้น ดอก ใบ ลูกหรือฝัก ราก
                4.   ราก ใบ ดอก ลูก ฝัก
ข้อ 89.    รงทอง ได้มาจากอะไร และมีสรรพคุณทางใด
                1.   ได้มาจากธาตุวัตถุ มีสรรพคุณถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายกระษัย
                2.   ได้มาจากสัตว์วัตถุ มีสรรคุณแก้โรคตา โรคเสมหะ
                3.   ได้มาจากยางต้นรงทอง มีสรรพคุณแก้ลมอันมีพิษทั้งปวง
                4.   ได้มาจากพืชวัตถุ มีสรรพคุณแก้ลมอันมีพิษทั้งปวง
ข้อ 90.    รากตองแตกหรือรากทนดี มีสรรพคุณอย่างไร
                1.   ขับพยาธิตัวตืด ขับพยาธิไส้เดือน
                2.   ระบายพิษไข้ แก้หืด ไอ แก้พิษฝี
                3.   ดับพิษตับ ปอด แก้หัวใจพิการ
                4.   ระบายอ่อนๆ ถ่ายลม ถ่ายเสมหะ
ข้อ 91.    รากมะพร้าว มีสรรพคุณดังนี้
                1.   แก้พิษตามซาง
                2.   แก้ไข้ท้องเสีย
                3.   แก้อ่อนเพลีย
                4.   แก้ผิดสำแดง
ข้อ 92.    ลักษณะของ ชลูดขาว เป็นไม้ชนิดใด
                1.   เป็นพุ่มไม้ชนิดกลาง
                2.   เป็นไม้เถา
                3.   เป็นไม้ชนิดล้มลุก
                4.   เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
ข้อ 93.    สมุนไพรตัวใดที่หมอไทยใช้บำรุงโลหิต
                1.   สิงหโมรา
                2.   ผักเป็ดแดง
                3.   หญ้าฝรั่น
                4.   รากสามสิบ
ข้อ 94.    สีผสมอาหารจากธรรมชาติ คือข้อใด
                1.   สีเสียดเทศ สีเสียดไทย
                2.   ชะเอมเทศ ชะเอมไทย
                3.   ฝาง ดอกคำฝอย
                4.   ดอกอัญชัญ ช้าพลู ใบเตย
ข้อ 95.    หญ้าฝรั่น ใช้ส่วนใดทำยา
                1.   ใบ
                2.   ต้น
                3.   เกสร
                4.   ราก
ข้อ 96.    หนามคาใบ เป็นชื่อของต้นอะไร
                1.   หนามหัน
                2.   ช้างงาเดียว
                3.   ระกำ
                4.   หนามเล็บเหยี่ยว
ข้อ 97.    หมอจะใช้ส่วนใดของโกฐน้ำเต้า ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ และอุจจาระให้เดินสะดวก
                1.   ใช้ใบ
                2.   ใช้ราก
                3.   ใช้แก่น
                4.   ใช้ผล
ข้อ 98.    "กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย"ได้ตราขึ้นในสมัยใด
                1.   รัชกาลที่ 1
                2.   รัชกาลที่ 2
                3.   รัชกาลที่ 3
                4.   รัชกาลที่ 4
ข้อ 99.    เมื่อตรวจพบว่าใบสั่งยาผิด หรือมีความสงสัยในตำรับยาในใบสั่งยานั้น เภสัชกรทีดีควรปฎิบัติอย่างไร
                1.   ปรุงยาตามใบสั่งยาได้เลย เพราะผู้สั่งยาเป็นผู้รับผิดชอบ
                2.   แก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง และปรุงไปตามที่แก้ไข
                3.   สอบถามแพทย์ผู้เขียนใบสั่งยาก่อนปรุงยา
                4.   ปรึกษาผู้ชำนาญก่อนการปรุงยา
ข้อ 100.  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการตรากฎเสนบดีแบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบัน และแผนโบราณขึ้นใช้บังคับในรัชสมัย ใด?
                1.  รัชกาลที่ 6
                2.   รัชกาลที่ 7
                3.   รัชกาลที่ 8
                4.   รัชกาลที่ 9

ข้อสอบวิชาเภสัชกรรมไทย
วันพุธ
ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เวลา 09.00 - 12.00 น.

ข้อ 1.      ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันได้ให้ผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยาประเภทใดบ้างที่สามารถ ขายยาแผนโบราณได้
                 1.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
                 2.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
                 3.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จฯ
                 4.   ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ หรือผู้ที่รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จฯ
ข้อ 2. นายสมชายเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทำการแจกยาแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการขายยาในงานนิทรรศการ เช่นนี้ นาย สมชายสามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
                 1.   ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
                 2.   ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
                 3.   ได้ เพราะเป็นการแจก ไม่ได้ขายยา
                 4.   ได้ เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยาแผนโบราณ
ข้อ 3.      นายสมศักดิ์ขึ้นทะเบียนตำรับยาเม็ดลูกกลอนยาแผนโบราณไว้ตำรับหนึ่ง โดยระบุว่ามีน้ำหนักเม็ดละ 1 กรัม ต่อมาต้องการลดต้นทุน จึงเปลี่ยนทำน้ำหนักเม็ดยาเป็นเม็ดละ 0.8 กรัม ออกขายโดยไม่ได้แจ้งขอแก้ไขทะเบียนตำรับยา กรรณีนี้ นายสมศักดิ์มีความผิดตามกฎหมาย ยาหรือไม่ อย่างไร
                 1.   ไม่เป็นความผิด เพราะไม่ได้แก้ไขสูตรยา
                 2.   เป็น ความผิดฐานทำยาปลอม
                 3.   เป็น ความผิดฐานทำยาผิดมาตรฐาน
                 4.   เป็น ความผิดฐานทำยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
ข้อ 4.     ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อผู้อนุญาต เพื่อรับใบแทนใบอนุญาต ภายในกี่วัน
                 1.   5 วัน
                 2.   15 วัน
                 3.   20 วัน
                 4.   30 วัน
ข้อ 5.     ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
                 1.   15 วัน
                 2.   20 วัน
                 3.   25 วัน
                 4.   30 วัน
ข้อ 6.     กรณีใดที่โรงพยาบาลเอกชนสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงที่ขออนุญาตไว้ได้
                 1.   มีโรคระบาดรุนแรง
                 2.   มีผู้ป่วยมารักษาจำนวนมาก
                 3.   กรณีมีอุบัติเหตุกับคนหมู่มาก
                 4.   กรณีฉุกเฉิน ซึ่งหากไม่รับไว้ผู้ป่วยอาจมีอันตราย
ข้อ 7.      การกระทำในข้อใดที่ผู้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการเสมือนการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
                 1.   เปลี่ยนตัวผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
                 2.   เปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต
                 3.   เปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลใหม่
                 4.   ย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น
ข้อ 8.     ผู้ใดต่อไปนี้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
                 1.   นายแก่อายุ 90 ปี
                 2.   นายอ่อนป่วยเป็นโรคความดันสูง
                 3.   นายพลาดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งปีในความผิดทำให้คนตายโดยประมาท
                 4.   นาย จ. ดื่มสุราเป็นอาจิณ จนเป็นโรคพิษสุราาเรื้อรัง
ข้อ 9.     ผู้ที่มีอำนาจประกาศกำหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
                 1.   รัฐมนตรี
                 2.   ปลัดกระทรวง
                 3.   คณะกรรมการ
                 4.   อนุกรรมการ
ข้อ 10.    สมศรีมีความประสงค์จะขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล แต่ผู้อนุญาตไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ สมศรีควรทำอย่างไร
                 1.   อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                 2.   อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                 3.   อุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี
                 4.   อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสถานพยาบาล
ข้อ 11.    การปฎิบัติงานตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ที่ออกเป็นกฎกระทรวงคือ
                 1.   การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะ
                 2.   การออกข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะ
                 3.   การออกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะ
                 4.   การออกหลักเกณฑ์การให้บุคคลประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์ต่างประเทศ
ข้อ 12.    การประกอบวิชาชีพใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่การประกอบโรคศิลปะตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
                 1.   เวชกรรมไทย
                 2.   กายภาพบำบัด
                 3.   การพยาบาล
                 4.   เทคนิคการแพทย์
ข้อ 13.    ข้อใดที่ไม่ถือเป็นการปฎิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
                 1.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะคิดค่ารักษาผู้ป่วยในราคาสูง
                 2.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะพูดจาโอ้โลมผู้ป่วย
                 3.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะไม่แจ้งความจริงให้ผู้ป่วยทราบ
                 4.   การที่ผู้ประกอบโรคศิลปะได้ทำการรักษาผู้ป่วยเกินความจำเป็น
ข้อ 14.    คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัตการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มีจำนวน
                 1.   ไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
                 2.   ไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
                 3.   ไม่น้อยกว่า 14 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 15.    นาย ก. ทำการปรุงยาโดยใส่สเตียรอยด์ผสมด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นความหมายของเภสัชกรรมไทยหรือไม่
                 1.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะนาย ก.ใส่เสตียรอยด์ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบัน
                 2.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะวิธีดังกล่าวไม่ใช่กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
                 3.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะเสตียรอยด์ เป็นยาอันตราย
                 4.   ไม่เป็นเภสัชกรรมไทย เพราะยาดังกล่าวไม่มีสรรพคุณตามหลักเภสัช
ข้อ 16.    นาย ก. เป็นเจ้าของสถานบริการตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ได้จ้างนาย ข. ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ไปทำการนวด กรณีเช่นนี้ถือว่า
                 1.   นาย ข. ไม่สมควรไป เพราะกฎหมายไม่อนุญาต
                 2.   นาย ข. ไม่สมควรไป เพราะผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
                 3.   นาย ข. สามารถไปได้ เพราะเป็นสิทธิที่จะทำการประกอบโรคศิลปะ
                 4.   นาย ข. สามารถไปได้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อ 17.    นาย ก.มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้า นาย ก.ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้ว เรียกร้องค่าตอบแทน นาย ก.จะถูกลงโทษอย่างไร
                 1.   อาจถูกจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 2.   ถูกยึดทรัพทย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ
                 3.   ถูกว่ากล่าวตักเตือน
                 4.   ทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว
ข้อ 18.    นายชอบ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ทำการรักษาโรคโดยฝังเข็ม จะต้องรับผิดทางกฎหมายอย่างไร
                 1.   ประกอบโรคศิลปะผิดสาขา
                 2.   ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
                 3.   ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนจีน โดยมิได้ขั้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
                 4.   ไม่มีความผิด
ข้อ 19.    ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ไม่พึงกระทำการใดในข้อต่อไปนี้
                 1.   ศึกษาหาความรู้วิชาการฝังเข็ม
                 2.   ติดประกาศใบอนุญาตที่ตนได้รับทุกประเภทและทุกสาขาเป็นที่เปิดเผยในสถานพยาบาล
                 3.   ให้ค่าตอบแทนแก่คนขับรถแท็กซี่ที่หาผู้ป่วยมาส่งที่สถานพยาบาลของตน
                 4.   แจ้งวิธีการประกอบโรคศิลปะให้ผู้ป่วยทราบ
ข้อ 20.    พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ใน กรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                 1.   ทำการวินิจฉัยโรคเท่านั้น
                 2.   ประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาล
                 3.   รับทำคลอดให้เฉพาะคนในหมู่บ้านโดยติดต่อค่าบริการรายละ 30 บาท
                 4.   การประกอบโรคศิลปะที่กระทำต่อตนเอง
ข้อ 21.    กระสายยา มีไว้เพื่อประโยชน์อย่างไร
                 1.   เพื่อให้ยานั้นมีรสเข้มข้นขึ้น
                 2.   เพื่อให้ยามีฤทธิ์มากขึ้นโดยลดฤทธิ์ของตัวยาที่ออกฤทธิ์ขัดกัน
                 3.   เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น
                 4.   เพื่อให้ยาดูดซึมเร็วขึ้น
ข้อ 22.    การกระทุ้งพิษไข้หัด นิยมใช้พืชวัตถุใดต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
                 1.   ลูกผักชี
                 2.   รากผักชี
                 3.   รากชุมเห็ดไทย
                 4.   รากบัว
ข้อ 23.    การทำเม็ดลูกกลอน ต้องใช้กระสายยาตัวใด
                 1.   น้ำผึ้งหรือน้ำตาลอ้อยเคี่ยวข้น
                 2.   น้ำแป้งเปียก
                 3.   น้ำเชื่อม
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 24.    การทำให้พิษไข้ข้างในออกมาภายนอกตามผิวกาย เราเรียกว่า
                 1.   ถอนพิษไข้
                 2.   ดับพิษไข้
                 3.   กระทุ้งพิษไข้
                 4.   ดอกพิษไข้
ข้อ 25.    การสะตุตัวยาข้อใดไม่ถูก
                 1.   สารส้มใส่หม้อดินตั้งไฟให้ร้อน
                 2.   ดินสอพอง ใส่หม้อดินตั้งไฟให้ร้อน
                 3.   น้ำประสานทอง ใส่กระทะทองแดงตั้งไฟให้ร้อน
                 4.   ยาดำ ใส่หม้อดินเติมน้ำเล็กน้อยตั้งไฟจนน้ำยาดำแห้งกรอบ
ข้อ 26.     การสะตุรงทอง มีวิธีการทำอย่างไร
                 1.   นำรงทองใส่หม้อดิน เติมน้ำเล็กน้อย นำไปตั้งไฟจนรงทองแห้งกรอบ
                 2.   นำใบบัวห่อรงทอง แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกกรอบ
                 3.   นำรงทองใส่ถ้วย พรมด้วยน้ำส้ม นำไปนึ่งให้สุก
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 27.     การสะตุสารส้ม ควรปฎิบัติอย่างไร
                 1.   นำสารส้มมาคั่วในกระทะ สารส้มจะละลายเป็นน้ำแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
                 2.   ต้มสารส้มในน้ำที่เดือดจัด สารส้มจะฟูเป็นแผ่นขาว ทิ้งไว้ให้เย็น
                 3.   นำสารส้มที่ตำละเอียดมาใส่หม้อดิน ตั้งไฟจนสารส้มละลาย เมื่อแห้งได้ที่จะฟูเป็นแผ่นขาว
                 4.   นำสารส้มมาโรยในน้ำเดือด เมื่อแห้งแล้วจะฟูเป็นแผ่นขาว
ข้อ 28.     แก่นขี้เหล็ก 1 บาท เท่ากับหนักกี่กรัม
                 1.   14 กรัม
                 2.   15 กรัม
                 3.   16 กรัม
                 4.   17 กรัม
ข้อ 29.     ข้อใดเป็นตัวยาที่ปรุงกับตัวยาอื่นใช้สำหรับขับลม กระจายลม
                 1.   พริกไทย
                 2.   กระเทียม
                 3.   ตะไคร้หอม
                 4.   หัวหอม
ข้อ 30.     ข้อไหนมิใช่ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ?
                  1.   ยาธาตุบรรจบ
                  2.   ยาธาตุน้ำแดง
                  3.   ยาเขียวหอม
                  4.   ยาเขียวใหญ่
ข้อ 31.     คนไข้มีอาการตัวร้อน เป็นไข้ ขัดเบา ท่านควรใช้น้ำกระสายยาข้อใด
                  1.   รากหญ้าคา หญ้าใต้ใบ
                  2.   หญ้าชันกาด ว่านนางคำ
                  3.   ไพล รากมะละกอ
                  4.   ฝ้ายแดง บอระเพ็ด
ข้อ 32.     ยาจันทลีลา อยู่ในกลุ่มยาอะไร
                  1.   กลุ่มยาถ่าย
                  2.   กลุ่มยาขับลม
                  3.   กลุ่มยาบำรุงโลหิต
                  4.   กลุ่มยาแก้ไอ
ข้อ 33.     ตัวยาชนิดใดที่มีฤทธิ์แรงในทางกัดทำลาย
                  1.   จุนสี
                  2.   ยางตาตุ่ม
                  3.   ยางรักดำ
                  4.   ยางฝิ่น
ข้อ 34.     ตัวยารากมะปรางหวาน รากมะนาว เปราะหอม เป็นส่วนประกอบตัวยาสามัญประจำบ้านตำรับใด
                  1.   ยาประสะกะเพรา
                  2.   ยาประสะจันทน์แดง
                  3.   ยาหอมอินทจักร์
                  4.   ยาประสะไพล
ข้อ 35.     ถ้าใช้ยาสามัญประจำบ้าน ถ้าแก้กษัย เถาดาน ท้องผูก จะใช้ข้อใด
                  1.   ยาธาตุบรรจบ
                  2.   ยาธรณีสันฑฆาต
                  3.   ยาไฟห้ากอง
                  4.   ยาประสะไพล
ข้อ 36.     น้ำกระสายยา ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในข้อใด
                  1.   เพื่อให้กลืนยาได้ง่ายๆ ไม่ติดคอ
                  2.   เพื่อช่วยทำให้ยามีรส สี กลิ่น น่ารับประทาน
                  3.   เพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ยาให้ตรงกับโรค ทันต่ออาการโรค
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 37.     น้ำกระสายยาที่นำมาใช้แก้โรคนอนไม่หลับ จะใช้ตัวยาสมุนไพรต้มเพื่อใช้รักษาโรคคือ
                  1.   กาฝากมะม่วง
                  2.   ลูกผักชีลา
                  3.   รากชุมเห็ดไทย
                  4.   รากบัว
ข้อ 38.     น้ำกระสายยาอะไรที่แก้อาเจียน
                  1.   น้ำดอกไม้เทศ ละลายน้ำ
                  2.   กะเพราและข่าต้ม
                  3.   ลูกยอหมกไฟ ลูกผักชี และเทียนดำต้ม
                  4.   ใบสะระแหน่ และตะไคร้ต้ม
ต้อ 39.     น้ำต้มกาฝากมะม่วงพรวน สรรพคุณเป็นน้ำกระสายตรงกับข้อใด
                  1.   ระบาย
                  2.   ขับปัสสาวะ(ขัดเบา)
                  3.   แก้ความดันเฉียบพลัน
                  4.   ไม่มีข้อถูก
ข้อ 40.     เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อ แก้ลมแล่นตามเส้น ตามกล้ามเนื้อ ลิ้นกระด้างคางแข็ง และมือชา เท้าชา ควรใช้ยาในข้อใด
                  1.   ยาหอมบำรุงหัวใจ
                  2.   ยาสหัสธารา
                  3.   ยาหอมอินทรจักร
                  4.   ยาฤทธิจร
ข้อ 41.     ยาใดแก้กษัยเส้น เถาดาน ท้องผูก
                  1.   ยาธรณีสัณฑะฆาต
                  2.   ยาไฟประลัยกัลป์
                  3.   ยามหาจักรใหญ่
                  4.   ยาอัมฤควาที
ข้อ 42.     ยาน้ำหนัก 5 ตำลึง มีกี่กรัม?
                  1.   300 กรัม
                  2.   400 กรัม
                  3.   500 กรัม
                  4.   600 กรัม
ข้อ 43.     ยาลูกกลอนที่ผสมด้วย หัว เหง้า แก่น โกฐ เทียน แร่ธาตุ มีอายุเท่าใดจึงจะเริ่มเสื่อมคุณภาพ
                  1.   6 เดือน
                  2.   8 เดือน
                  3.   12 เดือน
                  4.   18 เดือน
ข้อ 44.     ยาสามัญประจำบ้านขนานใด ที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย
                  1.   ยามันฑธาตุ
                  2.   ยาประสะไพล
                  3.   ยาเหลืองปิดสมุทร
                  4.   ยาตรีหอม
ข้อ 45.     ยาสามัญประจำบ้านชื่อ ยาประสะไพล ประกอบด้วยตัวยา คือ ว่านน้ำ พริกไทย กระเทียม ผิวมะกรูด หัวหอม ขิง เกลือสินเธาว์ เทียน ดำ การบูร รวมทั้งไพล แต่ยังขาตัวยาคือ
                  1.   ขมิ้นอ้อย ข่า
                  2.   ดีปลี กระทือ
                  3.   กระทือ ขมิ้นอ้อย
                  4.   ดีปลี ขมิ้นอ้อย
ข้อ 46.     วิธีการทำให้ลูกสลอดหมดฤทธิ์ หรือมีฤทธิ์น้อย เรียกว่าอย่างไร
                  1.   การสะตุลูกสลอด
                  2.   การประสะลูกสลอด
                  3.   การฆ่าฤทธิ์ลูกสลอด
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 47.     หลังจากทำยาลูกกลอนแล้วนำเม็ดยาที่ได้ไปวางในถาดไม้ ให้เม็ดยาชนกัน แล้วนำไปอบในอุณหภูมิกี่องศา
                  1.   40-45 องศาเซลเซียส
                  2.   46-50 องศาเซลเซียส
                  3.   50-55 องศาเซลเซียส
                  4.   55-60 องศาเซลเซียส
ข้อ 48.     กระดูกไก่ทั้งสองต่างกันอย่างไร
                  1.   ต่างกันที่รส
                  2.   ต่างกันที่ชนิด
                  3.   ต่างกันที่ขนาด
                  4.   ต่างกันที่สี
ข้อ 49.     ดอกดีปลี 1 ส่วน เถาสะค้าน 8 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน เจตมูลเพลิง 2 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 1 ส่วน เมล็ดพริกไทย 3 ส่วน ตรีผลาระคน อย่างละ 1/2 ส่วน เป็นตัวยาประจำธาตุสมุฎฐานใด
                 1.   อาโปธาตุพิการ
                 2.   ปถวีธาตุหย่อน
                 3.   อาโปธาตุกำเริบ
                 4.   ปถวีธาตุพิการ
ข้อ 50.     ดอกดีปลี 16 ส่วน รากช้าพลู 8 ส่วน เถาสะค้าน 6 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน แก้ในโสฬสเบญจกูลกองใด
                 1.   โสฬสเบญจกูล แก้ในกองปถวีธาตุ
                 2.   โสฬสเบญจกูล แก้ในกองอาโปธาตุ
                 3.   โสฬสเบญจกูล แก้ในกองวาโยธาตุ
                 4.   โสฬสเบญจกูล แก้ในกองเตโชธาตุ
ข้อ 51.     ตรีเสมหะผล ประกอบด้วยตัวยาตามข้อใด
                 1.   ลูกช้าพลู ลูกมะขามป้อม รากชะเอมเทศ
                 2.   รากมะกล่ำเครือ รากพริกไทย ผลดีปลี
                 3.   รากกะเพรา รากพริกไทย ผลดีปลี
                 4.   ลูกช้าพลู ลูกกระวาน ลูกผักชีลา
ข้อ 52.     ตัวยาของจุลพิกัดที่แตกต่างกันที่สี ได้แก่ตัวยาในข้อใด?
                  1.   ผักเป็ดทั้ง 2 ได้แก่ผักเป็ดแดง ผักเป็ดขาว กระวานทั้ง 2 ได้แก่ กระวานแดง กระวานขาว
                  2.   การบูรทั้ง 2 ได้แก่ การบูรขาว การบูรดำ จันทน์ทั้ง 2 ได้แก่ จันทน์ขาว จันทน์แดง
                  3.   พริกไทยทั้ง 2 ได้แก่ พริกไทยขาว พริกไทยดำ เทียนทั้ง 2 ได้แก่ เทียนดำ เทียนขาว
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 53.     ตัวยาใดต่อไปนี้ ไม่อยู่ในพิกัดเกษรทั้ง 5
                  1.   ดอกพิกุล
                  2.   ดอกสารภี
                  3.   ดอกบุนนาค
                  4.   ดอกจำปา
ข้อ 54.     ตัวยาใดต่อไปนี้ไม่อยู่ในพิกัดเนาวหอย
                  1.   หอยแครง
                  2.   หอยลาย
                  3.   หอยมุก
                  4.   หอยสังข์
ข้อ55.      ตัวยาต่อไปนี้อยู่ในพิกัดจตุทิพยคันทา
                  1.   ดอกมะลิ
                  2.   ดอกพิกุล
                  3.   ดอกบุนนาค
                  4.   หัวแห้วหมู
ข้อ 56.     ตัวยาใดต่อไปนี้อยู่ในพิกัดตรีสุคติสมุฎฐาน
                  1.   รากกะเพรา
                  2.   รากราชพฤกษ์
                  3.   รากแคแดง
                  4.   รากมะขามเทศ
ข้อ 57.     ตัวยาใดที่เพิ่มในเทียนทั้งห้า และเป็นเทียนทั้งเจ็ด
                  1.   เทียนสัตตะบุษย์ เทียนเยาวภาณี
                  2.   เทียนดำ เทียนแดง
                  3.   เทียนดำ เทียยเยาวภาณี
                  4.   เทียนขาว เทียนเยาวภาณี
ข้อ 58.     บัวขมอยู่ในพิกัดใด
                  1.   บัวทั้ง 5
                  2.   บัวทั้ง 7
                  3.   บัวทั้ง 9
                  4.   บัวพิเศษ
ข้อ 59.     พิกัดตรีทิพย์รสกำหนดตัวยา 3 อย่าง ที่มีรสดั่งน้ำทิพย์ มีตัวยาอะไรบ้าง?
                  1.   โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย
                  2.   โกฐกระดูก เนื้อไม้ เทพธาโร
                  3.   โกฐกระดูก อบเชยไทย รากไทรย้อย
                  4.   เนื้อไม้ อบเชยไทย เทพธาโร
ข้อ 60.     พิกัดตรีวาตผล มี รากพริกไทย เหง้าข่า ลูกสะค้าน มีรสใด
                  1.   รสจืด
                  2.   รสเย็น
                  3.   รสสุขุม
                  4.   รสร้อน
ข้อ 61.      มหาพิกัดเบญจกูล ใช้ส่วนตัวยาอย่างไร
                  1.   ดอกดีปลี 20 ส่วน รากช้าพลู 6 ส่วน เถาสะค้าน 12 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน
                  2.   ดอกดีปลี 20 ส่วน รากช้าพลู 12 ส่วน เถาสะค้าน 6 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน
                  3.   ดอกดีปลี 20 ส่วน รากช้าพลู 12 ส่วน เถาสะค้าน 16 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน
                  4.   ดอกดีปลี 16 ส่วน รากช้าพลู 8 ส่วน เถาสะค้าน 6 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน
ข้อ 62.     เร่วทั้งสอง คืออะไร
                  1.   ใบเร่ว ลูกเร่ว
                  2.   เร่วขาว เร่วแดง
                  3.   เร่วน้อย เร่วใหญ่
                  4.   เร่วไทย เร่วเทศ
ข้อ 63.     ข้อไหนเป็นตัวยารสจืด?
                  1.   หญ้าใต้ใบ
                  2.   หญ้าฝรั่น
                  3.   หญ้าแห้วหมู
                  4.   หญ้าถอดปล้อง
ข้อ 64.     คนไข้เกิดโรควาโยพิการ ควรใช้ยารสใดแก้
                  1.   รสร้อนและรสเย็น
                  2.   รสร้อนและรสสุขุม
                  3.   รสร้อนและรสเปรี้ยว
                  4.   รสสุขุมและรสเย็น
ข้อ 65.     ชนิดของยาแก้โรคตามธาตุสมุฎฐานประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งตัวยาประจำธาตุดินคือข้อใด?
                  1.   รากช้าพลู
                  2.   เถาสะค้าน
                  3.   ดอกดีปลี
                  4.   เจตมูลเพลิง
ข้อ 66.     ตัวยาในข้อใดมีรสเค็ม
                  1.   หญ้าปีนตอ
                  2.   หญ้าหนวดปลาดุก
                  3.   หญ้าถอดปล้อง
                  4.   ใบเหงือกปลาหมอ
ข้อ 67.     ตัวยารสเผ็ดร้อนแก้ลม แก้ปวดท้อง แน่นจุกเสียด ท้องอืดเฟ้อ คือตัวยาใด?
                  1    กานพลู เมล็ดพริกไทย ใบแก้ว
                  2.   กานพลู เมล็ดพริกไทย ลูกกระดอม
                  3.   กานพลู เมล็ดพริกไทย ใบสะเดา
                  4.   กานพลู เมล็ดพริกไทย ใบมะดัน
ข้อ 68.     ถ้าบังเกิดโรคขึ้นในวสันตฤดู(ฤดูฝน) จะใช้ยารสอะไรแก้โรค
                  1.   ใช้ยา รสเผ็ดร้อน รสสุขุม
                  2.   ใช้ยา รสฝาดร้อน รสเปรี้ยว รสสุขุม
                  3.   ใช้ยา รสหอมเย็น รสหวาน รสสุขุม
                  4.   ใช้ยา รสฝาด รสหวาน รสมันเค็ม
ข้อ 69.     ยาตำรับที่นำตัวยาพวกเกสรดอกไม้ ใบไม้ เขาสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เมื่อปรุงเป็นยาสำเร็จแล้วจะมีรสใด
                  1.   รสร้อน
                  2.   รสเย็น
                  3.   รสสุขุม
                  4.   รสขม
ข้อ 70.     ยารสเปรี้ยว แสลงกับโรคใด
                  1.   ไข้ต่างๆ
                  2.   ท้องเสีย
                  3.   กระเพาะอาหารเป็นแผล
                  4.   โรคไอ
ข้อ 71.     ยารสฝาดแสลงกับโรคอะไร
                  1.   โรคท้องผูกเป็นพรรดึก
                  2.   หัวใจพิการ
                  3.   โรคเสมหะเฟื่องและบาดแผล
                  4.   ไข้ที่มีพิษร้อน
ข้อ 72.    รสยา 6 รส หมายถึงรสอะไรบ้าง
                  1.   มธุระ อัมพิระ ละวณะ กฎกะ ติตติกะ  สุราระ
                  2.   มธุระ อัมพิระ ละวณะ ติตติกะ กะสาวะ กฎุกะ
                  3.   มธุระ อัมพิระ ละวณะ สรรพาระ กฎุกะ ชิวระ
                  4.   ผิดหมดทุกข้อ
ข้อ 73.    วัยของคนเราแบ่งออกได้เป็น 3 วัยด้วยกัน อยากทราบว่าวัยสุดท้ายมีอายุเท่าใด
                  1.   32-55 ปี
                  2.   32-58 ปี
                  3.   32-60 ปี
                  4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 74.    วัยปฐมวัย คือข้อใด?
                  1.   อายุ 1 วัน-12 ปี
                  2.   อายุ 1 วัน-13 ปี
                  3.   อายุ 1 วัน-15 ปี
                  4.   อายุ 1 วัน-16 ปี
ข้อ 75.     สมุนไพรรสฝาด ตรงกับข้อใด
                  1.   เปลือกขี้อ้าย
                  2.   เปลือกต้นตะแบกเลือด
                  3.   เปลือกต้นนนทรี
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 76.     เหมันตฤดู(ฤดูหนาว) เกิดโรคเพื่ออาโปธาตุพิการ หรือโรคเสมหะ ควรใช้ยารสอะไรเข้าไปรักษา
                  1.   เปรี้ยว สุขุม
                  2.   เย็น จืด สุขุม
                  3.   หอม เย็น เค็ม
                  4.   เปรี้ยว ขม เค็ม
ข้อ 77.     กุ่มน้ำเป็นพืชวัตถุจำพวกไหน?
                  1.   จำพวกยืนต้น
                  2.   จำพวกเถา เครือ
                  3.   จำพวกหัว-เหง้า
                  4.   จำพวกผักหรือหญ้า
ข้อ 78.     โกฐกักกรา มีสรรพคุณรักษาโรคใด
                  1.   แก้ริดสีดวงทวาร
                  2.   แก้เบาหวาน
                  3.   แก้อัมพาต
                  4.   แก้มะเร็ง
ข้อ 79.    ข้อใดเป็นการพิจารณาตัวยาในหัวข้อ รูป
                  1.   กฤษณามีกลิ่นหอม
                  2.   ไข่เน่าเป็นพืชยืนต้น
                  3.   กระดูกสัตว์สีขาว
                  4.   พริกไทยมีรสร้อน
ข้อ 80.     คำกล่าวข้อใด มีความหมายตรงกับคำว่า น้ำเต้าใต้ดิน
                  1.   หินงอกหินย้อยอยู่ในถ้ำนำมารักษาโรคได้
                  2.   จอมปลวกหรือโพรงปลวกทำรังอยู่
                  3.   ผลของน้ำเต้าที่แก่แล้วนำมาปรุงแก้โรคแก้ไข้
                  4.   โพรงไม้ที่ผุเกิดเชื้อราขึ้นที่เราเรียกว่าขอนดอก
ข้อ 81.     โคคลานเป็นพืชชนิดใด
                  1.   ไม้ใหญ่ยืนต้น
                  2.   ไม้เถากึ่งไม้พุ่ม
                  3.   หญ้า
                  4.   ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ข้อ 82.    โคโรค มีสรรพคุณอย่างไร
                  1.   แก้เสมหะเหนียว แก้โรคตา แก้ลมเพลมพัด
                  2.   แก้ไข้ เจริญอาหาร บำรุงธาตุ
                  3.   ขับโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ระดู
                  4.   แก้ตาแดง แก้ตาแฉะ แก้ตาเจ็บมัว                                                                           
ข้อ 83.     จุนสี มีลักษณะอย่างไร
                  1.   มีสีแดงอ่อนๆ
                  2.   มีสีแดงเข้ม
                  3.   มีสีขาวๆคล้ายสารส้ม
                  4.   มีสีเขียว คล้ายสารส้ม
ข้อ 84.     ตัวยาขับปัสสาวะคือข้อใด
                  1.   โคกกระสุน-หญ้าชันกาด
                  2.   ใบกุ่มน้ำ-ใบสะระแหน่
                  3.   ใบตำลึง-รากระย่อม
                  4.   ชะเอมเทศ-รากหญ้านาง
ข้อ 85.     ตัวยาใดที่ใช้บำรุงโลหิต
                  1.   ผักเป็ดแดง
                  2.   เมล็ดสลอด
                  3.   เมล็ดสบู่ขาว
                  4.   ยางสลัดได
ข้อ 86.     ตัวยาในข้อใดเป็นยารักษาฝี แผลพุพอง
                  1.   ใบชุมเห็ดเทศ เทียนบ้าน
                  2.   บัวบก ว่านมหากาฬ
                  3.   บัวบก ว่านหางจระเข้
                  4.   ดอกดีปลี ใบกะเพรา
ข้อ 87.    นายสมควรเป็นโรคกลาก เภสัชกรจะใช้สมุนไพรข้อใดรักษา
                  1.   ขมิ้น-ขิง
                  2.   ข่า-กระเทียม
                  3.   กระชาย-กระทือ
                  4.   ทองพันชั่ง-ชุมเห็ดไทย
ข้อ 88.    ใบเตย นำใบมาคั้นกรองจะได้สีอะไร
                  1.   สีน้ำเงิน
                  2.   สีเขียว
                  3.   สีม่วง
                  4.   สีแดง
ข้อ 89.    ใบฝ้ายแดง รสเย็น มีสรรพคุณแก้โรคอะไร
                  1.   ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตานทราง แก้ร้อนในกระหายน้ำ
                  2.   แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียน แก้ปวดหัว
                  3.   บำรุงโลหิต แก้โลหิตพิการ แก้พิษฝี
                  4.   แก้ลมกองละเอียด แก้ตาลาย แก้ลมวิงเวียน
ข้อ 90.    ใบไม้ข้อใดมีสรรพคุณแก้เสมหะพอกเลือด
                 1.   ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว
                 2.   ใบมะแว้งต้น ใบมะแว้งเครือ
                 3.   ใบลำพู ใบพิมเสน
                 4.   ใบยอป่า ใบข่อย ใบพุทรา
ข้อ 91.    เปลือกขี้อ้ายใช้ปรุงยาแก้อะไร?
                 1.   แก้อุจจาระธาตุพิการ
                 2.   แก้ปวดบั้นเอว
                 3.   ขับปัสสาวะ
                 4.   แก้กามโรค
ข้อ 92.    เปลือกส้มที่ใช้แก้ลม วิงเวียน หน้ามืดตาลาย หัวใจสั่น คือข้อใด
                 1.   ส้มเช้า
                 2.   ส้มเสี้ยว
                 3.   ส้มจีน
                 4.   ส้มป่อย
ข้อ 93.    ผักกาดนา มีสรรพคุณ
                 1.   แก้วิงเวียน
                 2.   แก้อ่อนเพลีย
                 3.   แก้จุกเสียด
                 4.   แก้ไข้พิษ ขับเหงื่อ
ข้อ 94.    ลูกมะขามป้อม มีสรรพคุณแก้อะไร
                 1.   แก้บิด ท้องเสีย
                 2.   แก้ไข้ตัวร้อน
                 3.   ขับเสมหะ แก้ศอเสมหะ
                 4.   บำรุงหัวใจ แก้ลม
ข้อ 95.    ว่านชักมดลูก ใช้ส่วนไหนทำยาร่วมกับยาขับน้ำคาวปลารัดมดลูก
                 1.   ใบ
                 2.   ดอก
                 3.   ราก
                 4.   หัว
ข้อ 96.    หวายตะคล้ามีสรรพคุณแก้อะไร?
                 1.   ไข้พิษ ไข้กาฬ
                 2.   บำรุงโลหิต
                 3.   พิษฝีเรื้อรัง
                 4.   แก้ไข้ท้องเสีย
ข้อ 97.    อัคคีทวาร ใช้ส่วนไหนทำยา
                 1.   ต้นและใบ
                 2.   ต้นและผล
                 3.   ใบและราก
                 4.   ใช้ทุกส่วน
ข้อ 98.    ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการจัดตั้งกรมหมอหลวงและโรงพระโอสถ มีส่วนคล้ายกับในสมัยใด
                 1.   สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
                 2.   สมัยทวาราวดี
                 3.   สมัยสุโขทัย
                 4.   สมัยอยุธยา
ข้อ 99.    พระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ประภา คือ
                 1.   พระโพธิสัตว์ตามคติพุทธศาสนามหายาน
                 2.   พระโพธิสัตว์ซึ่งก็คือพระชัยวรมันที่ 7
                 3.   พระโพธิสัตว์ซึ่งสร้างอโรคยาศาล
                 4.   ผู้เป็นประธานในพิธีบวงสรวงก่อนแจกจ่ายยาให้ผู้ป่วย
ข้อ 100.  ยาที่พระฤาษีทั้ง 6 ตน ได้บริโภคไปแล้วสามารถบำรุงธาตุทั้ง 4 ได้นั้น ชื่อยาเบญจกูล ประกอบด้วยตัวยาอะไรบ้าง?
                 1.   ดอกดีปลี รากช้าพลู เท้ายายม่อม รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
                 2.   ดอกดีปลี รากชิงชี่ เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
                 3.   ผลดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
                 4.   ดอกดีปลี รากย่านาง เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง