ข้อสอบสาขาการแพทย์แผนไทย
ประจำปี 2545-2546
(ภาคทฤษฎี)
จัดทำโดย : คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย

คำนำ

    พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้บุคคลที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทต่างๆ จะต้องผ่านการทดสอบ หรือสอบความรู้ จากคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย โดยกองประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ทำการจัดสอบความรู้ ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย เป็นประจำทุกปี โดยจะมีการสอบในปลายเดือน เมษายน ของทุกปี ซึ่งมีผู้เข้าสอบในประเภทต่างๆ รวมกว่า 6,000 คน หลังการสอบ จะมีผู้เข้าสอบ ขอดูคะแนนและผลการสอบ และมีการเรียกร้องให้คณะกรรมการวิชาชีพ เปิดเผยข้อสอบและธงคำตอบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในส่วนภูมิภาค จะมีความยากลำบากในการขอดูคะแนน และผลการสอบ ซึ่งจะต้องเดินทางมากรุงเทพฯ

     คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าสอบทุกท่าน และ เป็น แนวทางสำหรับผู้ขอสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ในการที่จะได้ ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฎิบัติ เกี่ยวกับการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และได้ฝึกหัด ทดสอบ การทำข้อสอบเก่า เพื่อให้เกิดทักษะในการสอบ ซึ่งจะยังประโยชน์ ให้กับผู้เข้าสอบ ดังนั้น คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย จึงได้มีมติให้จัดทำคู่มือ เฉลยข้อสอบ สาขาการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2545 และ พ.ศ. 2546 (ภาคทฤษฎี)
     คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย หวังว่าคู่มือ เฉลยข้อสอบสาขาการแพทย์แผนไทย ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และแนวทาง ในการสอบ สำหรับผู้ประสงค์จะขอสอบขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยบ้างตามสมควร

 

 

ตัวอย่าง
ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับในอนุญาต
เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. .......
-----------------------------

      เพื่อให้การสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประจำปี พ.ศ. ... เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย บริสุทธิ์ และยุติธรรม
     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23(1) และมาตรา 33(1) (ก) (ข) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ วิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย จึงออกประกาศสำหรับปฎิบัติไว้ดังต่อไปนี้
     ข้อ 1. ประกาศนี้เรียกว่า " ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ..."
     ข้อ 2. ให้ใช้ประกาศนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศนี้เป็นต้นไป
     ข้อ 3. ให้ยกเลิก " ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ....."
     ข้อ 4. บรรดากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ในส่วนที่กำหนดไว้ก่อนประกาศนี้ ใช้บังคับซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน
     ข้อ 5. ในประกาศนี้
               " คณะกรรมการ" หมายถึง คณะกรรมการการดำเนินการจัดสอบที่ได้รับการแต่งตั้ง
               " กรรมการ" หมายถึง ผู้เป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการจัดสอบทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
     ข้อ 6.  ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่รับผิดชอบแจ้งให้ผู้มีสิทธิเข้าสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ทราบกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ในข้อ 7,ข้อ 8 และข้อ 9
     ข้อ 7.  การสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประจำปี พ.ศ. .... ได้กำหนด ให้มีการสอบ ๒ ภาค คือ ภาคทฤษฎี และภาคปฎิบัติ โดยกำหนดวันและเวลาสอบดังนี้
          7.1    สอบภาคทฤษฎี
                       วันที่ ....เมษายน พ.ศ. ....
                       สอบประเภทเวชกรรมไทย เวลา 09.00-12.00 น. และ เวลา 13.30-16.30 น.วันที่ ....เมษายน พ.ศ. ....
                       สอบประเภทเภสัชกรรมไทย เวลา 09.00-12.00 น.
                       สอบประเภทผดุงครรภ์ไทย เวลา 13.30-16.30 น.
          7.2    สอบภาคปฎิบัติ ให้ผู้ที่สอบผ่านการสอบภาคทฤษฎีไปสอบภาคปฎิบัติ ณ สนามสอบที่กำหนดไว้ดังนี้
                       7.2.1   ประเภทผดุงครรภ์ไทย  สอบประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. ... ณ สนามสอบกรุงเทพมหานคร
                       7.2.2   ประเภทเวชกรรมไทย สอบประมาณเดือน มิถุนายน พ.ศ. .... ณ สนามสอบ กรุงเทพมหานคร
                       7.2.3   ประเภทเภสัชกรรมไทย สอบประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.... ณ สนามสอบกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค
      ข้อ 8. สถานที่สอบ
              กำหนดเขตการสอบภาคทฤษฎี สาขาการแพทย์แผนไทย แบ่งเป็น 12 เขต โดย กำหนดสถานที่สอบไว้ดังนี้
              8.1   ส่วนกลาง สอบที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สำหรับ ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบหรือยื่นสมัครสอบ ณ กรุงเทพ มหานคร และผู้ที่อยู่ในเขต 1 จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสมุทรปราการ
              8.2   ส่วนภูมิภาค สอบที่จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของแต่ละเขต ซึ่งคณะกรรมการสอบแต่ละเขตจะกำหนด สถานที่สอบและแจ้งให้ผู้มีสิทธิ เข้าสอบ ในเขตของตนได้ทราบต่อไปตามข้อ 9
     ข้อ 9.   เขตจังหวัดที่เป็นสถานที่สอบมีดังนี้
               9.1   เขต 2 จังหวัดลพบุรี เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบ ซึ่งมีภูมิลำเนา หรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด ลพบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสุพรรณบุรี
               9.2   เขต 3 จังหวัดชลบุรี  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด ชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว
               9.3   เขต 4  จังหวัดนครปฐม เป็นเขตสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด นครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร
               9.4   เขต 5 จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดมหาสารคาม
               9.5   เขต 6  จังหวัดขอนแก่น  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
               9.6   เขต 7  จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครพนม จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร
               9.7   เขต 8  จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเขตสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย  จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดอุทัยธานี
               9.8   เขต 9  จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดน่าน
               9.9   เขต 10  จังหวัดเชียงใหม่  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
               9.10  เขต 11  จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่
               9.11   เขต12  จังหวัดสงขลา  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล
     ข้อ 10.   ผู้เข้าสอบต้องนำใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการสอบ และบัตรประจำตัวสอบ หรือบัตรประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ ไปแสดงต่อกรรมการในวันสอบ มิฉะนั้น อาจไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
     ข้อ 11.   ให้กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนันสนุนบริการสุขภาพ จัดทำส่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ ไปให้ประธานคณะกรรมการ ก่อนกำหนดการสอบพอสมควร เพื่อตรวจสอบผู้มีสิทธิเข้าสอบในวันสอบ ถ้าไม่มีชื่อในบัญชีผู้เข้าสอบไม่อนุญาตให้เข้าสอบ
     ข้อ 12.   ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นเขตการสอบ กำหนดและจัดเตรียมสถานที่สอบ และแจ้งสถานที่สอบไปให้จังหวัดต่างๆ ที่จะมารวมสอบในเขตการสอบของตนตามระเบียบข้อ 9 ทราบล่วงหน้าพอสมควร
     ข้อ 13.   ให้เจ้าหน้าที่กองการประกอบโรคศิลปะซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ เป็นผู้นำซองข้อสอบไปยังสนามสอบ ณ เขตการสอบ ตลอดจนประสานงาน เกี่ยวกับการดำเนินการสอบจนแล้วเสร็จ
     ข้อ 14.   ให้คณะกรรมการจัดทำแผนที่นั่งผู้เข้าสอบตามลำดับหมายเลขตามเลขที่ประจำตัวผู้เข้าสอบ ซึ่งกองการประกอบโรคศิลปะได้กำหนด และนำบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบแสดงไว้ ที่หน้าห้องสอบ ก่อนถึงกำหนดเวลาการสอบ ให้กรรมการเรียกชื่อผู้เข้าสอบนั่งตามลำดับหมายเลข ผู้เข้าสอบที่ไม่เข้าสอบ หรือไม่มาสอบ ให้เว้นที่นั่งนั้นไว้โดยไม่จัดผู้ใดไปนั่งแทน และห้ามมิให้ผู้เข้าสอบนั่งนอกเหนือจากแผนผัง ไม่ว่ากรณี ใดๆทั้งสิ้น
     ข้อ 15.   ก่อนถึงกำหนดเวลาสอบ ให้คณะกรรมการตรวจความเรียบร้อยของซอง หรือกล่องบรรจุข้อสอบก่อน เมื่อเรียบร้อย ให้บันทึกและ ทำการเปิดซองหรือกล่องบรรจุข้อสอบ ต่อหน้าคณะกรรมการและตัวแทนผู้เข้าสอบอย่างน้อย 3 คน พร้อมกัน แล้วดำเนินการสอบทันที หากไม่เรียบร้อย ให้บันทึกเหตุดังกล่าวไว้และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการว่าจะให้ดำเนินการสอบหรือไม่
     ข้อ 16.   ก่อนแจกกระดาษคำถาม ให้กรรมการประกาศให้ผู้เข้าสอบทุกคนได้ทราบว่า ห้ามทุจริตในการสอบไม่ว่าด้วยประการใดๆ เช่น การดูกันหรือบอกกัน เอาตำราเข้าห้องสอบหรือคัดลอกเข้าไปเป็นบางส่วน หรือมีผู้เขียนส่งเข้าไป ฯลฯ ห้ามนำอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสาร ทุกชนิดเข้าห้องสอบ หากมีการตรวจพบว่ามีการทุจริต เกิดขึ้น ให้กรรมการบันทึกไว้ในกระดาษคำตอบว่า "ทุจริต" ทันที และจะตัดสิทธิ์ ไม่ให้ เข้าสอบในวิชานั้น และวิชาต่อไปที่เหลือทุกวิชา โดยจะปรับตกทุกประเภท ทุกวิชา สำหรับการสอบในปีนี้
     ข้อ 17.   ถ้าผู้สมัครสอบมาถึงสนามสอบหลังจากเริ่มต้นการสอบวิชานั้นครึ่งชั่วโมงขึ้นไป ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบในวิชานั้น
     ข้อ 18.   ในกรณีผู้เข้าสอบทำข้อสอบเสร็จเรียบร้อย ต้องนั่งรอในห้องสอบจนกว่าจะครบสี่สิบห้านาที นับแต่คณะกรรมการๆ ให้เริ่มต้นการ สอบวิชานั้น
     ข้อ 19.   ห้ามผู้เป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้คุมเข้าสอบ
     ข้อ 20.   กระดาษสำหรับผู้เข้าสอบเขียนคำตอบให้ใช้กระดาษคำตอบที่กองประกอบโรคศิลปะจัดเตรียมมาให้สำหรับการสอบของแต่ละปี เท่านั้น และให้จ่ายกระดาษคำตอบให้ผู้เข้าสอบประเภทละ 1 ชุด ต่อคนเท่านั้น
     ข้อ 21.   ให้ผู้เข้าสอบเขียนชื่อตัว ชื่อสกุล รหัสเขตสอบ และเลขที่ประจำตัวสอบให้ชัดเจนด้วยตัวบรรจง บนหัวกระดาษคำถามหน้าแรก
                  สำหรับการสอบภาคทฤษฎี ให้ใช้ดินสอดำความเข้มอย่างน้อย 2 B ระบายรหัสเขตสอบและเลขที่ประจำตัวในช่องที่กำหนดไว้ ให้เต็มช่องและให้เซ็นชื่อในช่องเซ็นชื่อของกระดาษคำตอบด้วย
           สำหรับการสอบภาคปฎิบัติ ให้ผู้เข้าสอบเขียนชื่อตัว ชื่อสกุล รหัสเขตสอบ และเลขที่ประจำตัวสอบให้ชัดเจน ด้วยตัวบรรจง บนหัวกระดาษคำตอบหน้าแรกและบนกระดาษคำตอบทุกแผ่น
     ข้อ 22.   เมื่อกรรมการดำเนินการแล้วเสร็จ ให้กรรมการอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อกำกับในกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทุกแผ่น กรณีข้อสอบอัตนัย ให้เซ็นชิดขอบบรรทัดล่างสุดของคำตอบ
     ข้อ 23.    ให้คณะกรรมการเก็บกระดาษคำถามคืน พร้อมตรวจนับให้ครบจำนวนและทำลายตามระเบียบงานสารบรรณ และรวบรวม เอกสารที่เกี่ยวกับการสอบดังต่อไปนี้ เข้าห่อผนึกและลงชื่อกรรมการที่ห่อผนึกนั้นคือ
                      (1)  กระดาษคำตอบ แยกตามรายวิชา แยกจังหวัด และเรียงลำดับชื่อตามบัญชี
                      (2)  บัญชีรายชื่อซึ่งมีลายเซ็น ผู้เข้าสอบ เรียงลำดับชื่อตามบัญชี
     ให้ประธานคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ ผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากประธานกรรมการ นำห่อผนึกดังกล่าวในวรรคแรกส่งให้ กองการประกอบโรคศิลปะด้วยตนเองโดยด่วนที่สุด ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ค้างคืน ขอให้จัดส่งในวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างช้า ในกรณีนี้ให้แจ้งคณะ กรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ทราบด้วยว่าล่าช้า เพราะเหตุใด ลงในซองคำตอบ แล้วให้เขียนบนซองว่า "ลับมาก-ด่วนมาก"
     ข้อ 24.   ผู้เข้าสอบผู้ใดไม่ปฎิบัติตามระเบียบหรือปฎิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ด้วยประการใดๆ คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย จะไม่พิจารณากระดาษคำตอบทุกวิชา และให้ถือว่าผู้เข้าสอบนั้นสอบตก
     ข้อ 25.   ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ....เดือน.........พ.ศ......
ลงชื่อ ..........................................
( ......................................)
ประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย

 

 

คำแนะนำ และข้อปฎิบัติในการสอบ

1.   โปรดตรวจนับกระดาษข้อสอบ ให้ครบก่อนลงมือทำข้อสอบ
2.   ข้อสอบมีจำนวน 100 ข้อๆละ 1 คะแนน เป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
3.   เขียนชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวสอบทุกหน้า ด้วยปากกา
4.   เขียนชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวผู้สอบ วิชาที่สอบ วัน เวลาและสถานที่สอบในกระดาษคำตอบด้วยปากกา
5.   ให้ตอบใน กระดาษคำตอบ ที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น
6.   ระบายรหัสประจำตัวสอบ (เลข 10 ตัว) ในช่องวงกลมแถวที่  1-10 ด้วยดินสอ 2B
7.   การระบายรหัสประจำตัวผู้สอบและคำตอบ ให้ใช้ดินสอดำชนิด 2B หรือมากกว่า ระบายลงในวงกลม ที่ต้องการให้เต็ม เมื่อต้องการแก้ไข คำตอบ ให้ใช้ยางลบดินสอลบออกให้สะอาดก่อน แล้วจึงระบายลงในวงกลมที่ต้องการใหม่ ห้ามใช้วิธีขีดฆ่าหรือทำให้เกิดรอยขูดขีดบนกระดาษ คำตอบ
8.   เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว ให้ยกมือเพื่อแจ้งให้กรรมการคุมสอบมาเก็บกระดาษข้อสอบและกระดาษคำตอบตรงที่นั่งสอบ ห้ามนำข้อสอบออก นอกห้องสอบโดยเด็ดขาด
9.   ผู้เข้าสอบจะต้องอยู่ในห้องสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 45 นาที นับแต่เริ่มดำเนินการสอบ จึงจะอนุญาตให้ออกจากห้องสอบได้
10. ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์การสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ เว้นแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ ได้แก่ ปากกา ดินสอ และยางลบ หากผู้สอบนำ อุปกรณ์การสื่อสารติดตามตัว จะต้องปิดเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การสื่อสารทุกชนิด และห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารในขณะทำการสอบ ผู้ใดฝ่าฝืน จะปรับตกในวิชานั้นทันที
11. หากผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำการทุจริตในการสอบ คณะอนุกรรมการจัดสอบความรู้ฯ จะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและปรับตกในวิชานั้นทันที
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โปรดระมัดระวังการระบายรหัสประจำตัวผู้สอบในกระดาษคำตอบ ให้ถูกต้องและตรงกับรหัสประจำตัวที่เขียนไว้ และระบายคำตอบให้ดำทึบเต็มช่องที่กำหนดให้สะอาดเรียบร้อย
การไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้นนี้ อาจทำให้ไม่ได้รับการตรวจกระดาษคำตอบ

 

 

คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
การสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ประจำปี พ.ศ.2545
ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 1
สอบวันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ.2545 เวลา 9.00 - 12.00 น.

คำชี้แจง

1.   โปรดตรวจนับกระดาษข้อสอบให้ครบก่อนลงมือทำข้อสอบ ( มีจำนวน 20 หน้า)
2.   ข้อสอบมีจำนวน 100 ข้อๆละ 1 คะแนน เป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
3.   เขียน ชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวผู้สอบในข้อสอบทุกหน้า ด้วยปากกา
4.   เขียนชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวผู้สอบ วิชาที่สอบ วัน เวลาและสถานที่สอบในกระดาษคำตอบ ด้วยปากกา
5.   ให้ตอบในกระดาษคำตอบ ที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น
6.   ระบายรหัสประจำตัวผู้สอบ (เลข 8 ตัว) ในช่องวงกลมแถวที่ 1-8 ด้วยดินสอ 2B
7.   ระบายรหัสชุดวิชา ลงในช่องรหัสชุดวิชา เช่น ชุดวิชา ก  ให้ระบายลงในช่องที่ 1 เลข 1 ด้วยดินสอ 2B ชุดวิชา ข ให้ระบายลงในช่องเลขที่ 1 เลข 2 ด้วยดินสอ 2B
8.   ระบายรหัสประจำตัวผู้สอบและคำตอบ ให้ใช้ดินสอดำ 2B หรือมากกว่า ระบายลงในวงกลมที่ต้องการให้เต็ม เมื่อต้องการแก้ไขคำตอบให้ใช้ยางลบดินสอลบออกให้สะอาดก่อน แล้วจึงระบายลงในวงกลมที่ต้องการใหม่ ห้ามใช้วิธีขีดฆ่าหรือทำให้เกิดรอยขูดขีดบนกระดาษคำตอบ
9.   เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว ให้ยกมือเพื่อแจ้งให้กรรมการคุมสอบมาเก็บกระดาษข้อสอบและกระดาษคำตอบตรงที่นั่งสอบ ห้ามนำข้อสอบออกนอกห้องสอบโดยเด็ดขาด
10. ผู้เข้าสอบจะต้องอยู่ในห้องสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง นับแต่เริ่มดำเนินการสอบ จึงจะอนุญาตให้ออกจากห้องสอบได้
11. ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ เว้นแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ ได้แก่ ปากกา ดินสอ และยางลบ หากผู้สอบนำอุปกรณ์ การสื่อสารติดตามตัว จะต้องปิดเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การสื่อสารทุกชนิด และห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารในขณะทำการสอบ ผู้ใดฝ่าฝืน จะปรับตกในวิชานั้นทันที
12. หากผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำการทุจริตในขณะสอบ คณะอนุกรรมการจัดสอบความรู้ฯ จะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและปรับตกในวิชาที่สอบทันที
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โปรดระมัดระวังการระบายรหัสประจำตัวผู้สอบในกระดาษคำตอบให้ถูกต้องและตรงกับรหัสประจำตัวที่เขียนไว้
และระบายคำตอบให้ดำทึบเต็มช่องที่กำหนดให้สะอาดเรียบร้อย
การไม่ปฎิบัติตามคำชี้แจงนี้อาจทำให้ไม่ได้รับการตรวจกระดาษคำตอบ

 

 

คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 1
วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ.2545 เวลา 09.00 - 12.00 น.

ชื่อ - นามสกุล.....................................................................................รหัสประจำตัวสอบ.....................................

ข้อ 1.     การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาติมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
                  1.   การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
                  2.   การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
                  3.   การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
                  4.   การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
ข้อ 2.     นายโชคขายสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้งๆที่ยังอยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะ
                 1.   ขายยาโบราณที่เป็นอันตราย
                 2.   นายโชคไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
                 3.   ขายยาตำรับอันตราย
                 4.   ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย
ข้อ 3.     ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
                 1.   15 วัน
                 2.   20 วัน
                 3.   25 วัน
                 4.   30 วัน
ข้อ 4.     ผู้ใดผลิตยาปลอมต้องระวางโทษสถานใด
                1.   จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงห้าหมื่นบาท
                2.   จำคุกตลอดชีวิต
                3.   จำคุกห้าปีและปรับห้าหมื่นบาท
                4.   จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
ข้อ 5.     ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่เป็นการขายส่งจะมีโทษสถานใด                 1.   ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท
                2.   ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามพันบาท
                3.   ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
                4.   ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ 6.     การกระทำในข้อใดที่ผู้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการเสมือนการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
                1.   เปลี่ยนตัวผุ้ดำเนินการสถานพยาบาล
                2.   เปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต
                3.   เปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลใหม่
                4.   ย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น
ข้อ 7.     ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่งมีโทษประการใด
               1.   จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               2.   จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               3.   จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               4.   ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ 8.     เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย และเข้าไปรักษาในคลินิคแพทย์ สิ่งสำคัญที่ท่านควรจะต้องตรวจสอบในคลินิคนั้นคืออะไร
               1.   ป้ายชื่อคลินิคตรงกับชื่อแพทย์หรือไม่
               2.   ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
               3.   วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือคุณวุฒิของแพทย์
               4.   อุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งเวชภัณฑ์
ข้อ 9.     สมศรีมีความประสงค์จะขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล แต่ผุ้อนุญาตไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ สมศรีควรทำอย่างไร
               1.   อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรววสาธารณสุข
               2.   อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
               3.   อุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี
               4.   อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสถานพยาบาล
ข้อ10.    อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตรงตามข้อใด
               1.   ฉบับละ 2,000 บาท
               2.   ฉบับละ 1,000 บาท
               3.   ฉบับละ 500 บาท
               4.   ฉบับละ 200 บาท
ข้อ 11.   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 8(2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 นั้น นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว พ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
               1.   ขาดคุณสมบัติ
               2.   ลาออก
               3.   รัฐมนตรีให้ออก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
               4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 12.   กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกรรมการวิชาชีพที่ได้รับเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้ง หรือเลือกตั้งอีกได้
               1.   สองปี
               2.   สามปี
               3.   สี่ปี
               4.   ห้าปี
ข้อ 13.   การกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ทำคำชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อ คณะอนุกรรมการวิชาชีพ ผุ้สอบสวนความผิดของตนได้ ภายในกำหนดระยะเวลากี่วัน
               1.   10 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
               2.   15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
               3.   20 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
               4.   30 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
ข้อ 14.    ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
               1.   เสนอความเห็นต่อคณะรัรฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย
               2.   ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการวิชาชีพ
               3.   พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นที่ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
               4.   รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 15.    คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มีจำนวน
               1.   ไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
               2.   ไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
               3.   ไม่น้อยกว่า 14 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
               4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 16.    นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้านาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน นาย ก. จะถูกลงโทษอย่างไร
                1.   อาจถูกจำคุกหรือปรับ
                2.   ถูกยึดทรัพย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ
                3.   ถูกว่ากล่าวตักเตือน
                4.   ทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว
ข้อ 17.    ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษไม่ยอมรับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้ทำอย่างไร
                1.   ให้ปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เปิดเผย ณ ภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา
                2.   ให้ส่งทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับ
                3.   ให้ลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวัน
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 18.    ผู้ประกอบโรคศิลปะผุ้ใดฝ่าฝืน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษคดีประกอบโรคศิลปะผิดสาขา คดีได้ถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพ สั่งเพิกถอนใบอนุญาติตั้งแต่เมื่อไร
                1.   ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
                2.   ตั้งแต่วันที่ทราบว่ากระทำความผิด
                3.   ตั้งแต่วันที่สั่งพักใบอนุญาต
                4.   ตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารฟ้องศาล
ข้อ 19.    พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด
                1.   ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                2.   ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                3.   ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 20.   ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขา เลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
                 1.   ยี่สิบวัน
                 2.   ยี่สิบห้าวัน
                 3.   สามสิบวัน
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 21.    ที่เกิดโลหิตระดูของสตรีเมื่อจะมีมาให้ดุจไข้จับร้อนๆหนาวๆ ปวดศีรษะมากข้อใดถูกต้อง
                1.   โลหิตระดูเกิดเมื่ออายุ 15 ปี
                2.   โลหิตระดูเกิดเมื่อร้อนตามผิวหน้า
                3.   โลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น
                4.   โลหิตระดูบังเกิดแต่การเจ็ฐบั้นเอวบ่อยๆ
ข้อ 22.    พระคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยสตรีภาพ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา มีกายแตกต่างจากชายอย่างไร
                1.   มีระดู เป็นประจำทุกเดือน
                2.   มีประจำเดือนครั้งละ 3-5 วัน
                3.   มี ถัน จริต ที่ประเวณี และต่อมโลหิตระดู
                4.   มีกำลังกายอ่อนแอกว่าชาย มีความอ่อนหวาน
ข้อ 23.   เมื่อจะมีระดูมาให้มีอาการ กระทำให้ท้องขึ้นท้องพองจุกเสียด ตัวร้อน คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า เป็นลักษณะโลหิตอันบังเกิดจากกองธาตุใด
                1.   ปถวีธาตุ
                2.   อาโปธาตุ
                3.   วาโยธาตุ
                4.   เตโชธาตุ
ข้อ 24.    อาการปรากฎ เมื่อจะใกล้มีระดูมา ให้เป็นไข้จับ ให้สบัดร้อนสบัดหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นมีระดูออกมาแล้ว อาการก็หายไปเป็นโลหิตระดูในข้อใด
                1.   เกิดแต่หัวใจ
                2.   เกิดแต่ขั้วดี
                3.   เกิดแต่เส้นเอ็น
                4.   เกิดแต่กระดูก
ข้อ 25.    ข้อใดเป็นชื่อของหญิงที่มีน้ำนมเป็นโทษแก่ทารก โดยหญิงนั้นมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างเนื้อ
                1.   กาลกิณี
                2.   ยักขินี
                3.   หัสดี
                4.   หรดี
ข้อ 26.    ข้อใดไม่ใช่ลักษณะน้ำนมพิการในหญิง 3 จำพวก
                1.   สตรีแท้งบุตร
                2.   สตรีระดูขัด
                3.   สตรีอยู่ไฟไม่ได้
                4.   สตรีมีครรภ์อ่อน
ข้อ 27.    ครรภ์วิปลาศ สาเหตุที่ทำให้สตรีทั้งครรภ์ตกไป (แท้งบุตร) เกิดจากสาเหตุใด
                1.   ทำงานหนักเกินกำลัง
                2.   พักผ่อนไม่เพียงพอ
                3.   กินของทีไม่ควรกินหรือกินยาขับโดยตั้งใจ
                4.   ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเพิ่ม
ข้อ 28.    คัมภีร์ปฐมจินดากำหนดโลหิตระดูสตรีที่เป็นปกติโทษ 5 ประการ คือ
                1.   โลหิตบังเกิดมาแต่หัวใจ ดี เนื้อ เอ็นและกระดูก
                2.   โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย มังสัง ดี เส้นเอ็น และกระดูก
                3.   โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย ดี เนื้อ เอ็น และนหารู
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 29.    ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่า สัตว์ที่ปฎิสนธิในชมพูทวีปมีหลายสถาน อยากทราบว่า " สัตว์ที่เกิดเป็นฟองฟักไข่ " นั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร ?
                 1.   ชลามพุชะ
                 2.   สังเสทชะ
                 3.   อุปปาติกะ
                 4.   อัณฑะชะ
ข้อ 30.    เมื่อสัตว์ในครรภ์ปฎิสนธิครบ 1 สัปดาห์ จะพัฒนาเป็น
                 1.   ดังไข่งู
                 2.   น้ำล้างเนื้อ
                 3.   ชิ้นเนื้อ
                 4.   ปัญจสาขา
ข้อ 31.    ลักษณะซาง ซางนิลเกิดในกระหม่อม แล้วลงมาเกิดขึ้นในเพดาน มีจำนวนยอดตามข้อใด ?
                 1.   1 ยอด
                 2.   3 ยอด
                 3.   4 ยอด
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 32.    ลักษณะแห่งน้ำนมแม่ที่ดี สมควรเลี้ยงกุมาร กุมารี คือข้อใด ?
                 1.   หญิงที่มีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
                 2.   หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล
                 3.   หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ
                 4.   หญิงที่มีกลิ่นตัวเปรี้ยว
ข้อ 33.    สตรีตั้งครรภ์ขึ้นได้ 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนก็ดี จะแสดงอะไรให้ปรากฎแก่คนทั้งหลาย
                 1.   มีเส้นผ่านหน้าอกเขียว
                 2.   เม็ดรอบหัวนมโตขึ้น
                 3.   หัวนมดำคล้ำขึ้น
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 34.    คัมภีร์มุขโรคได้กล่วถึงโรคอะไรบ้าง ?
                 1.   โรคที่เกิดขึ้นในปากในคอ
                 2.   โรคที่เกิดขึ้นในตา
                 3.   โรคที่เกิดขึ้นในท้อง
                 4.   โรคที่เกิดขึ้นในจมูก
ข้อ 35.    ชื่อ กาละมุขะ ในคัมภีร์มุขโรค มีลักษณะอย่างไร
                 1.   ลิ้นโตมันสีเขียว
                 2.   ลิ้นโตดำ
                 3.   บวมขึ้นในคอ
                 4.   บวมทั้งคอ
ข้อ 36.    ทำให้กายคนไข้แข้งกระด้าง ตึงชา เนื้อหนังเหี่ยว แข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษกัฎมุขขบตอด ธาตุใด้พิการ
                 1.   เป็นพราะปถวีธาตุพิการ
                 2.   เป็นเพราะอาโปธาตุพิการ
                 3.   เป็นเพราะเตโชธาตุพิการ
                 4.   เป็นเพราะวาโยธาตุพิการ
ข้อ 37.    มุขโรคเกิดจากอะไร
                 1.   เกิดจากน้ำลาย
                 2.   เกิดจากลม
                 3.   เกิดจากโลหิต
                 4.   เกิดจากทุกสิ่งที่อยู่ในปาก
ข้อ 38.    กาฬที่ทำพิษให้สลบ ถ้าไม่รู้ถึงโรคสำคัญว่าลมจับ ถ้าสงสัยให้เอาเทียนส่องดู คือกาฬอะไร
                 1.   กาฬแม่ตะงาว
                 2.   กาฬฟองสมุทร
                 3.   กาฬตะบองพะลำ
                 4.   กาฬตะบองชนวน
ข้อ 39.    บ้อใดที่กล่าวถึงชื่อและอาการไม่ถูกต้อง
                 1.   สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วนจะเป็นแผลบริเวณศีรษะ รักษาอย่างไรก็ไม่หาย
                 2.   สันนิบาตทุวันโทษ จะปัสสาวะเหลือง
                 3.   สันนิบาตเจรียงอากาศจะปัสสาวะเหลืองดุจน้ำกรักอันแก่
                 4.   สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะจะขัดปัสสาวะ
ข้อ 40.    ไข้งูสวัด(ตวัด) มีลักษณะการผุดอย่างไร
                 1.   ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทรายขึ้นมาเป็นแถวๆ มีสัณฐานเหมือนงู เป็นเม็ดพองๆ เป็นเงาหนอง ถ้าหญิงเป็นซาย ชายเป็นขวา
                 2.   ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทราบทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆสีดำๆ
                 3.   ผุดขึ้นมาเป็นฝีดาษทั่วทั้งตัว ทำพิษให้สลบ
                 4.   ถูกหมดทุกข้อ
บ้อ 41.    ไข้ใดมีอาการขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวไปทั้งตัว จุกเสียดบิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก ร้อนรุ่มกลุ้มใจ หายใจขัดเพราะในท้องมีก้อน อาการดังกล่าวนี้เป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ไข้เพื่อดี
                  2.   ไข้เพื่อลม
                  3.   ไข้เพื่อกำเดา
                  4.   ไข้เพื่อโลหิต
ข้อ 42.    ไข้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนแต่น้ำลาย เป็นไข้อะไร
                  1.   ไข้ที่เกิดจาดเลือด
                  2.   ไข้ที่เกิดจากเลือดและลม
                  3.   ไข้ที่เกิดจากเลือดลมและน้ำเหลือง
                  4.   ไข้ที่เกิดจากเลือดลม, น้ำเหลืองและเสมหะ
ข้อ 43.   ไข้มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้น คางแข็ง ปากแห้ง น้ำลายหนียว ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของไข้อะไร
                  1.   กำเดาสมุฎฐาน
                  2.   เสมหะสมุฎฐาน
                  3.   โลหิตสมุฎฐาน (ไข้เพื่อโลหิต)
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 44.    ไข้มีอาการให้ปวดศีรษะมาก ให้ตาแดง ตัวร้อนเป็นเปลว ให้ไอ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้ปากแห้ง คอแห้ง เพดานแห้ง ฟันแห้ง ให้เซื่อมมัว ให้เมื่อยไปทั้งตัว จับไม่เป็นเวลา บางทีผุดขึ้นเป็นเม็ด บางทีให้ไอเป็นโลหิตออกทางจมูก ทางปาก บางทีให้ชักเท้ากำ มือกำ เป็นอาการของไข้อะไร
                  1.   ไข้กำเดาน้อย
                  2.   ไข้กำเดาใหญ่
                  3.   ไข้หวัดน้อย
                  4.   ไข้หวัดใหญ่
ข้อ 45.    ไข้ลำประชวร นัยน์ตาขุ่นคล้ำและมัว เป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ลม
                  2.   ดี
                  3.   กำเดา
                  4.   เสมหะ
ข้อ 46.    คัมภีร์ตักศิลา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงลักษณะอาการการรักษาไข้พิษไข้กาฬต่างๆ โดยกำหนดฝีกาฬ จัดแบ่งได้กี่ชนิด ?
                  1.   4 ชนิด
                  2.   5 ชนิด
                  3.   6 ชนิด
                  4.   7 ชนิด
ข้อ 47.    ชื่อใดเป็นชื่อไข้ประดง(ไข้กาฬแทรกไข้พิษ)
                  1.   ไข้ประดงช้าง, ม้า, วัว, ควาย
                  2.   ไข้ประดงดิน,น้ำ,ลม,ไฟ
                  3.   ไข้ประดงเสือ,สิงห์,กระทิง,แรด
                  4.   ไข้ประดงมด,แมว,ลิง,แรด
ข้อ 48.    ในคัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ ได้กล่าวถึงสันนิบาตชนิดหนึ่ง เมื่อจับแล้วมีอาการให้หน้าเหลืองดุจทาขมิ้น ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลือง เวียนศีรษะ แสบตา กระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง คืออาการสันนิบาตชนิดใด
                  1.   สันนิบาตบังเกิดพื่อเสมหะ
                  2.   สันนิบาตเจรียงพระสมุทร
                  3.   สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะ
                  4.   สันนิบาตเจรียงอากาศ
ข้อ 49.    มีลักษณะผุดขึ้นมาเป็นแผ่นสีแดง ทำพิษให้ปวดศีรษะ เซื่อมมัว จับสะท้านร้อน สะท้านหนาว ตรงกับไข้อะไร
                  1.   ไข้งูสวัด
                  2.   ไข้เริมน้ำค้าง
                  3.   ไข้ลำบาบเพลิง
                  4.   ไข้กำแพงทะลาย
ข้อ 50.    มีลักษณะผุดขึ้นมาเหมือนตาปลา ทำให้ปวดแสบปวดร้อน เรียกว่าประดงชนิดใด
                  1.   ประดงลิง
                  2.   ประดงแมว
                  3.   ประดงแรด
                  4.   ประดงไฟ
ข้อ 51.    ยารักษาไข้พิาไข้กาฬที่แพทย์แผนโบราณนิยมใช้กันมากใช้ยาอะไร ?
                 1.   ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
                 2.   รากชิงชี่ รากหญ้านาง รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร
                 3.   ใบย่านาง ใบมะขาม เถาวัลย์เปรียง รากฟักข้าว ข้าวสาร
                 4.   ใบมะยม ใบคนทีสอ ใบมะนาว ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย
ข้อ 52.    ลักษณะของไข้วันเวลาที่ไข้กำเริบมีกำลังวันเท่าใด
                 1.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 9 วัน, โลหิตกำเริบ 8 วัน,ลมกำเริบ 12 วัน
                 2.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 8 วัน, โลหิตกำเริบ 9 วัน, ลมกำเริบ 12 วัน
                 3.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 9 วัน, โลหิตกำเริบ 7 วัน, ลมกำเริบ 13 วัน
                 4.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 7 วัน, โลหิตกำเริบ 9 วัน, ลมกำเริบ 13 วัน
ข้อ 53.   ลักษณะไข้ ทุวันโทษ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน(ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว นัยน์ตามัว เบื่ออาหาร เป็นทุวันโทษ ไข้ประเภทใด ?
                 1.   ลมและกำเดา
                 2.   ลมและเสมหะ
                 3.   กำเดาและเสมหะ
                 4.   กำเดาและโลหิต
ข้อ 54.   ลักษณะไข้มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนนอนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลือง มีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด เป็นไข้ตรีโทษอะไร
                 1.   ตรีโทษ โลหิต เสมหะและกำเดา
                 2.   ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม
                 3.   ตรีโทษ กำเดา โลหิตและลม
                 4.   ผิดหมดทุกข้อ
ข้อ 55.    ลักษณะผุดขึ้นตามตัวขนาดเท่าผลปลัง เมล็ดถั่วดำ เมล็ดถั่วเขียว หรือเมล็ดจิงจ้อ มีเงาหนอง ตรงตามข้อใด
                 1.   กาฬทาม
                 2.   กาฬทูม
                 3.   กาฬละลอกแก้ว
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 56.    สันนิบาตสองคลอง สาเหตุเกิดจากป่วงอะไร
                 1.   ป่วงลิง
                 2.   ป่วงงู
                 3.   ป่วงลม
                 4.   ป่วงลูกนก
ข้อ 57.    อาการผุดขึ้นมาเหมือนผิวมะกรูด ทำพิษให้ปวดร้อน คัน เป็นอาการของไข้ประดงใด
                 1.   ไข้ประดงแรด
                 2.   ไข้ประดงช้าง
                 3.   ไข้ประดงแมว
                 4.   ไข้ประดงลิง
ข้อ 58.    การวิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ คืออาการใด
                 1.   ให้หนาว ให้ร้อน ขนลุก แสยงขน จุกอก ให้หลับไหล กินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก
                 2.   ให้ปากขม ร้อนละเมอเพ้อคลั่ง ปวดศีรษะ อยากน้ำ กายเหลือง หน้าตาเหลือง ปัสสาวะแดง ให้ตึงแตกระแหง เป็นไข้
                 3.   ให้ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก หน้าตาแดง ปัสสาวะเหลืองๆ
                 4.   ให้ขนลุก ขนชัน หนาวสะท้าน ปวดศีรษะ เวียนหน้าตา มักโกรธง่าย เสียดแทงในอก กระหายน้ำ ท้องเป็นก้อน
ข้อ 59.    กาลเอกโทษเสมหะ เสมหะกระทำเต็มที่ไม่มีระคน ในข้อใด
                 1.   เวลา 07.00 - 08.00 น.
                 2.   เวลา 08.00 - 09.00 น.
                 3.   เวลา 09.00 - 10.00 น.
                 4.   เวลา 10.00 - 11.00 น.
ข้อ 60.    ไข้ใดมีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล เป็นเพราะถูกลม เสมหะมาทับระคน คนไข้เป็นอะไร
                 1.   ไข้เพื่อลมและเสมหะ
                 2.   ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา
                 3.   ไข้เพื่อกำเดาและลม
                 4.   ไข้เพื่อโลหิตและลม
ข้อ 61.    ไข้เพื่อเสมหะ ท่านกำหนดไว้ว่ามีกี่องศา จึงจะเป็นสันนิบาต ?
                 1.   กำหนดไว้ 30 องศา
                 2.   กำหนดไว้ 15 องศา
                 3.   กำหนดไว้ 20 องศา
                 4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 62.    ไข้สังวาลย์พระอินทร์ เป็นไข้พิษในข้อใด
                  1.   ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก
                  2.   ไข้กาฬแทรกไข้พิษ 8 จำพวก
                  3.   ไข้กาฬ 10 จำพวก
                  4.   ฝีกาฬในไข้พิษ 10 จำพวก
ข้อ 63.    คนไข้ผิวขาว โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ดร้อน และขม เป็นการวิเคราะห์โรคตามวิธีใด
                 1.   เป็นการวิเคราะห์ตามการสังเกตุผิวกาย
                 2.   เป็นการวิเคราะห์ตามโหงวเฮ้ง
                 3.   เป็นการวิเคราะห์ตามโลหิตฉวี
                 4.   เป็นการวิเคราะห์ตามกระแสเลือด
ข้อ 64.    คนไข้มีอาการหนังสากชาไปทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหรือไต่ที่ตัวก็ไม่รู้สึก ให้แสบร้อนเป็นกำลัง สาเหตุอะไรพิการ
                 1.   เนื้อพิการ
                 2.  หนังพิการ
                 3.   ผมพิการ
                 4.   เอ็นพิการ
ข้อ 65.    คนไข้มีอาการให้เมื่อยขบขัดทุกข้อทุกกระดูก ให้ยกมือยกเท้าไม่ไหว เจ็บปวดเป็นกำลังเป็นอาการของลมอะไร
                 1.   ลมอโธคมาวาตาพิการ
                 2.   ลมอุทธังคมาวาตาพิการ
                 3.   ลมกุจฉิสยาวาตาพิการ
                 4.   ลมโกฎฐาสยาวาตาพิการ
ข้อ 66.    คนไข้อะไรพิการที่มีลักษณะอาการคือ บวมมือ บวมเท้า เป็นน้ำเหลืองตก ผอมแห้ง คือ
                 1.   เสมหะพิการ
                 2.   น้ำมูกพิการ
                 3.   มันเหลวพิการ
                 4.   ไขข้อพิการ
ข้อ 67.   เดือน 11, 12, และ 1  ทั้งสามเดือนนี้ อาหารที่กินมันผิดสำแดง อาโปธาตุพิการ มักให้ขึ้งโกรธ สะดุ้งตกใจ หวาดกลัว เกิดจากอะไร
                 1.   ดีพิการ
                 2.   เสมหะพิการ
                 3.   หนองพิการ
                 4.   โลหิตพิการ
ข้อ 68.   เตโชธาตุพิการ ให้เย็นในอก จุกเสียดขัดอก กระทำให้เกิดลม 6 จำพวก ลมในข้อใดไม่ใช่
                 1.   ลมอัสวาตะ
                 2.   ลมชิวหาสดมภ์
                 3.   ลมมหาสดมภ์
                 4.   ลมอนุวาตะ
ข้อ 69.   ธาตุ 4 เป็นตรีโทษ อาการให้ผอมเหลือง ซูบ เศร้าหมอง จุกอกเป็นก้อนในทรวงและท้องให้ราก สะอึก เรอ ใจสั่น หวานปาก อาเจียน ร้อนอก ปวดศีรษะ เจ็บอก คันตัว ผุดแดงดังสีเสียด ไอเป็นดังหืด ตามัว เกิดกับธาตุใด
                 1.   ปถวีธาตุ
                 2.   อาโปุธาตุ
                 3.   วาโยธาตุ
                 4.   เตโชธาตุ
ข้อ 70.   ในคัมภีร์โรคนิทาน คำว่า มรณะด้วยโบราณโรค หมายถึงข้อใด
                 1.   สิ้นอายุปรโยสาน
                 2.   โอปักกะมิกาพาธ
                 3.   ธาตุดิน ขาดก่อน
                 4.   สิ้นลมหายใจเข้าออก
ข้อ 71.    ในสมุฎฐานฤดู 6 เฉพาะ เหมันตฤดู ข้อใดถูกต้องที่สุด
                 1.   พิกัดเสมหะสมุฎฐาน วาตะสมุฎฐานระคน
                 2.   พิกัดปิตตะสมุฎฐาน เสมหะสมุฎฐานระคน
                 3.   พิกัดวาตะสมุฐาน ปิตตะสมุฎฐานระคน
                 4.   พิกัดปิตตะสมุฎฐาน วาตะสมุฎฐานระคน
ข้อ 72.    พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงลักษณะอาการของตรีโทษนั้น ข้อใด ไม่ใช่อาการของตรีโทษ
                 1.   ร้อนกระวนกระวาย
                 2.   ลงท้องเป็นมูกเลือด
                 3.   หายใจขัดทั้งเข้าออก
                 4.   ตัวเหลืองเหมือนทาขมิ้น
ข้อ 73.    พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึง " อาหารผิดสำแดง" หมายความว่าอะไร
                 1.   อาหารไม่ถูกรสปาก
                 2.   อาหารไม่ถูกกับธาตุ
                 3.   อาหารบูดเน่า
                 4.   อาหารรสจัด
ข้อ 74.    พิกัดกองสมุฎฐาน ได้แก่อะไรบ้าง ?
                 1.   ธาตุสมุฎฐาน อายุสมุฎฐาน ฤดูสมุฎฐาน กาลสมุฎฐาน
                 2.   อายุสมุฎฐาน ฤดูสมุฎฐาน อาโปสมุฎฐาน กาลสุมฎฐาน
                 3.   วัยสมุฎฐาน ธาตุสมุฎฐาน อายุสมุฎฐาน กาลสมุฎฐาน
                 4.   ปัถวีสมุฐาน ฤดูสมุฎฐาน อายุสมุฎฐาน กาลสมุฎฐาน
ข้อ 75.     มีอาการให้ตัวเย็น และตัวขาวซีด สากชาไปทั้งตัว สวิงสวาย หากำลังมิได้ เป็นอาการของข้อใด
                 1.   เสโทพิการ
                 2.   อัสสุพิการ
                 3.   เมโทพิการ
                 4.   เขโฬพิการ
ข้อ 76.    มูลเหตุของการเกิดโรคตามคีมภีร์ธาตุวิวรณ์มีกี่ประการ
                  1.   4 ประการ
                  2.   6 ประการ
                  3.   8 ประการ
                  4.   10 ประการ
ข้อ 77.    เสมหะกำเริบในเวลาใด
                  1.   เวลาเที่ยงวัน อาหารยังไม่ย่อยยับ เวลาเที่ยงคืน
                  2.   เวลาเช้า บริโภคอาหารแล้ว เวลาพลบค่ำ
                  3.   เวลาบ่าย อาหารย่อยแล้ว เวลานอนหลับ
                  4.   เวลาบ่าย อาหารยังไม่ย่อย เวลาเที่ยงคืน
ข้อ 78.     ให้มีอาการดิ้นรน มือ เท้า ขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปๆมาๆ ให้ทุรนทุราย ให้หาวเรอบ่อยๆ คือธาตุใดพิการ
                  1.   อุทธังคมาวาตาพิการ
                  2.   อโธคมาวาตาพิการ
                  3.   อังคมังคานุสารีวาตาพิการ
                  4.   อัสสาสะปัสสาสะวาตาพิการ
ข้อ 79.     อาการไข้ต่อไปนี้ เป็นการแสดงออกของไข้ใด อาการปวดหัว ตัวร้อน หน้าแดง ตาแดง น้ำตาคลอ นัยน์ตาแดงดังโลหิต
                  1.   ไข้เพื่อโลหิต
                  2.   ไข้เพื่อกำเดา
                  3.   ไข้เพื่อเสมหะ
                  4.   ไข้เพื่อดี
ข้อ 80.     อาการทำพิษให้เน่าเปื่อย ให้ขาดเป็นชิ้นๆ ดุจถูกงูพิษสัตถมุขขบกัด เป็นอาการของธาตุใดพิการ
                  1.   ปถวีธาตุ
                  2.   วาโยธาตุ
                  3.   เตโชธาตุ
                  4    อาโปธาตุ
ข้อ 81.     อาการให้คลุ้มคลั่งดุจเป็นบ้า ให้หิวโหยหาแรงไม่ได้ ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก เป็นอาการของอะไรพิการ
                  1.   ปิตตังพิการ
                  2.   หทยังพิการ
                  3.   นหารูพิการ
                  4.   เสมหังพิการ
ข้อ 82.     อาโปธาตุเมื่อขาดใป 11 ยังเหลืออะไรอยู่
                  1.   น้ำลายยังอยู่
                  2.   น้ำดียังอยู่
                  3.   โลหิตยังอยู่
                  4.   น้ำมูตรยังอยู่
ข้อ 83.     ในรัชสมัยใด ที่ทรงจัดสร้างรูปจุดนวดที่วัดกลาง จังหวัดสงขลา
                  1.   รัชกาลที่  1
                  2.   รัชกาลที่ 2
                  3.   รัชกาลที่ 3
                  4.   รัชกาลที่ 4
ข้อ 84.     ศิลาจารึกตำรับบาบนฝาผนังของวัดโพธิ์ จ้ดทำขึ้นในสมัยใด
                  1.   รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                  2.   รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                  3.   รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                  4.   รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ข้อ 85.     หมอที่หลงเชื่อว่ายาของตนดี รักษาไข้หายได้โดยไม่ตรวจอาการไข้ก่อนที่จะวางยา จัดว่าลุแก่อคติข้อใด
                  1.   ฉันทาคติ
                  2.   โทสาคติ
                  3.   ภยาคติ
                  4.   โมหาคติ
ข้อ 86.     ข้อใดคือพิกัดเบญจโลธิกะ
                  1.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์เทศ จันทน์ชะมด จันทนา
                  2.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์ชะมด เนระพูสี  มหาสดำ
                  3.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์ชะมด จันทนา เนระพูสี
                  4.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์เทศ จันทนา มหาสดำ
ข้อ 87.     คนไข้มีอาการ "ให้ลงท้อง ให้จุกเสียด ให้พะอืดพะอม ให้สะอึก" ท่านจะพิเคราะห์ว่าเป็นอะไร
                  1.   อันตังพิการ
                  2.   อันตคุณังพิการ
                  3.   อุทริยังพิการ
                  4.   กรีสังพิการ
ข้อ 88.    จำพวกสัตว์น้ำ มีสรรพคุณในการรักษานั้น ในข้อใดที่จะใช้รักษากระษัยปลาหมอ ดี แก้พยาธิกิน แก้ผมร่วงเป็นหย่อมๆช่วยให้ผมดำ
                  1.   ปลาช่อน
                  2.   ปลาหมอ
                  3.   ปลากระเบน
                  4.   ปลาพยูน
ข้อ 89.    เตโชธาตุ 4 อย่าง อย่างไรที่สำหรับร้อนระส่ำระสาย ต้องอาบน้ำ และพัดหวี
                  1.   ปริณามัคคี
                  2.   ปริทัยหัคคี
                  3.   ชิรณัคคี
                  4.   สันตับปัคคี
ข้อ 90.     ธาตุดิน มีกี่ประการ
                  1.   20 ประการ
                  2.   21 ประการ
                  3.   22 ประการ
                  4.   อาจมากกว่านี้ก็ได้
ข้อ 91.    นกเป็นสัตว์ที่มีปีกบินไปมาได้ในอากาศ ถ้าจะปรุงยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้พิษตานซาง จะใช้นกใด
                  1.   นกนางแอ่น
                  2.   นกกาหรืออีกา
                  3.   นกกรด
                  4.   นกยูง
ข้อ 92.    น้ำมันไขข้อ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
                  1.   ปุพโพ
                  2.   ลสิกา
                  3.   วสา
                  4.   เสโท
ข้อ 93.    ผู้ป่วยที่อาการให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อ คือปอดเป็นหวัด เกิดจาก
                  1.   สันตัปปัคคีพิการ
                  2.   ชิรนัคคีพิการ
                  3.   ปริทัยหัคคีพิการ
                  4.   ปริณามัคคีพิการ
ข้อ 94.    พิกัดจตุวาตผล คือการจำกัดจำนวนตัวยา 4 อย่าง เรียกว่า พิกัดจตุวาตผล ข้อใดถูก
                  1.   เหง้าขิง กระลำพัก อบเชยเทศ โกฐเชียง
                  2.   เหง้าขิง กระลำพัก โกฐหัวบัว ชะเอมเทศ
                  3.   เหง้าขิง อบเชยเทศ กระลำพัก โกฐหัวบัว
                  4.   เหง้าขิง โกฐหัวบัว อบเชยเทศ ชะเอมเทศ
ข้อ 95.    มัามในความหมายแพทย์แผนไทย หมายถึงข้อใด ?
                  1.   ยกนัง
                  2.   วักกัง
                  3.   ปัปผาสัง
                  4.   อันตัง
ข้อ 96.    เมื่อพิการให้อกแห้ง ให้กระหายน้ำ และเป็นโรค เช่นริดสีดวงผอมแห้ง ชื่อว่าอะไรพิการ
                  1.   ยกนัง
                  2.   กิโลมกัง
                  3.   ปิหกัง
                  4.   ปัปผาสัง
ข้อ 97.    ฤดู 3 หนึ่งปีแบ่งออกเป็น 3  ฤดูๆละ 4 เดือน วสันตฤดู นับตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด
                  1.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึง 15 ค่ำเดือน 8
                  2.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึง 15 ค่ำเดือน 12
                  3.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
                  4.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
ข้อ 98.    สัตว์น้ำ ที่มีสรรพคุณในการทำยาต่างๆ ได้ ถ้าจะใช้ทำยาขับเลือดเน่าร้าย หลังจากคลอดบุตร และขับน้ำคาวปลา ควรใช้อวัยวะของสัตว์ชื่อใด
                  1.   ตะพาบน้ำ
                  2.   ปลากระเบน
                  3.   ปลาพะยูน
                  4.   ปลาวาฬ
ข้อ 99.    อวัยวะธาตุที่ทำหน้าที่ขับปัสสาวะออกจากร่างกาย เรียกว่าอะไร
                  1.   หทยัง
                  2.   ยกนัง
                  3.   ปิหกัง
                  4.   มัตถเกมัตถลุงคัง
ข้อ 100.  อาการทำให้ร้อนภายนอกภายใน มือเท้าเย็น เหงื่อออก เกิดจากธาตุใดพิการตรงกับข้อใด?
                  1.   ชิรณัคคีพิการ
                  2.   สันตัปปัคคีพิการ
                  3.   ปริทัยหัคคีพิการ
                  4.   ลมสุมนาพิการ

 

 

ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย2
ประจำปี 2545

ข้อ 1.      การกระทำต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการ "ขาย" ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับในปัจจุบัน
                1.   การขายส่ง
                2.   การแจกยาเพื่อการค้า
                3.   การมีไว้เพื่อการขาย
                4.   ทั้งข้อ 1, ข้อ2, และข้อ 3
ข้อ 2.      ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
                1.   โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
                2.   โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
                3.   โดยผ่านอินเตอร์เนท
                4.   โดยแสดงภาพและคำรับรองสรรพคุณของผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 3.      ถ้าผุ้ผลิตลักลอบผสมตัวยาเสตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ถือว่าเป็นการผลิต
                1.   ยาผิดมาตราฐาน
                2.   ยาปลอม
                3.   ยาแผนปัจจุบัน
                4.   ยาอันตราย
ข้อ 4.     นายวิบูลย์จะขายยาแผนโบราณที่จังหวัดนนทบุรี จึงได้มายื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต ให้วินิจฉัยว่านายวิบูลย์ปฎิบัติถูกต้องหรือไม่
              1.  ถูกต้องเพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาตสำหรับการออกใบอนุญาตทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
              2.  ถูกต้องเพราะการออกใบอนุญาตสำหรับการขายยาผู้อนุญาตอาจเป็นเลขาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
              3.  ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาในต่างจังหวัดต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
              4.  ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาคือปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ 5.  นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยด้วย จะผลิตยาแผนโบราณสูตร ซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีมาก จึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียน ตำรับยากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายสัญญาจะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้หรือไม่
                  1.   ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยา
                  2.   ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ มีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
                  3.   ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
                  4.   ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผู้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา
ข้อ 6.       กรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามมาตรา 7 (2) มีจำนวนกี่คน
                  1.   ไม่เกิน 3 คน
                  2.   ไม่เกิน 4 คน
                  3.   ไม่เกิน 2 คน
                  4.   ไม่เกิน 5 คน
ข้อ 7.      นายทรงเป็นกรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในกรณีใด
                  1.   ป่วยเป็นโรคหัวใจ รอการผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาล
                  2.   ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ในจำนวน 4 พันล้านบาท
                  3.   ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งเดือนในความผิดลหุโทษ
                  4.   พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 8.    ในกรณีผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลแล้วขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดกี่ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
                   1.   1 ปี
                   2.   2 ปี
                   3.   3 ปี
                   4.   4 ปี
ข้อ 9.      ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษสถานใด
                  1.   จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  2.   จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  3.   จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินสองหมื่นบาท
                  4.   จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 10.     อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตรงตามข้อใด
                  1.   ฉบับละ 2.000 บาท
                  2.   ฉบับละ 1,000 บาท
                  3.   ฉบับละ 500 บาท
                  4.   ฉบับละ 200 บาท
ข้อ 11.     กรรมการประกอบโรคศิลปะซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผุ้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
                  1.   2 ปี
                  2.   3 ปี
                  3.   4 ปี
                  4.   5 ปี
ข้อ 12.     คณะกรรมการวิชาชีพมีอำนาจที่จะสั่งพักใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปะที่กระทำผิดได้เป็นเวลานานเท่าใด
                  1.   ตามที่เห็นสมควร
                  2.   ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 1 ปี
                  3.   ไม่เกิน 3ปี
                  4.   ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 2 ปี
ข้อ 13.     ความหมายของเภสัชกรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายเดิมที่สำคัญคือ
                  1.   มีการกำหนดความหมายของเภสัชกรรมไทยไว้อย่างครอบคลุม
                  2.   มีการกำหนดในเรื่องการควบคุมและการประกันคุณภาพยา
                  3.   มีการกำหนดเรื่องการจัดจำหน่ายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
                  4.   มีการกำหนดเรื่องการผลิตยาต้องใช้กรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย
ข้อ 14.     ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติห้ามในเรื่องอะไร
                  1.   ห้ามโฆษณาการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
                  2.   ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
                  3.   ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะต่อตนเอง
                  4.   ห้ามกระทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามียาสมุนไพรที่มีสรรพคุณวิเศษ
ข้อ 15.     นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก.ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้า นาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน ใครมีหน้าที่ดำเนินการ
                   1.   พนักงานเจ้าหน้าที่
                   2.   คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                   3.   คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
                   4.   คณะอนุกรรมการสอบสวน
ข้อ 16.     ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
                   1.   ยี่สิบวัน
                   2.   ยี่สิบห้าวัน
                   3.   สามสิบวัน
                   4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 17.     เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย สั่งพักใช้ใบอนุญาตของนาย ว. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ต้องแจ้งคำวินิจฉัย ให้นาย ว.ทราบภายในระยะเวลา
                   1.   7 วัน
                   2.   15 วัน
                   3.   1 เดือน
                   4.   ไม่มีกำหนด
ข้อ 18.     ระหว่างที่นายธงชัย ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต นายธงชัยยังคงแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอยู่ ดังนี้ถือว่า นายธงชัย ต้องระวางโทษ
                   1.   จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   2.   จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   3.   จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   4.   จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 19.    หน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมและกำหนดมาตราฐานในการประกอบโรคศิลปะ เป็นหน้าที่ของใคร
                   1.   คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                   2.   คณะกรรมการวิชาชีพ
                   3.   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                   4.   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ 20.    องค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย
                   1.   บุคคลที่ได้รับเลือกทั้งหมด
                   2.   บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งทั้งหมด
                   3.   บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งกับกรรมการโดยตำแหน่ง
                   4.   บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งและตัวแทนจากหน่วยราชการ
ข้อ 21.    การนวดบริเวณเนื้อตายที่มีสีดำจากเลือดไปเลี้ยงน้อย อาจเกิดอันตรายที่ต้องระมัดระวังให้มากคือ
                   1.   ก้อนเลือดสีดำไปอุดตันสมอง
                   2.   เกิดแผลติดเชื้อ
                   3.   เส้นเลือดอักเสบ
                   4.   ทำให้ช๊อคหมดสติได้
ข้อ 22.    การบวมแบบใดที่ไม่ควรนวด
                   1.   บวมน้ำ
                   2.   บวมอักเสบ
                   3.   บวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน
                   4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 23.    ในตำราโรคนิทานของพระยาวิขยาธิบดีกล่าวว่า " เส้นเอ็นย่อมเป็นรู ........ชูให้ฟูฟอน" ข้อความที่เว้นไว้คือ
                   1.   เส้นลม
                   2.   ลมเลือด
                   3.   โลหิต
                   4.   น้ำเหลือง
ข้อ 24.    ลมจันทกะลา เป็นลมประจำเส้นประธานใด
                  1.   เส้นอิทา
                  2.   เส้นสุมนา
                  3.   เส้นปิงคลา
                  4.   เส้นสหัสรังษี
ข้อ 25.    ลมตาลตะคุณ เกิดจากเส้นใดก่อโทษ
                  1.   เส้นปิงคลา
                  2.   เส้นสุมนา
                  3.   เส้นกาลทารี
                  4.   เส้นทวารี
ข้อ 26.    ลมศุญทะกะลา เป็นลมประจำของเส้นประธานเส้นใด
                  1.   เส้นทวารี
                  2.   เส้นสุมนา
                  3.   เส้นคิชฌะ
                  4.   เส้นปิงคลา
ข้อ 27.    วิธีการนวดแบบใดที่ควรทำการเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อก่อนและหลังการนวด
                  1.   การดึง
                  2.   การกด
                  3.   การบิด
                  4.   การตัด
ข้อ 28.    เส้นที่ไปสิ้นสุดที่รากตาขวาคือเส้นใด
                  1.   ปิงคลา
                  2.   ทวารี
                  3.   สหัสรังษี
                  4.   รุชำ
ข้อ 29.    เส้นที่ลงไปถึงปลายนิ้วเท้าคือเส้นใด
                  1.   สหัสรังษี
                  2.   กาลทารี
                  3.   รุชำ
                  4.   อิทา
ข้อ 30.    เส้นสิบตามที่ท่านพรรณาในตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11 มีลักษณะอย่างไร
                  1.   สถิตย์ลึกสักสามนิ้ว
                  2.   ล้อมเป็นจันทราศูนย์
                  3.   เป็นแนวแถวทอดเรียงกัน
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 31.    ขิงแห้ง พริกเทศ พริกไทย ลูกจันทน์ การบูร ควรใช้รักษาโรคอะไร จึงได้ผลดี
                  1.   ลมจุกเสียด โลหิตระดูพิการไม่ปกติ
                  2.   ขับโลหิตเน่าร้ายทั้งปวง
                  3.   แก้กระษัยจุกเสียด
                  4.   แก้ลงท้อง แก้ปวดท้อง
ข้อ 32.    ให้กระหายน้ำ ไข้ตัวร้อน ใช้ขนานใดตรงกับอาการป่วย
                  1.   ยาจันทลีลา
                  2.   ยามหานิลแท่งทอง
                  3.   ยาประสะจันทน์แดง
                  4.   ยาจันทหฤทัย
ข้อ 33.    คนไข้มาพบท่านด้วยอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล ต้วร้อน ไอ จาม ท่านจะให้ยาขนานใดรับประทาน
                  1.   ยาากล่อมนางนอน
                  2.   ยาจันทลีลา
                  3.   ยาประสะจันทน์แดง
                  4.   ยาชื่อแก้ว 5 ดวง
ข้อ 34.    คนป่วยมีอาการจุกเสียดบ่อยๆ เวลากินกล้วยสุก แต่เส้นท้องไม่ตึง ท้องไม่ผูกควรใช้ยาขนานใดให้ตรงกับอาการของโรค
                  1.   ยาธรณีสัณฑะฆาต
                  2.   ยาเนาวหอย
                  3.   ยาธาตุบรรจบ
                  4.   ยาแก้กระษัย
ข้อ 35.    นาย ก.อายุ 25 ปีเศษ บ้านอยู่ในกทม. มาพบแพทย์ ตรวจแล้วพบว่ามีอาการเป็นไข้ตัวร้อนมา 2 วัน ไม่ไอ ท้องไม่ผูก ใช้ยาอะไรแก้
                  1.   ยาเหลืองปิดสมุทร
                  2.   ยาหอมทิพโอสถ
                  3.   ยาธาตุบรรจบ
                  4.   ยาจันทลีลา
ข้อ 36.    ผู้สูงอายุมักจะเป็นลม หัวใจเต้นไม่ปกติ ท่านหมอมีความเห็นว่าควรใช้ยาชนิดใด
                  1.   ยาหอมเทพวิจิตร
                  2.   ยาหอมทิพย์โอสถ
                  3.   ยาจันทหฤทัย
                  4.   ยาจันทร์สามโลก
ข้อ 37.    ยาแสงหมึก มีสรรพคุณรักษาโรคใด
                 1.   แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ
                 2.   แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกะเพราต้ม
                 3.   แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำลูกมะแว้งเครือ
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 38.   ชั่ง มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
                1.   1 หาบ
                2.   1,000 ตำลึง
                3.   60,000 กรัม
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 39.   การเก็บตัวยาเพื่อให้ได้ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงและมีสรรพคุณดี ในเวลา 06.00 - 09.00 น. ฤทธิ์ของยาจะอยู่บริเวณใด?
                1.   ทั่วทั้งต้น
                2.   ใบ
                3.   ราก
                4.   เปลือก
ข้อ 40.   การบูร มีสรรพคุณแก้โรคอะไร
                1.   ให้ย่อยอาหารพลันแรก แก้จักษุโรค แก้ริดสีดวง
                2.   แก้พรรดึก แก้ริดสีดวงในท้อง
                3.   แก้พิษฝี แก้ฟกบวม
                4.   แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต
ข้อ 41.   การรู้จักตัวยา 5 ประการ นั้นรู้ได้อย่างไร
                1.   การรู้จักต้น ใบ ดอก ลูกหรือฝัก และราก ของเภสัชวัตถุ
                2.   การรู้จักว่าสิ่งใดคือพืชวัตถุ สิ่งใดคือสัตว์วัตถุ สิ่งใดคือธาตุวัตถุ
                3.   การรู้จัก รูป รส กลิ่น สี และชื่อ ของเภสัชวัตถุ
                4.   การรู้จัก สิ่งใดคือเภสัชวัตถุ สิ่งใดคือตัวยา สิ่งใดคือยา
ข้อ 42.   คณะเภสัช เป็นการศึกษาให้รู้จักพิกัดยา พิกัดยานี้ได้มีการกำหนดแบ่งออกเป็นหมวดๆตามข้อใด?
                1.   พิกัด2 พิกัด มหาพิกัด
                2.   พิกัดน้อย พิกัด มหาพิกัด พิกัดพิเศษ
                3.   จุลพิกัด พิกัด มหาพิกัด
                4.   จุลพิกัด พิกัด มหาพิกัด พิกัดทั่วไป
ข้อ 43.   ชุมเห็ดเทศ ข้อใดเป็นการใช้ไม่ถูกต้อง?
                1.   ใบสด ใช้แก้กลาก
                2.   ใบสด ใช้แก้ท้องผูก
                3.   ดอกสด ใช้แก้กลาก
                4.   ดอกสด ใช้แก้ท้องผูก
ข้อ 44.   ตัวยาต่อไปนี้ ดอกดีปลี 1 ส่วน รากช้าพลู 2 ส่วน เถาสะค้าน  3 ส่วน ลูกสมอพิเภก 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 8 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน ใช้แก้ในกองใด
                1.   แก้เตโชธาตุกำเริบ
                2.   แก้เตโชธาตุหย่อน
                3.   แก้เตโชธาตุพิการ
                4.   แก้เตโชธาตุระคน
ข้อ 45.   ตัวยารสเมาเบื่อมีอะไรบ้าง?
                1.   พาดไฉน
                2.   เถาขี้กาทั้ง 2
                3.   ตานทั้ง 5
                4.   สะแกทั้ง 5
ข้อ 46.    ตัวยาและส่วนประกอบใดต่อไปนี้ เป็นมหาพิกัดอะไร ดอกดีปลี 2 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 1 ส่วน เถาสะค้าน 5 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน  เหง้าขิงแห้ง 3 ส่วน แก้ในกองใด
                1.   ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองวาโยธาตุ
                2.   ทศเบญจกูล แก้กองในปถวีธาตุ
                3.   โสฬสเบญจกูล แก้ในกองธาตุลม
                4.   ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองอาโปธาตุ
ข้อ 47.    ท่านจะปรุงยาให้คนไข้เพื่อฟอกเลือด บำรุงโลหิตสตรี จะใช้ในข้อใด
                 1.   ใบส้มเสี้ยว รกมะดัน ใบมะขาม
                 2.   ใบมะขาม คำฝอย รากไทรย้อย
                 3.   รกมะดัน ใบมะยม รากต่อไส้
                 4.   ใบมะขาม คำไทย แก่นปรู
ข้อ 48.     เทียนแกลบ สรรพคุณ ขับลม แก้เสมหะ เป็นตัวยาที่อยู่ในพิกัดใด?
                  1.   เนาวเทียน
                  2.   สัตตะเทียน
                  3.   เทียนพิเศษ
                  4.   เบญจเทียน
ข้อ 49.    ใน 1 ตำลึงจีน มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
                  1.   1 ตำลึงไทย
                  2.   2 ตำลึงไทย
                  3.   10 สลึง
                  4.   5 สลึง
ข้อ 50. ยาธรณีสันฑะฆาต เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้แก้กระษัยเส้น เถาดานท้องผูก ยาขนานนี้มีข้อห้ามใช้สำหรับผู้ป่วยกลุ่มใด เพราะ เหตุใด
                  1.   ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ เพราะเป็นยารสร้อน เข้าพริกไทยมาก จะทำให้ไข้มากขึ้น
                  2.   ผู้ป่วยท้องเสีย เพราะมียาดำ รงทอง จะทำให้ถ่าย ท้องเสียมากขึ้น
                  3.   สตรีมีครรภ์ เพราะเป็นยารสร้อน มีพริกไทย และยาระบายจะทำให้แท้งได้
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 51.    ยารสประธาน 3 รส ข้อใดถูกต้อง
                  1.   ร้อย เย็น และรสหวาน
                  2.   เย็น สุขุมและฝาด
                  3.   รสสุขุม เย็นและร้อน
                  4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 52.    รากของผักคราดหัวแหวน มีสรรพคุณแก้อะไร?
                  1.   ขับพยาธิ
                  2.   แก้อาการเจ็บคอ
                  3.   แก้ไตพิการ
                  4.   แก้ปอดบวม
ข้อ 53.    รากช้าพลู เป็นต้วยาประจำธาตุอะไร
                  1.   เตโชธาตุ
                  2.   วาโยธาตุ
                  3.   อาโปธาตุ
                  4.   แก้ปวดบวม
ข้อ 54.     สมุนไพรข้อไหนที่จะใช้ทำยา แก้ร้อนภายใน แก้ข้อข้อ บำรุงเนื้อและกระดูก บำรุงร่างกาย
                  1.   เมล็ดงา
                  2.   เมล็ดถั่วเขียว
                  3.  เมล็ดถั่วเขียว
                  4. เมล็ดถั่วลิสง
ข้อ 55.     ส่วนประกอบของสูตรยากวาดแสงหมึก นอกเหนือจากตัวยาหมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทน์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ดีงูเหลือม ชะมด พิมเสน คือข้อใด?
                  1.   ใบกระสัง
                  2.   ใบแมงลัก
                  3.   ใบกะเพรา
                  4.   ใบโหระพา
ข้อ 56.     สารหนูมีโทษอย่างไร
                  1.   ชักกระตุก หยุดหายใจ และตายในที่สุด
                  2.   กัดกระเพาะ ทำให้อาเจียนเป็นเลือด
                  3.   ท้องร่วง ปวดท้องอย่างรุนแรง
                  4.   ประสาทหลอน เป็นบ้า
ข้อ 57.     สิ่งต่อไปนี้เป็นสัตว์วัตถุ ให้ท่านพิจารณาว่า รสและสรรพคุณของสัตว์วัตถุใดถูกต้อง?
                  1.   นกนางแอ่น ใช้รังทำยา รสมันคาว สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ บำรุงกำลัง
                  2.   นกกา หรืออีกา ใช้กระดูกและขนทำยา สรรพคุณ แก้พิษกาฬ แก้พิษตานซาง แก้ไข้กาฬ
                  3.   น้ำผึ้ง ใช้น้ำหวานในรังทำยา รสหวาน สรรพคุณ ใช้ผสมยาปั้นเม็ด แก้ตาฟาง แก้ไอ
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 58.     การตรวจเส้นสุมนา ตามตำราวเวชศึกษาให้ทำอย่างไร
                  1.   ใช้นิ้วกดเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ
                  2.   ใช้นิ้วกดเหนือไหปลาร้า
                  3.   ใช้นิ้วกดเหนือกระดูกหน้าอก
                  4.   ใช้นิ้วกดใต้ลิ้นปี่
ข้อ 59.     ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเส้นอัษฎากาศ
                  1.   ไม่ควรกดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
                  2.   ตรวจชีพจรที่ข้อมือแทนก็ได้
                  3.   เป็นเส้นขั้วหัวใจตอนบน
                  4.   เกี่ยวข้องกับลมปัตฆาต ราทยักษ์
ข้อ 60.     ตรวจชีพจรพบว่า เดินตื้น เต้นเร็วและเดินแรง เม็ดใหญ่ แต่เดินไม่เสมอ มีหยุด แสดงถึงร่างกายผิดปกติอย่างไร
                  1.   อ่อนเพลีย
                  2.   อาการหนักรักษาไม่ได้
                  3.   มีพิษร้อนจัด เพ้อได้
                  4.   ใจเหี่ยวแห้ง
ข้อ 61.     ตามตำราเวชศึกษา เส้นที่อยู่เหนือสะดือ 1 นิ้วเศษ เป็นเส้นต่อเนื่องกับเส้นสุมนา มีหน้าที่รับโลหิต จากเส้นสุมนาจ่ายไปตามอวัยวะ ตอนล่างทั่วไปมีขาและเท้าเป็นต้น เรียกว่าเส้นอะไร
                  1.   เส้นกาลทารี
                  2.   เส้นสุมนา
                  3.   เส้นสหัสรังษี
                  4.   เส้นอัมพฤกษ์
ข้อ 62.     ตามตำราเวชศึกษา เส้นสุมนาถ้าพิการ จะทำให้เกิดเป็นโรคลมชนิดใด
                  1.   ชิวหาสดมภ์
                  2.   บาดทะจิต
                  3.   พิตคุณ
                  4.   ตุลาราก
ข้อ 63.    ถ้าตรวจพบผู้ป่วยมีลิ้นเป็นฝ้าละออง น่าจะป่วยเพราะโรคใด
                 1.   ไข้รากสาด
                 2.   ไข้กาฬ
                 3.   ธาตุพิการ
                 4.   น้ำลายพิการ
ข้อ 64.    ถ้าตรวจพบผู้ป่วยรู้สึกยอกในซี่โครงที่ 3-4 ด้านซ้าย มีไข้สูง ฟังเสียง หัวใจเต้นเบา ติดขัด ท่านวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคใด
                 1.   วัณโรค
                 2.   ถุงหุ้มหัวใจอักเสบ
                 3.   หัวใจอ่อน
                 4.   หัวใจบวม
ข้อ 65.    ถ้าท่านตรวจชีพจรผู้ป่วยแล้วพบว่ามีลักษณะเดินตื้น เต้นแรงและเร็ว เม็ดใหญ่ เดินเสมอท่านคิดว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไร
                 1.   มีพิษร้อน แต่โรคยังเบา
                 2.   มีพิษร้อน โรคปานกลาง
                 3.   มีกำลังน้อย อ่อนเพลีย
                 4.   มีไข้พิษ ไข้กาฬ ค่อนข้างมาก
ข้อ 66.   ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจบวม เสียงหัวใจเต้นจะเป็นอย่างไร
                 1.   ดังติ๊กๆ และช้า
                 2.   ดังฟืดๆ แฟดๆ
                 3.   ดังทึบและฝืด ไม่โปร่ง
                 4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 67.   ถ้าผู้ป่วยมีอุจจาระสีดำเป็นเมือกมัน ท่านคิดว่าไม่น่าจะเกิดโรคใด
                1.   ไข้อติสาร
                2.   ไข้รากสาด
                3.   โรคซาง
                4.   ไข้กาฬ
ข้อ 68.   ต้อแววนกยูงมีลักษณะอย่างไร
                1.   เป็นแววอยู่กลางตาดำ
                2.   ตามันดังเยื่อลำใยขาว
                3.   เห็นเป็นก้อนขาวเป็นเงาอยู่กลางตาดำ
                4.   ตาดำเป็นจุดขาวแวววาวดังขนนกยูง
ข้อ 69.   โรคตาชนิดไหน ที่เจ็บกระบอกตาเวลานอน ตาเป็นดุจเยื่อไม้?
                1.   ต้อฝี
                2.   ต้อก้นหอย
                3.   ต้อวาโย
                4.   ต้อกระจก
ข้อ 70.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร ลมเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระ มีดีซึมอยู่เป็นอันมาก เรียกชื่อว่าอะไร
                1.   ทักษณะคุละมะ
                2.   ปิตตะคุละมะ
                3.   โลหิตคุละมะ
                4.   รัตตะคุละมะ
ข้อ 71.   คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
                1.   กล่าวถึงว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป
                2.   กล่าวว่าด้วยลมที่ทำให้เกิดโรคและมีอาการต่างๆ
                3.   กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 72.  คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
                1.    โรคมูตร ตามคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร มีกี่ประการ
                2.   12 ประการ
                3.   18 ประการ
                4.   20 ประการ
ข้อ 73.   ลมทีบังเกิดให้เนื้อตัวบวม เรียกว่าลมอะไร?
                1.   ลมกำเดา
                2.   ลมผูกธาตุ
                3.   ลมปถวีกำเริบ
                4.   ลมกระษัยจุกอก
ข้อ 74.   ลมที่มีลักษณะและอาการ เมื่อแรกให้หาวเรอ และให้เหียน ขากรรไกรแข็. ถ้าขบมิลง ให้แน่นิ่ง ไม่ไม่รู้สึกตัว ปลุกมิตื่น กำหนด 3 วัน ถึง 7 คืน เป็นลักษณะและอาการของลมอะไร
                1.   ลมมหาสดมภ์
                2.   ลมอัศมุขี
                3.   ลมชิวหาสดมภ์
                4.   ลมอุทรวาต
ข้อ 75.   อาการทั้งสลบทั้งลงทั้งอาเจียน มิรู้ก็ว่าสันนิบาตสองคลอง มือเขียว หน้าเขียว ชัก มิรู้ก็ว่าป่วงให้ลงกำหนด 3 วัน คือลักษณะและอาการของโรค
                1.   ลมบาทาทึก
                2.   ลมบาดทะจิต
                3.   ลมมหาสดมภ์
                4.   ลมอีงุ้มอีแอ่น
ข้อ 76.   ชื่อของโรคเรื้อนทีเรียกตามลักษณะอาการของโรค ในคัมภีร์วิถีกุฎโรคมีหลายชื่อได้แก่ข้อใด
                 1.   เรื้อนวิมาลา เรื้อนหูด เรื้อนบอน เรื้อนดอกหมาก เรื้อนมะไฟๆ เป็นต้น
                 2.   เรื้อนกุฎฐัง เรื้อนกวาง เรื้อนกระดูก เรื้อนหูหนาตาเล่อ เรื้อนหิดๆ เป็นต้น
                 3.   เรื้อนเกล็ดปลา เรื้อนมะเฟือง เรื้อนมะไฟ เรื้อนมูลนก เรื้อนดอกหมากๆ เป็นต้น
                 4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 77. บางทีจับให้เซื่อมมึน บางทีให้ร้อนในกระหายน้ำ หอม สอึก บางทีให้จุกเสียด ข้อมือกำ เท้างอ มือสั่น บางทีให้ปวดแสบปวดร้อน เป็นกำลัง เป็นลักษณะของ
                 1.   ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 3
                 2.   ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 4
                 3.   ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 1
                 4.   ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 2
ข้อ 78.    ฝีที่มักขึ้นที่กระหม่อม กำดัน สันหลัง ขาทั้งสองข้าง ใต้ศอก ใต้รักแร้ ไหล่ทั้งสอง เป็นฝีชนิดใด
                 1.   ชนิดคว่ำประเภทที่ 1
                 2.   ชนิดคว่ำประเภทที่ 2
                 3.   ชนิดหงายประเภทที่ 1
                 4.   ชนิดหงายประเภทที่ 2
ข้อ 79.   ฝียอดเดียวคว่ำประเภทที่ 4 ถ้าเกิดในเดือน 11- เดือน 4 เนื่องจากเหตุใด
                 1.   ดี ลม เสมหะ ระคนกัน
                 2.   ลม น้ำเหลือง กำเดา ระคนกัน
                 3.   ดี น้ำเหลือง โลหิตระคนกัน
                 4.   โลหิต ลม เสมหะ ระคนกัน
ข้อ 80.   " อุปปาติกะวัณโรค" บังเกิดด้วยอาโปะาตุ คือฝีชื่ออะไร
                 1.   ฝีมานทรวง
                 2.   ฝีกุตะณะราย
                 3.   ฝีมะเร็งทรวง
                 4.   ฝีดาวดาษฟ้า
ข้อ 81.   คัมภีร์ทิพย์มาลา ได้กล่าวถึงลักษณะฝีไว้กี่ประการ
                 1.   10 ประการ
                 2.   15 ประการ
                 3.   17 ประการ
                 4.   19 ประการ
ข้อ 82.    ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
                 1.   กาฬพิพิธ
                 2.   กาฬพิพิธ
                 3.   กาฬมูตร
                 4.   กาฬสูตร

ข้อสอบ ข้อ 77-

ข้อ 77.   ไข้หนึ่งมีลักษณะผุดขึ้นเป็นเม็ดแดง เป็นแถว หญิงมักขึ้นซ้าย ชายมักขึ้นขวา สะพายแล่ง คล้ายสังวาลย์
               1.   ไข้ข้าวไหม้ใหญ่
               2.   ไข้กระดานหิน
               3.   ไข้สังวาลย์พระอินทร์
               4.   ไข้ข้าวไหม้เกรียม
ข้อ 78.   ลักษณะกุฎโรคที่เกิดขึ้นแล้วมีผิวนวลดุจน้ำผิวน้ำเต้า ซึ่งชาวโลกสมมุติว่า เรื้อนน้ำเต้า เกิดจากกองธาตุอะไร
              1.   ปถวีธาตุ
              2.   อาโปธาตุ
              3.   วาโยธาตุ
              4.   เตโชธาตุ
ข้อ 79.  ลักษณะฝียอดเดียวชนิดหงาย 2 ถ้าบังเกิดในเดือน 5-6-7-8-9-10 เกิดเพื่ออะไร
              1.   เพื่อลม น้ำเหลือง กำเดาระคนกัน
              2.   เพื่อ ดี ลม เสมหะระคนกัน
              3.   เพื่อ ดี โลหิต เสมหะระคนกัน
              4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 80.  ข้อใดจัดอยู่ในปัจจุบันกรรมอติสาร
              1.   อุตราวาตอติสาร
              2.   อมุธาตุอติสาร
              3.   มุศกายธาตุอติสาร
              4.   รัตตธาตุอติสาร
ข้อ 81.  คนไข้เมื่อพิการ ทำให้แข็งกระด้างตึงขา ผิวหนังเหี่ยวแห้งแข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษขบกัดคือข้อใด
              1.   ปถวีธาตุ
              2.   อาโปธาตุ
              3.   วาโยธาตุ
              4.   เตโชธาตุ
ข้อ 82.  คัมภีร์ทิพย์มาลา กล่าวถึงอะไร
              1.   ลักษณะของอติสาร
              2.   ลักษณะของฝีภายใน
              3.   ลักษณะของฝีภายนอก
              4.   ลักษณะของฝีกาฬ
ข้อ 83.   ถ้ากินปอดให้กระหายน้ำ ให้หอบ ถ้ากินม้าม ให้หลับอาการคล้ายปีศาจสิง หมายถึงอาการของอะไร
               1.   กาฬพิพัธ
               2.   กาฬพิพิธ
               3.   กาฬมูตร
               4.   กาฬสิงคลี
ข้อ 84.  ฝีหนึ่งเกิดใต้ลิ้น สัณฐานดังดวงจันทร์ อ้าปากออกเห็นหนึ่งลับอยู่ในลำคอ ไม่เห็นครึ่งหนึ่ง ให้ฟกบวมเป็นกำลัง กินข้าวกินน้ำมักให้ สำลักทางจมูก ถ้าแก่แดงดังผลอุทุมพร ฝีนั้นชื่ออะไร
               1.   ฝีฟองสมุทรร์
               2.   ฝีทันตมูลา
               3.   ฝีครีบกรด
               4.   ฝีราหูกลืนจันทร์
ข้อ 85.   แรกเป็นมีอาการให้ยอกเสียด หายใจขัดในทรวงอก เจ็บหน้าอกทั้งกลางวันและกลางคืน เสมหะเหนียว ซูบผอมให้แน่นหน้าอกเป็น กำลัง
               1.   ฝีวัณโรคชื่อฝียอดคว่ำ
               2.   ฝีวัณโรคชื่อฝีรากชอน
               3.   ฝีวัณโรคชื่อฝีธนูทวน
               4.   ฝีวัณโรคชื่อฝีมารทรวง
ข้อ 86.   กระษัย เป็นกลุ่มอาการของโรคอะไร?
               1.   กลุ่มอาการของโรคมะเร็ง
               2.   กลุ่มอาการของโรคริดสีดวง
               3.   กลุ่มอาการของโรคกระเพาะอาหาร
               4.   กลุ่มโรคเรื้อรังเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย
ข้อ 87.   กระษัยในข้อใดเกิดในลำไส้
               1.   กระษัยเต่า
               2.   กระษัยปลาหมอ
               3.   กระษัยปลาดุก
               4.   กระษัยลิ้นกระบือ
ข้อ 88.   กษัยลม เกิดเพื่อลม 6 จำพวก ตั้งอยู่ 4 แห่ง อยู่อย่างไร ข้อไหนที่ตั้งไม่ถูก
                1.   ใต้สะดือ 1 แห่ง
                2.   เหนือสะดือ 1 แห่ง
                3.   ริมสะดือซ้าย 1 แห่ง
                4.   ริมฝีปากขวา 1 แห่ง
ข้อ 89.   อาการที่ท้องน้อยและหัวเหน่าแข็งดุจแผ่นศิลา เคลื่อนไหวตัวไม่ได้ นานเข้าลามมาถึงยอดอก บริโภคอาหารไม่ได้ ปวดขบดังจะขาด ใจตาย เป็นอาการของกระษัยอะไร
                1.   กระษัยราก
                2.   กระษัยเหล็ก
                3.   กระษัยศิลา
                4.   กระษัยดาน
ข้อ 90.    กาฬต่อไปนี้เป็นกาฬอะไร เป็นตั้งแต่ดีลงมาอุจจาระปัสสาวะ เนื้อตัวเหลืองดังบมิ้นทา กระหายน้ำ หอบหายใจขัด ละเมอเพ้อพก 3 วัน จักอาสัญ
                1.   กาฬสิงคลี
                2.   กาฬมูตร
                3.   กาฬสูตร
                4.   กาฬพิพิธ
ข้อ 91.    ตรีสัณฑะฆาต ถ้าบังเกิดแก่ผู้ใด มักให้มีอาการต่างๆ ถ้าเกิดขึ้นในปอด จะมีอาการอย่างไร
                1.   เจรจาด้วยผี พูดเพ้อเจ้อ คลั่งเพ้อต่างๆ
                2.   ลงเป็นโลหิต แล้วเป็นผีเข้าสิง เข้าจำอยู่
                3.   ให้จุกเสียด ท้องเฟ้อ เป็นมาน
                4.   ทำให้กระหายน้ำเป็นอันมาก
ข้อ 92.    ทุราวสามี 4 จำพวก จำพวกใดที่รักษาไม่ได้
                 1.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีขาว
                 2.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลือง
                 3.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีโลหิตสดๆ
                 4.   ปัสสาวะออกมาเป็นสีดำดังน้ำคราม
ข้อ 93.    ปัสสาวะออกมาแดงขุ่นข้น เป็นสีดำดุจดั่งน้ำครามคือ
                 1.   มุตฆาต
                 2.   มุตกิต
                 3.   ทุราวสา
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 94.     อุจจาระมีกลิ่นหม็นเหมือนหญ้าเน่ามีอาการอย่างไร?
                  1.   เจ็บหน้าอก น้ำลายไหล ตาแดง
                  2.   เจ็บคอ ค้ดจมูก เมื่อยตัว
                  3.   เจ็บหน้าอก เจ็บในท้อง เจ็บในกระดูก
                  4.   ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียน
ข้อ 95.    กลิ่นอุจจาระเหม็นดังข้าวบูด เกิดเพราะกองสมุฎฐานใดเป็นเหตุ
                 1.   ปถวี
                 2.   อาโป
                 3.   วาโย 
                 4.   เตโช
ข้อ 96.    ท่านเห็นว่ากองมหาภูตรูปใดผิด
                 1.   กองมหาภูติรูปดิน 20
                 2.   กองมหาภูตรูปอากาศ 10
                 3.   กองมหาภูตรูปอาโป 12
                 4.   กองมหาภูตรูปวาโย 6
ข้อ 97.    โทษ 15 ประการ ในโรคอุจจาระธาตุ ข้อใดที่ไม่ถูกต้อง
                 1.   ให้แน่นในอกคับใจ
                 2.   ให้คันไปทั่วร่างกาย
                 3.   ให้ร้อนกระหายน้ำ
                 4.   ให้เจรจาพร่ำพรู
ข้อ 98.    ธาตุสมุฎฐานทั้ง  4 นั้น มีธาตุอะไรเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลาย?
                 1.   ปถวีธาตุ
                 2.   อาโปธาตุ
                 3.   วาโยธาตุ
                 4.   เตโชธาตุ
ข้อ 99.   ในคัมภีร์อุทรโรค ท่านหมายเอาโรคอะไร
                 1.   โรคกระเพาะอาหาร
                 2.   โรคท้องมาน
                 3.   โรคกระษัย
                 4.   โรคชรา
ข้อ 100.  อาโปธาตุพิการ ลักษณะของอุจจาระธาตุมีสีอะไร?
                 1.   ดำ
                 2.   ขาว
                 3.   เขียว
                 4.   แดง

 

 

คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 1
วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เวลา 09.00 - 12.00 น.
ชื่อ - นามสกุล ...............................................................................................       รหัสประจำตัวผู้สอบ.....................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อ 1.      การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
                 1.   การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
                 2.   การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
                 3.   การโฆษณายาแก้เบาหวาน โดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
                 4.   การโฆษณาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
ข้อ 2.      ถ้าผู้รับอนุญาตตาย และมีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติอาจเป็นผู้รับอนุญาตได้ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ต้องแสดงความจำนงต่อ ผู้อนุญาตภายในกี่วัน
                 1.   15 วัน
                 2.   7 วัน
                 3.   30 วัน
                 4.   25 วัน
ข้อ 3.     นาย ก.จะทำยาสระผมโดยมีดอกอัญชันเป็นส่วนประกอบและแสดงสรรพคุณบนฉลากว่าใช้สระผมทำให้สวย กรณีเช่นนี้ ยาสระผมดัง กล่ววจะจัดเป็น "ยา" ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันหรือไม่ เพราะเหตุใด
                 1.   เป็นยา เพราะมีการแสดงสรรพคุณเป็นยา
                 2.   เป็นยา เพราะยาสระผมจัดเป็นยาแล้ว
                 3.   เป็นยา เพราะอัญชันเป็นตัวยาสมุนไพร
                 4.   ไม่เป็นยา เพราะยาสระผมเป็นเครื่องสำอางและไม่มีการแสดงสรรพคุณที่เป็นยา
ข้อ 4.     นายเชี่ยวชาญเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ ต่อมาต้องการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของฉลากยา กรณีนี้นายเชี่ยวชาญจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้อง ตามกฎหมายยา
                 1.   สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นการแก้ไขส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
                 2.   ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเมื่อมีการแก้ไขแล้ว
                 3.   ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่
                 4.   ต้องขอแก้ไขทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนจึงจะทำได้
ข้อ 5.     สหกรณ์บ้านนาสารได้สนับสนุนให้สมาชิกทำยาฟ้าทะลายโจร โดยนำฟ้าทลายโจรมาตากแห้งแล้ว จำหน่าย กรณีนี้ให้วินิจฉัยว่า จะ ต้องดำเนินการอย่างไร ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายยา
                 1.   ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาก่อน จึงจะขายได้
                 2.   ต้องขอใช้ฉลากยาก่อน จึงจะขายได้
                 3.   ต้องขอมีทะเบียนยาก่อน จึงจะทำขายได้
                 4.   สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจากยาสมุนไพรได้รับยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา
ข้อ 6.     คำว่า ผู้อนุญาต ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 หมายความว่า
                 1.   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                 2.   ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
                 3.   ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ปลัดมอบหมาย
                 4.   อธิบดีกรมการแพทย์
ข้อ 7.     ในการปฎิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไร
                 1.   เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ
                 2.   เข้าไปในสถานพยาบาลได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบ
                 3.   ทำการจับกุมผุ้รับอนุญาตมาควบคุมเพื่อให้ถ้อยคำ
                 4.   ริบบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ข้อ 8.      ผุ้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง มีโทษประการใด
                 1.   จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 2.   จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 3.   จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 4.   ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ 9.      ผุ้ใดต่อไปนี้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผุ้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
                 1.   แม่ชีจิตอายุ 70 ปี
                 2.   นางสาวใจอยู่ที่ประเทศอเมริกา
                 3.   นายจิตขับรถประมาทชนคนบาดเจ็บสาหัส ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งปี
                 4.   นายจุกเสียการพนันฟุตบอลล์ไปจนมีหนี้สินรุงรัง
ข้อ 10.    เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย และเข้าไปรักษาในคลินิคแพทย์ สิ่งสำคัญที่ท่านควรจะต้องตรวจสอบในคลินิคนั้นคืออะไร
                 1.   ป้ายชื่อคลินิคตรงกับชื่อแพทย์หรือไม่
                 2.   ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
                 3.   วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือคุณวุฒิของแพทย์
                 4.   อุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งเวชภัณฑ์
ข้อ 11.    การขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรค ศิลปะ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามข้อใด
                 1.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                 2.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
                 3.   ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 12.    การช่วยเหลือคนเป็นลมข้างถนน โดยให้ยาดม และใช้ยาทาถูนวดตามร่างกาย จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 อย่างไรหรือไม่ ถ้าผู้ช่วยเหลือนั้นไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
                 1.   มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
                 2.   มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะในที่สาธารณะ
                 3.   มีความผิดฐานแสดงตน ว่าพร้อมที่จะประกอบโรคศิลปะ
                 4.   ไม่มีความผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือตามธรรมจรรยา
ข้อ 13.    คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนยา และรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะที่สำคัญคือ
                 1.   อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
                 2.   บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
                 3.   อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
                 4.   อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์
ข้อ 14.    ถ้าผู้ประกอบโรคศิลปะ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจะระวางโทษ อย่างไร
                 1.   จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 2.   จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 3.   จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 4.   จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 15.    นาย ก.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยได้ลงแจ้งความ ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับผลงานที่ได้รักษาผู้ป่วย ดังนี้ถือว่า นาย ก.
                 1.   ไม่สามารถทำได้เพราะผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
                 2.   ไม่สามารถทำได้เพราะป็นข้อความที่ผิดกฎหมาย
                 3.   ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการแจ้งความ
                 4.   ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเฉพาะบุคคล
ข้อ 16.    นายสงบ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย จัดรายการวิทยุโดยแนะนำเกี่ยวกับยาสมุนไพร ต่างๆ และบอกให้ผู้ฟังที่มีปัญหาความเจ็บป่วยไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลของตน นายสงบกระทำผิดหรือไม่ ด้วยเหตุใด
                 1.   ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการโฆษณาความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะของตน
                 2.   ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
                 3.   ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
                 4.   ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการจงใจชักชวนคนเจ็บไข้ให้รับการรักษาพยาบาลของตนเพื่อผลประโยชน์
ข้อ 17.    นายสงนถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต คดีถึงที่สุดแล้ว คณะกรรมการวิชาชีพจะดำเนินการกับ นายหน้าอย่างไร
                 1.   แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพดำเนินการสืบสวน
                 2.   ไม่ดำเนินการอย่างใดเพราะถูกจำคุกแล้ว
                 3.   สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
                 4.   ผิดถูกข้อ
ข้อ 18.    ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการวิชาชีพ ไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ การประชุมก็ต้องเลื่อนไป คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่
                 1.   ไม่ถูกต้อง เพราะมีรองประธานทำหน้าที่แทน
                 2.   ถูกต้อง เพราะการประชุมต้องมีประธานทำหน้าที่ตามกฎหมาย
                 3.   ไม่ถูกต้อง เพราะที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
                 4.   ถูกต้อง เพราะประธานไม่ได้มอบหน้าที่ให้กรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
ข้อ 19.    ผู้ที่เป็นทั้งกรรมการการประกอบโรคศิลปะและกรรมการวิชาชีพสาขาทางการแพทย์แผนไทยคือ
                 1.   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                 2.   ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
                 3.   ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะ
                 4.   ทุกข้อที่กล่าว
ข้อ 20.    วิชาชีพใด เมื่อจะทำการประกอบวิชาชีพ ต้องขึ้นทะเบียนและขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
                 1.   แพทย์
                 2.   พยาบาล
                 3.   ทันตแพทย์
                 4.   เทคนิคการแพทย์
ข้อ 21.    ปกติโลหิต หมายความว่าอย่างไร?
                 1.   โลหิตบริบูรณ์
                 2.   โลหิตแล่นสะดวก
                 3.   โลหิต กำเดา ดี
                 4.   โลหิตประจำเดือน
ข้อ 22.    โลหิตคลอดบุตร เมื่อบังเกิดทำให้โลหิตคั่ง เดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่ม เป็นก้อน สมมุติไว้ว่าอย่างไร
                 1.   เป็นบ้า แยกเขี้ยว
                 2.   ให้แดกขึ้นแดกลง
                 3.   บางทีให้คลั่งเพ้อ
                 4.   ปีศาจเข้าสิง
ข้อ 23.    โลหิตต้องพิฆาต หมายถึงข้อใด?
                 1.   ตกต้นไม้ ถูกทุบถอง โลหิตกระทบช้ำ ระคนกับโลหิตระดู
                 2.   โลหิตกระทบช้ำ โลหิตแห้งกรัง โลหิตพิการ คลอดบุตร
                 3.   ถูกทุบถอง โลหิตคลอดบุตร โลหิตเน่า
                 4.   โลหิตตกหมกซ้ำ ถูกทุบถอง โลหิตกระทบช้ำ ระดูพิการ
ข้อ 24.    ว่าด้วยริดสีดวงมหากาฬ 4 จำพวก ว่าเกิดที่ใดบ้าง
                 1.   เกิดที่ลิ้น
                 2.   เกิดที่กระเพาะอาหาร
                 3.   เกิดที่ตับ
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 25.    สตรีผู้ใดที่มีสามีแล้วมิได้มีสามีก็ดี เมื่อระดูจะมานั้น มีอาการกระทำให้ท้องขึ้นท้องพอง ให้จุกเสียดเป็นกำลัง ให้ตัวร้อนจับเป็นเวลา ให้คลื่นไส้ ให้อาเจียนลมเปล่า ระดูไม่ทำงาน มีสีดังดอกคำจาง เป็นโลหิตเกิดจากกองธาตุใด
                 1.   โลหิตระดูเกิด
                 2.   โลหิตระดูเกิดแต่กองวาโยธาตุ
                 3.   โลหิตระดูเกิดแต่กองวาโยธาตุ
                 4.   โลหิตระดูเกิดแต่กองปถวี
ข้อ 26.    "เบญจกัลยาณี" เป็นลักษณะแม่นมที่ดีมีกี่จำพวก
                 1.   2 จำพวก
                 2.   3 จำพวก
                 3.   4 จำพวก
                 4.   5 จำพวก
ข้อ 27.    คัมภีร์ปฐมจินดาได้กล่าวถึงโรคอะไร?
                  1.   โรคเกี่ยวกับบุรุษ
                  2.   โรคเกี่ยวกับสตรี-มารดา-ทารก
                  3.   โรคเกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย
                  4.   โรคเกี่ยวกับต้นเหตุของการเกิดโรคเรื้อน
ข้อ 28.    ช่วงที่ทารกคลอดออกจากครรภ์มารดา เรียกว่าอะไร
                  1.   ครรภ์กำเนิด
                  2.   ครรภ์ปฎิสนธิ
                  3.   ครรภ์ประสูตร
                  4.   ครรภ์ปริมณฑล
ข้อ 29.    ด้วยอำนาจแห่งลมกัมมัชวาตพัดให้กำเริบ หมายถึงลมอะไร
                  1.   ลมบ้าหมู
                  2.   ลมสลาตัน
                  3.   ลมเหมันต์ฤดู
                  4.   ลมพัดให้ศีรษะลง
ข้อ 30.    ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวถึงครรภ์วิปลาสมีกี่ประการ?
                  1.   3  ประการ
                  2.   4 ประการ
                  3.   5 ประการ
                  4.   6 ประการ
ข้อ 31.    มนุษย์ทั้งหลายถือปฎิสนธิออกจากครรภ์มารดา สตรีจะมีประเภทผิดจากบุรุษอย่างไร
                  1.   มีหน้าที่ดูแล ฟูมฟักลูก
                  2.   การปฎินธิของทารกจากมารดา
                  3.   มีต่อมเลือด น้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก
                  4.   หลังจากคลอดลูก ต้องมีน้ำนมให้ลูกกิน
ข้อ 32.    ลักษณะน้ำนมที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงกุมาร ต้องมีลักษณะอย่างไร?
                  1.   น้ำนมจาง สีเขียวดังน้ำต้มหอย
                  2.   น้ำนมจาง มีรสเปรี้ยว
                  3.   น้ำนมเป็นฟองลอย
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 33.    ลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมาร เกิดในสตรีที่มีกลิ่นตัวชนิดใด
                  1.   กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นบุรุษ
                  2.   กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นเนย
                  3.   กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นนกกา
                  4.   กลิ่นตัวสาบดังสุนัข
ข้อ 34.    สตรีมีโลหิตปกติโทษ คือสัตว์ที่จะมาปฎิสนธิในท้องมารดาได้เพราะ?
                  1.   โลหิตระดูมีมาทุกเดือน
                  2.   โลหิตระดูบริบูรณ์
                  3.   โลหิตระดูบริบูรณ์
                  4.   มารดาไม่บริโภคอาหารเผ็ดร้อน
ข้อ 35.    ซางนี้เกิดในกระหม่อม แล้วมาขึ้นในเพดาน ยอด 1 หรือ 3 ยอด 4 ยอด ครั้นได้ 2 เดือน 3 เดือน ก็กระจายออกมาขึ้นเหงือกและ กรามทั้ง 2 ข้าง ให้เจ็บปวดดมีพิษทั่วไป คือ ซาง
                  1.   ซางโจร
                  2.   ซางนิล
                  3.   ซางไฟ
                  4.   ซางม้า
ข้อ 36.    พระคัมภีร์มุขโรค เป็นโรคที่เกิดในปากในคอ ท่านว่าเป็นเพราะอะไร
                  1.   เป็นเพราะดี
                  2.   เป็นเพราะลม
                  3.   เป็นเพราะโลหิต
                  4.   เป็นเพราะเสมหะ
ข้อ 37.    โรคที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มุขโรคนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร?
                  1.   โลหิต
                  2.   ลม
                  3.   น้ำเหลือง
                  4.   เสมหะ
ข้อ 38.    ข้อสำคัญของลำบองราหูดันบังเกิดใน 12 เดือน คือข้อใด
                  1.   จับข้างขึ้นไม่ตาย
                  2.   จับข้างแรมตาย
                  3.   จับข้างขึ้นไม่ตายจับข้างแรมตาย
                  4.   จับข้างขึ้นตาย จับข้างแรมไม่ตาย
ข้อ 39.    ไข้ชนิดใดที่เมื่อเป็นแล้ว มีอายุอยู่ได้เพียงวันเดียว
                  1.   ไข้คด
                  2.   ไข้คดและไข้แหงน
                  3.   ไข้แหงน
                  4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 40.    ไข้ใดกระทำพิษให้ร้อนเป็นที่สุดให้ร้อนเป็นเปลว จับเอาหัวอกดำ จมูกดพ หน้าสีดำเป็นด้าน ข้อใดถูกต้อง
                  1.   ไข้สายฟ้าฟาด
                  2.   ไข้ไฟเดือนห้า
                  3.   ไข้ระบุชาด
                  4.   ไข้เปลวไฟฟ้า
ข้อ 41.    ไข้ที่มีอาการให้ปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด นัยตาแดง อาเจียน นอนไม่หลับ คือไข้อะไร
                  1.   ไข้หวัดน้อย
                  2.   ไข้หวัดใหญ่
                  3.   ไข้กำเดาน้อย
                  4.   ไข้กำเดาใหญ่
ข้อ 42.    ไข้ประเภทลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยได้ยิน(หูอื้อ) จัดเป็นไข้ประเถทใด?
                  1.   ไข้เอกโทษ
                  2.   ไข้ทุวันโทษ
                  3.   ไข้ตรีโทษ
                  4.   ไข้สันนิบาต
ข้อ 43.    ไข้สำประชวร หมายถึงไข้เกิดเนื่องจากอะไร
                  1.   อาการของไข้ที่แสดงออกทางผิวหนัง 5 ประการ
                  2.   อาการของไข้ที่แสดงออกทางนัยน์ตา 5 ประการ
                  3.   อาการของไข้ที่แสดงออกทางปาก 5 ประการ
                  4.   ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 44.    ไข้ออกออกหัด มีลักษณะการผุดอย่างไร
                  1.   ผุดขึ้นมาเหมือนฝีดาษทั่วทั้งตัว
                  2.   ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดข้าวสารหัก
                  3.   ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดทราบทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆ
                  4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 45.    คนไข้สะท้านร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ ไอ จาม น้ำมูกตกมาก ตัวร้อน อาเจียน ปากแห้ง ปากเปรี้ยว ปากขม กินอาหารไม่ได้ แล้วแปรไปให้ไอมาก ทำพิษให้คอแห้ง ปากแห้ง ฟันแห้ง น้ำมูกแห้ง ท่านเห็นว่าเขาป่วยเป็นอะไร
                  1.   ไข้กำเดาน้อย
                  2.   ไข้กำเดาใหญ่
                  3.   ไข้หวัดใหญ่
                  4.   ไข้สามฤดู
ข้อ 46.    ถ้าคนไข้มีอาการหน้าผากตึง นัยน์ตาดูไม่รู้จักอะไร มองไม่เห็นแล้วกลับเห็น หูตึง แล้วกลับได้ยิน จมูกไม่รู้กลิ่นแล้วกลับรู้ ลิ้นไม่รู้ รสอาหารแล้วกลับรู้
                  1.   สันตัปปัคคี
                  2.   ปริณาหัคคี
                  3.   ชิรณัคคี
                  4.   ปริทัยหัคคี
ข้อ 47.    ที่กล่าวว่าใช้สำประชวรให้แพทย ์สังเกตุนัยน์ตาคนไข้นั้น ถ้าคนไข้มีนัยน์ตาแดงดังโลหิตแดงและมีน้ำตาคลอเบ้า เป็นไข้สำประชวร อะไร
                  1.   ไข้เพื่อกำเดา
                  2.   ไข้เพื่อโลหิต
                  3.   ไข้เพื่อดี
                  4.   ไข้เพื่อลม
ข้อ 48.    ในการพิจารณาการรักษาไข้พิษไข้กาฬ มีข้อห้ามไว้อย่างไรบ้าง?
                  1.   ห้ามวางยารสร้อน รสเผ็ด รสเปรี้ยว
                  2.   ห้ามเอาโลหิตออก ห้ามถูกน้ำมัน ห้ามถูกเหล้า ห้ามนวด
                  3.   ห้ามประคบ ห้ามกิน ห้ามอาบน้ำร้อน ห้ามรับประทานส้มมีผิวมีควัน กะทิ น้ำมัน
                  4.   ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 49.    ในคิมหันตฤดู คือ เดือน 5 6 7 8 ท่านกล่าวว่าเป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ไข้เพื่อลม
                  2.   ไข้เพื่อโลหิต
                  3.   ไข้เพื่อกำเดา
                  4.   ไข้เพื่อเสมหะ
ข้อ 50.    มีลักษณะผุดขึ้นมาดังยุงกัดทั้งตัว ทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อน ตามคัมภีร์ตักศิลาตรงตามข้อ
                  1.   ไข้ประดงแมว
                  2.   ไข้ประดงลิง
                  3.   ไข้ประดงมด
                  4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 51.    มีลักษณะผุดขึ้นมาเป็นหมู่เป็นริ้วคล้ายตัวปลิงทั่วกาย ขนาด 1-3 นิ้ว สีดำเหมือนดินหม้อ เป็นอาการของไข้อะไร
                  1.   ไข้รากสาดปานเขียว
                  2.   ไข้รากสาดปานแดง
                  3.   ไข้รากสาดพนันเมือง
                  4.   ไข้รากสาดสามสหาย
ข้อ 52.    เมื่อเวลาจับไข้ มีอาการจับตัวร้อนเป็นเปลว เท้าเย็นมือเย็น ให้เชื่อมมัว ไม่มีสติสมปฤดี ให้หอบ ให้สะอึก จับตัวแข็งเหมือนท่อนไม้ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง จับไม่เป็นเวลา ถ้าพระอาทิตย์ ตกพิษก็คลายลง เป็นลักษณะของไข้อะไร
                 1.   ไข้จันทรสูตร
                 2.   ไข้สุริยสูตร
                 3.   ไข้เมตรสูตร
                 4.   ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 53.    ลักษณะการผุดของฝีกาฬ ผุดขึ้นมามีสัณฐานเรียวเล็กเท่าหวายตะคร้า ขนาด 1-2 นิ้ว ผุดขึ้นมาบั้นเอว ก้นกบ ชาทั้งสองข้าง ในที่ลับ ท้องน้อย ราวข้าง ใต้รักแร้ คืออาการของกาฬชนิดใด
                 1.   กาฬแม่ตะงาว
                 2.   กาฬฟองสมุทร
                 3.   กาฬตะบองพะลำ
                 4.   กาฬตะบองชนวน
ข้อ 54.    ลักษณะไข้พิษไข้กาฬ จากคัมภีร์ตักศิลา ผุดเป็นแผ่นเท่าใบพุทรา ขึ้นทั่วตัวมีสีดำ อาการจับมือเย็นเท้าเย็น ตัวร้อนเป็นเปลวเพลิง ตาแดงดังโลหิต ปวดศีรษะ ร้อนเป็นตอน เย็นเป็นตอน ไม่เสมอกัน จับรุ่งจนเที่ยง เที่ยงจนค่ำ เป็นลักษณะอาการของไข้
                 1.   ไข้อีดำ
                 2.   ไข้ปานดำ
                 3.   ไข้ปานแดง
                 4.   ไข้ดานหิน
ข้อ 55.    ลักษณะไข้มีอาการจับหนาวสะท้าน แสยงขน จุกแน่นในอก หายใจขัดไม่สะดวก เหงื่อตก
                 1.   ทุวันโทษลม และเสมหะ
                 2.   ทุวันโทษลม และกำเดา
                 3.   ทุวันโทษกำเดา และโลหิต
                 4.   ทุวันโทษกำเดา และเสมหะ
ข้อ 56.    ลักษณะที่เรียกว่า เอกโทษ ทุวันโทษ และตรีโทษ มีอาการอย่างไร?
                 1.   เอกโทษ คือ ไข้ที่มีโทษอย่างเดียว
                 2.   ทุวันโทษ คือ ไข้ที่มีส่งที่เกิดโทษรวมกัน 2 อย่าง
                 3.   ตรีโทษ คือไข้ที่มีสิ่งให้โทษ 3 สถาน
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 57.    ให้เชื่อมมัวไปไม่ได้สติ เอารังมดแดงมาเคาะกัดจนทั่วตัวยังไม่รู้สึก หมายถึงอะไร
                 1.   ไข้กระดานหิน
                 2.   ไข้ดานหิน
                 3.   ไข้กระโดงน้ำ
                 4.   ไข้กระโงแกลบ
ข้อ 58.    การพิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ อาการให้หนาว ให้ร้อน แสยงขน จุกอก ให้หลับไหล กินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก เป็นไข้ เพื่ออะไร
                 1.   ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ
                 2.   ไข้เพื่อกำเดาเอกโทษ
                 3.   ไข้เพื่อโลหิตเอกโทษ
                 4.   ไข้เพื่อลมเอกโทษ
ข้อ 59.    ข้อใดมิใช่สมุฎฐาน 3 ประการ ที่เป็นสาเหตุของสันนิบาต?
                 1.   ปิตตะ
                 2.   วาตะ
                 3.   เสมหะ
                 4.   โลหิต
ข้อ 60.    ไข้ที่เกิดจากเสมหะมีกำลังกี่วัน?
                 1.   7 วัน
                 2.   10 วัน
                 3.   12 วัน
                 4.   15 วัน
ข้อ 61.    คนไข้ผิวเนื้อขาว มีโลหิตรสใด และควรใช้ยารสใด ตามการพิเคราะห์ใช้ยารักษาโรคตามโลหิตฉวี
                 1.   โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ด ร้อน ขม
                 2.   โลหิตรสหวาน ใช้ยารสหวาน
                 3.   โลหิตรสเปรี้ยว ใช้ยารสเค็ม
                 4.   โลหิตรสเค็มและเย็นมาก ใช้ยารสหวาน
ข้อ 62.    คนไข้มีผิวเนื้อขาวเหลือง ควรใช้ยารสหวาน?
                 1.   ยารสหวาน
                 2.   ยารสเปรี้ยว
                 3.   ยารสเค็ม
                 4.   ยารสขม
ข้อ 63.    คนไข้มีอาการหนังสากชาไปทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหรือไต่ที่ตัวก็ไม่รู้สึก ให้แสบร้อนเป็นกำลัง สาหตุอะไรพิการ
                  1.   เนื้อพิการ
                  2.   หนังพิการ
                  3.   ผมพิการ
                  4.   เอ็นพิการ
ข้อ 64.    คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ฤดู 3 ให้ธาตุพิการ คิมหันตฤดู เตโชธาตุพิการ โลหิตเป็นต้นไข้ ให้โทษนานาประการ ตั้งแต่เมื่อใด
                  1.   แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
                  2.   แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
                  3.   แรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
                  4.   แรม 1 ค่ำเดือน 5 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ข้อ 65.    ตามคัมภีร์ธาตุวิภังค์กล่าวถึงธาตุเมื่อจะสิ้นอายุ ธาตุน้ำขาดไปตามลำดับจนเหลืออยู่ 1 อย่างคืออะไร
                  1.   น้ำเลือด
                  2.   น้ำดี
                  3.   น้ำมูก
                  4.   น้ำตา
ข้อ 66.    โทษหนึ่ง ให้วิงเวียนหน้าตา จะลุกขึ้นให้หาวเรอ ให้ขัดอก และเสียดสีข้าง ให้เจ็บหลัง เจ็บเอว ให้ไอ เสมหะขึ้นคอ ร้อนคอ ร้อนท้อง น้อย เรอ ตกเลือด ตกหนอง เหตุเพราะอะไรพิการ
                  1.   พังผืดพิการ
                  2.   ปอดพิการ
                  3.   ลำไส้ใหญ่พิการ
                  4.   ม้ามพิการ
ข้อ 67.    ในพระคัมภีร์สุมฎฐานวินิจฉัยนั้น เราเริ่มนับฤดูฝนจากเวลาใดไปจนถึงเวลาใด
                  1.   เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม
                  2.   เดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม
                  3.   แรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
                  4.   แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน12
ข้อ 68.    ในฤดู 6 คิมหันตฤดู แบ่งออกดังนี้ ข้อใดที่ไม่ใช่
                  1.   พัทธปิตตะ
                  2.   อพัทธปิตตะ
                  3.   กำเดา
                  4.   หทัยวาตะ
ข้อ 69.    ปถวีธาตุพิการ อาการให้คลุ่มคลั่งดุจเป็นบ้า หาแรงมิได้ ถ้ามิฉะนั้นให้หิวโหย ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก เหตุเพราะอะไรพิการ
                  1.   เป็นเพราะเนื้อพิการ
                  2.   เป็นเพราะเอ็นพิการ
                  3.   เป็นหฤทัยพิการ
                  4.   เป็นเพราะไตพิการ
ข้อ 70.    พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงประเทศสมุฎฐานนั้น แบ่งประเทศที่เกิดออกเป็นกี่ประการ
                  1.   2 ประการ
                  2.   3 ประการ
                  3.   4 ประการ
                  4.   5 ประการ
ข้อ 71.    พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงผิวกาย รสโลหิตและรสยารักษานั้น ถ้าคนไข้เป็นคนผิวเหลือง โลหิตรสเปรี้ยว จะประกอบยารสอะไร รักษาจึงจะหายเร็ว
                  1.   รสเค็ม
                  2.   รสหวาน
                  3.   ทุกรสเว้นรสเค็ม
                  4.   รสเผ็ดร้อนและขม
ข้อ 72.    พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงลักษณะอาการของทุวันโทษนั้น ถ้ามีอาการ "เป็นไข้ ปากขม ตัวสั่น พูดพร่ำเพ้อ ให้หนาวๆร้อนๆ และไอ"  เป็นเหตุอะไร
                   1.   เสมหะ กับวาตะ
                   2.   เสมหะ กับปิตตะ
                   3.   ปิตตะ กับวาตะ
                   4.   ปิตตะ กับโลหิต
ข้อ 73.    พัทธะปิตตะ หมายถึงข้อไหน
                   1.   ดีนอกฝัก
                   2.   กำเดา
                   3.   ดีในฝัก
                   4.   ถุงน้ำดี
ข้อ 74.    มูลเหตุให้โทษเกิดโรคต่างๆ มีกี่ประการ บอกให้ทราบ
                   1.   4 ประการ
                   2.   6 ประการ
                   3.   8 ประการ
                   4.   10 ประการ ข้อ 75.    ลมกองใดที่พัดอยู่ในลำไส้และในท้อง
                   1.   ลมอุทธังคมาวาตา
                   2.   ลมอโธคมาวาตา
                   3.   ลมกุจฉิสยาวาตา
                   4.   ลมโกฎฐาสยาวาตา
ข้อ 76.    วาโยธาตุสมุฎฐานพิการ พระอาทิตย์สถิตในราศรีใด
                   1.   มังกร
                   2.   กุมภ์
                   3.   มีน
                   4.   กรกฎ
ข้อ 77.    สะระทะฤดู เป็นพิกัดวาตาะสมุฎฐาน มีอะไรระคนให้เป็นเหตุ
                   1.   ปิตตะสมุฎฐาน
                   2.   วาตะสมุฎฐาน
                   3.   เสมหะสมุฎฐาน
                   4.   สันนิปาตะสมุฎฐาน
ข้อ 78.    สาเหตุของการตายโดยปัจจุบันโรคตามพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ คือข้อใด
                  1.   อหิวาตกโรค
                  2.   ธาตุทั้ง 4 ขาดไป
                  3.   ถูกทุบถองให้บอบช้ำ
                  4.   ถูกราชอาญาให้ประหารชีวิต
ข้อ 79.    อาการดังนี้เป็นอาการข้อใด มักให้เป็นบ้า ถ้ายังอ่อนอยู่ให้คุ้มดี คุ้มร้าย มักขึ้นโกรธ บางทีให้ระส่ำระสาย ให้หิวโหยหาแรงมิได้
                  1.   ม้ามพิการ
                  2.   ดวงหทัยพิการ
                  3.   ตับพิการ
                  4.   ไตพิการ
ข้อ 80.    อาการให้กายคนไข้แข็งกระด้าง ตัวชา เนื้อหนังเหี่ยว แข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษกฎมุขจบตอด คืออาการของธาตุอะไร
                  1.   เตโชธาตุพิการ
                  2.   วาโยธาตุพิการ
                  3.   ปถวีธาตุพิการ
                  4.   อาโปธาตุพิการ
ข้อ 81.    อาการให้คลุ้มคลั่งดุจเป็นบ้า ให้หิวโหยหาแรงไม่ได้ ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก เป็นอาการของอะไรพิการ
                  1.   ปัตตังพิการ
                  2.   หทยังพิการ
                  3.   นหารูพิการ
                  4.   เสมหังพิการ
ข้อ 82.    อาการให้ร้อนในอกในใจ ให้ไอเป็นมองคร่อ ท้องขึ้นท้องพอง ผะอืด ผะอม เป็นอาการของโรคอะไรพิการ
                  1.   ปริทัยหัคคีพิการ
                  2.   ปริณามัคคีพิการ
                  3.   ชีรณัคคีพิการ
                  4.   สันตัปปัคคีพิการ
ข้อ 83.    อาหารเก่าเมื่อพิการแตก คือ ซางขโมยกินลำไส้ เมื่อพ้นกำหนดซางแล้ว คืออะไร
                  1.   สันนิบาตลมประกัง
                  2.   ริดสีดวงทวาร
                  3.   ไส้ตีบ
                  4.   ลมกัมมัชวาตพัด
ข้อ 84.    ในสมัยใดที่มีการตรากฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย
                  1.   รัชกาลที่ 1
                  2.   รัชกาลที่ 2
                  3.   รัชกาลที่ 3
                  4.   รัชกาลที่ 4
ข้อ 85.    จรรยาแพทย์ที่ว่าละอายสะดุ้งกลัวบาป คือข้อใด
                  1.   ไม่ปิดบังความดีของผู้อื่น
                  2.   ไม่หวงกับลาภ
                  3.   มีหิริโอตตัปปะ
                  4.   มีโยนิโสมนิสิการ
ข้อ 86.    จรรยาแพทย์แผนโบราณว่าด้วย ไม่ลุแก่อำนาจอคติทั้ง 4 ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมนั้น ที่ว่าละอายสะดุ้งกลัวบาป คือข้อใด
                  1.   ไม่ปิดบังความดีของผู้อื่น
                  2.   ไม่หวงกับลาภ
                  3.   มีหิริโอตตัปปะ
                  4.   มีโยนิโสมนสิการ
ข้อ 87.    ก้อนที่อยู่ในศีรษะต่อเนื่องลามตลอดกระดูกสันหลัง ติดกับเส้นประสาททั่วไป เรียกว่าอะไร ?
                  1.   นหารู
                  2.   มัตถเก มัตถลุงคัง
                  3.   กิโลมกัง
                  4.   อันตคุนัง
ข้อ 88.    การฆ่าหรือประสะชะมดเช็ด ข้อใดที่ไม่ถูก
                 1.   เอาชะมดเช็ดใส่ถ้วย ใส่น้ำ ตั้งในกระทะ กวนจนยาสุก
                 2.   เอาชะมดเช็ดใส่บนใบพลู ลนด้วยควันเทียน
                 3.   ห่อชะมดเช็ดด้วยผ้าขาว ใส่ภาชนะนึ่ง
                 4.   ห่อชะมดเช็ดด้วยผ้าขาว ใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิดแล้วตุ๋นจนกว่าไขของชะมดเช็ดละลาย บีบเอาน้ำมาปรุงยา
ข้อ 89.    ข้อใดไม่ใช่ธาตุน้ำ
                 1.   เขโฬ
                 2.   เสโท
                 3.   เมโท
                 4.   ตะโจ
ข้อ 90.    ธาตุ 42 อย่าง หัวหน้าจะพิการบ่อย ย่อธาตุ 42 อย่าง เป็นสมุฎฐานธาตุ 3 กอง กองไหนผิด
                 1.   วาตะสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยลม
                 2.   ปิตตะสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยดี
                 3.   โลหิตังสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยโลหิต
                 4.   เสมหะสมุฎฐานอาพาธา อาพาธด้วยโลหิต
ข้อ 91.    ธาตุวัตถุที่สลายตัวง่าย ถ้าจะใช้ปรุงยาแก้ลมที่คั่งค้างตามเส้น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถอนพิษ แก้คันตามผิวหนัง ได้แก่อะไร
                 1.   กำมะถันเหลือง
                 2.   สารส้ม
                 3.   ดินประสิว
                 3.   จุนสี
ข้อ 92.    เนื้อมันสีขาว ออกเหลืองอ่อน มีในร่างทั่วไป คือข้อใด?
                 1.   เมโท
                 2.   สังฆานิกา
                 3.   ปุพโพ
                 4.   มุตตัง
ข้อ 93.    บุคคลที่เกิดในประเทศที่เป็น น้ำฝน เปือกตม จัดอยู่ในประเทศอะไร
                 1.   ประเทศร้อน
                 2.   ประเทศอบอุ่น
                 3.   ประเทศเย็น
                 4.   ประเทศหนาว
ข้อ 94.    มัชฌิมวัย คือวัยใด
                 1.   นับแต่แรกเกิดไปจนถึง 8 ปี
                 2.   นับตั้งแต่ 8 ปี ไปจนถึง 16 ปี
                 3.   นับตั้งแต่ 16 ปี ไปจนถึง 32 ปี
                 4.   นับตั้งแต่ 32 ปี ไปจนถึง 64 ปี
ข้อ 95.    เมื่อพิการ ให้เรอ ให้หาว ให้ตกอุจจาระเป็นโลหิต ให้มืด หน้ามัวตา ให้เมื่อยบั่นเอว ให้เสียดสองราวข้าง ให้ร้อนท้อง ให้ร้อนคอ ให้ตกอุจจาระเป็นหนอง เรียกว่าอะไรพิการ
                1.   อันตัง
                2.   อันตะคุนัง
                3.   อุทริยัง
                4.   มัตถเก-มัตถลุงกัง
ข้อ 96.    เมื่อพิการให้ผิวกายเหลือง ให้ตาเหลือง ให้ท้องเดิน ชื่อว่าอะไรพิการ
                1.   วสา
                2.   เขโฬ
                3.   สิงฆานิกา
                4.   ลสิกา
ข้อ 97.    ให้ไอ เจ็บคอ คอแห้ง เป็นหืด เป็นอาการพิการตรงตามข้อใด
                 1.   ศอเสมหะ
                 2.   อุระเสมหะ
                 3.   คูถเสมหะ
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 98.    อาการตาเหลือง ผิวเหลือง ลงท้อง มีสาเหตุจากข้อใด?
                 1.   วสาพิการ
                 2.   ดีพิการ
                 3.   เป็นโรคตา
                 4.   อพัทธปิตตะ
ข้อ 99.    อาการให้เจ็บตามข้อและแท่งกระดูกทั้วตัว เกิดจาก
                 1.  วสาพิการ
                 2.   อัฎฐิพิการ
                 3.   เสโทพิการ
                 4.   ลสิการพิการ
ข้อ 100.  อุตุสมุฎฐาน แปลว่าฤดูเป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค ระยะเวลาตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ไปจนถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เรียกว่า ฤดูอะไร
                 1.   คิมหันตฤดู
                 2.   วสันตฤดู
                 3.   เหมันตฤดู
                 4.   ไม่มีข้อถูก

 

 

ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 2
วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เวลา 13.00 - 16.00 น.

ข้อ 1.      การกระทำต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการ "ขาย" ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
                   1.   การขายส่ง
                   2.   การแจกยาเพื่อการค้า
                   3.   การมีไว้เพื่อการขาย
                   4.   ทั้ง ข้อ 1, และข้อ 2, และข้อ 3
ข้อ 2.      ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
                   1.   โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
                   2.   โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
                   3.   โดยผ่านอินเตอร์เนท
                   4.   โดยแสดงภาพและคำรับรองสรรพคุณของผุ้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 3.      ถ้าผู้ผลิตลอบผสมตัวยาเสตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณ ตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้  ถือว่าเป็นการผลิต
                  1.   ยาผิดมาตราฐาน
                  2.   ยาปลอม
                  3.   ยาแผนปัจจุบัน
                  4.   ยาอันตราย
ข้อ 4.     นายวิบูลย์จะขายยาแผนโบราณที่จังหวัดนนทบุรี จึงได้มายื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อให้เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต ให้วินิจฉัยว่า นายวิบูลย์ปฎิบัติถูกต้องหรือไม่
                1.    ถูกต้องเพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้อนุญาตสำหรับการออกใบอนุญาตทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
                 2.    ถูกต้องเพราะการอนุญาตสำหรับการขายยาผู้อนุญาตอาจเป็นเลขาธิการหรือผุ้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
                 3.    ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาในต่างจังหวัดต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
                4.   ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาติสำหรับการขายยาคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 
ข้อ 5. นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยด้วย จะผลิตยาแผนโบราณสูตร ซึ่งพบว่า ให้ผลการรักษาที่ดีมาก จึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายสัญญาจะขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้หรือไม่
                 1.   ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยา
                 2.   ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะมีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
                 3.   ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
                 4.   ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผู้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา
ข้อ 6.      กรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามมาตรา 7(2) มีจำนวนกี่คน
                 1.   ไม่เกิน 3 คน
                 2.   ไม่เกิน 4 คน
                 3.   ไม่เกิน 2 คน
                 4.   ไม่เกิน 5 คน
ข้อ 7.      นายทรงเป็นกรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในกรณีใด
                 1.   ป่วยเป็นโรคหัวใจ รอการผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาล
                 2.   ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ในจำนวน 4 พันล้านบาท
                 3.   ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งเดือนในความผิดลหุโทษ
                 4.   พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 8.      ในกรณีผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลแล้วขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดกี่ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาต
                 1.   1 ปี
                 2.   2 ปี
                 3.   3 ปี
                 4.   4 ปี
ข้อ 9.      ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษสถานใด
                 1.   จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 2.   จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 3.   จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินสองหมื่นบาท
                 4.   จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 10.    อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตรงตามข้อใด
                 1.   ฉบับละ 2,000 บาท
                 2.   ฉบับละ 1,000 บาท
                 3.   ฉบับละ 500 บาท
                 4.   ฉบับละ 200 บาท
ข้อ 11.    กรรมการการประกอบโรคศิลปะซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
                 1.   2 ปี
                 2.   3 ปี
                 3.   4 ปี
                 4.   5 ปี
ข้อ 12.    คณะกรรมการวิชาชีพมีอำนาจที่จะสั่งพักใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปะที่กระทำผิดได้เป็นเวลานานเท่าใด
                 1.   ตามที่เห็นสมควร
                 2.   ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 1 ปี
                 3.   ไม่เกิน 3 ปี
                 4.   ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 2 ปี
ข้อ 13.    ความหมายของเภสัชกรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายเดิมที่สำคัญคือ
                 1.   มีการกำหนดความหายของเภสัชกรรมไทยไว้อย่างครอบคลุม
                 2.   มีการกำหนดในเรื่องการควบคุมและการประกันคุณภาพยา
                 3.   มีการกำหนดเรื่องการจัดจำหน่ายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
                 4.   มีการกำหนดเรื่องการผลิตยาต้องใช้กรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย
ข้อ 14.    ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติห้ามในเรื่องอะไร
                 1.   ห้ามโฆษณาการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
                 2.   ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
                 3.   ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะต่อตนเอง
                 4.   ห้ามกระทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามียาสมุนไพรที่มีสรรพคุณวิเศษ
ข้อ 15.    นาย ก.มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้า นาย ก.ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน ใครมีหน้าที่ดำเนินการ
                1.   พนักงานเจ้าหน้าที่
                2.   คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                3.   คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
                4.   คณะอนุกรรมการสอบสวน
ข้อ 16.    ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือกกรรมการวิชาชีพ เป็นประธาน กรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
                1.   ยี่สิบวัน
                2.   ยี่สิบห้าวัน
                3.   สามสิบวัน
                4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 17.    เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยสั่งพักใบอนุญาตของนาย ว. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ต้องแจ้ง คำวินิจฉัยให้นาย ว. ทราบภายในระยะเวลา
                1.   7 วัน
                2.   15 วัน
                3.   1 เดือน
                4.   ไม่มีกำหนด
ข้อ 18.    ระหว่างที่นายธงชัย ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต นาย ธงชัย ยังคงแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอยู่ ดังนี้ถือว่า นายธงชัย ต้องระวางโทษ
                1.   จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                2.   จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                3.   จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                4.   จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 19.    หน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมและกำหนดมาตรฐานในการประกอบโรคศิลปะ เป็นหน้าที่ของใคร
                1.   คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
                2.   คณะกรรมการวิชาชีพ
                3.   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                4.   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ 20.    องค์ประกองของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประกอบด้วย
                1.   บุคคลที่ได้รับเลือกทั้งหมด
                2.   บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งทั้งหมด
                3.   บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งกับกรรมการโดยตำแหน่ง
                4.   บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้ง และตัวแทนจากหน่วยราชการ
ข้อ 21.    การนวดบริเวณเนื้อตายที่มีสีดำจากเลือดไปเลี้ยงน้อย อาจเกิดอันตรายที่ต้องระมัดระวังให้มากคือ
                1.   ก้อนเลือดดำไปอุดตันสมอง
                2.   เกิดแผลติดเชื้อ
                3.   เส้นเลือดอักเสบ
                4.   ทำให้ช็อคหมดสติได้
ข้อ 22.   การบวมแบบใดที่ไม่ควรนวด
                1.   บวมน้ำ
                2.   บวมอักเสบ
                3.   บวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 23.   ในตำราโรคนิทานของพระยาวิชยาธิบดีกล่าวว่า " เส้นเอ็นย่อมเป็นรู ......ชูให้ฟูฟอน" ข้อความที่เว้นไว้คือ
                1.   เส้นลม
                2.   ลมเลือด
                3.   โลหิต
                4.   น้ำเหลือง
ข้อ 24.   ลมจันทกะลา เป็นลมประจำเส้นประธานใด
                1.   เส้นอิทา
                2.   เส้นสุมนา
                3.   เส้นปิงคลา
                4.   เส้นสหัสรังษี
ข้อ 25.   ลมตาละคุณ เกิดจากเส้นใดก่อโทษ
                1.   เส้นปิงคลา
                2.   เส้นสุมนา
                3.   เส้นกาลทารี
                4.   เส้นทวารี
ข้อ 26.   ลมศุญทะกะลา เป็นลมประจำของเส้นประธานเส้นใด
                1.   เส้นทวารี
                2.   เส้นสุมนา
                3.   เส้นคิชฌะ
                4.   เส้นปิงคลา
ข้อ 27.    วิธีการนวดแบบใดที่ควรทำการเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อก่อนและหลังการนวด
                1.   การดึง
                2.   การกด
                3.   การบิด
                4.   การดัด
ข้อ 28.    เส้นที่ไปสิ้นสุดที่รากตาขวาคือเส้นใด
                1.   ปิงคลา
                2.   ทวารี
                3.   สหัสรังษี
                4.   รุชำ
ข้อ 29.   เส้นที่ลงไปถึงปลายนิ้วเท้าคือเส้นใด
                1.   สหัสรังษี
                2.   กาลทารี
                3.   รุชำ
                4.   อิทา
ข้อ 30.   เส้นสิบตามที่ท่านพรรณาในตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11 มีลักษณะการอย่างไร
                 1.   สถิตย์ลึกสักสามนิ้ว
                 2.   ล้อมเป็นจันทราศูนย์
                 3.   เป็นแนวแถวทอดเรียงกัน
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 31.    ขิงแห้ง พริกเทศ พริกไทย ลูกจันทน์ การบูร ควรใช้รักษาโรคอะไร จึงได้ผลดี
                 1.   ลมจุกเสียด โลหิตระดูพิการไม่ปกติ
                 2.   ขับโลหิตเน่าร้ายทั้งปวง
                 3.   แก้กระษัยจุกเสียด
                 4.   แก้ลงท้อง แก้ปวดท้อง
ข้อ 32.    ไข้กระหายน้ำ ไข้ตัวร้อน ใช้ขนานใดตรงกับอาการป่วย
                 1.   ยาจันทลีลา
                 2.   ยามหานิลแท่งทอง
                 3.   ยาประสะจันทน์แดง
                 4.   ยาจันทหฤทัย
ข้อ 33.    คนไข้มาพบท่านด้วยอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล ตัวร้อน ไอ จาม ท่านจะให้ยาขนานใดรับประทาน
                 1.   ยากล่อมนางนอน
                 2.   ยาจันทลีลา
                 3.   ยาประสะจันทน์แดง
                 4.   ยาชื่อแก้ว 5 ดวง
ข้อ 34.    คนป่วยมีอาการจุกเสียดบ่อยๆ เวลากินกล้วยสุก แต่เส้นท้องไม่ตึง ท้องไม่ผูก ควรใช้ยาขนานใดให้ตรงกับอาการของโรค
                 1.   ยาธรณีสัณฑะฆาต
                 2.   ยาเนาวหอย
                 3.   ยาธาตุบรรจบ
                 4.   ยาแก้กระษัย
ข้อ 35.    นาย ก.อายุ 25 ปีเศษ บ้านอยู่ใน กทม.มาพบแพทย์ตรวจแล้วพบว่า มีอาการเป็นไข้ตัวร้อนมา 2 วัน ไม่ไอ ท้องไม่ผูก ใช้ยาอะไรแก้
                 1.   ยาเหลืองปิดสมุทร
                 2.   ยาหอมทิพยโอสถ
                 3.   ยาธาตุบรรจบ
                 4.   ยาจันทลีลา
ข้อ 36.    ผู้สูงอายุมักจะเป็นลม หัวใจเต้นไม่ปกติ ท่านหมอมีความเห็นว่าควรใช้ยาชนิดใด
                 1.   ยาหอมเทพวิจิตร
                 2.   ยาหอมทิพย์โอสถ
                 3.   ยาจันทหฤทัย
                 4.   ยาจันทร์สามโคก
ข้อ 37.    ยาแสงหมึกมีสรรพคุณรักษาโรคใด
                 1.   แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ
                 2.   แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกะเพราต้ม
                 3.   แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำลูกมะแว้งเครือ
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 38.    ชั่ง มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
                 1.  1 หาบ
                 2.   1,000 ตำลึง
                 3.   60,000 กรัม
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 39.    การเก็บตัวยาเพื่อให้ได้ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงและมีสรรพคุณดี ในเวลา 06.00 - 09.00 น. ฤทธิ์ของยาจะอยู่บริเวณใด?
                 1.   ทั่วทั้งต้น
                 2.   ใบ
                 3.   ราก
                 4.   เปลือก
ข้อ 40.    การบูร มีสรรพคุณแก้โรคอะไร
                 1.   ให้ย่อยอาหารพลันแหลก แก้จักษุโรค แก้ริดสีดวง
                 2.   แก้พรรดึก แก้ริดสีดวงในท้อง
                 3.   แก้พิษฝี แก้ฟกบวม
                 4.   แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต
ข้อ 41.    การรู้จักตัวยา 5 ประการ นั้น รู้ได้อย่างไร?
                 1.   การรู้จัก ต้น ใบ ดอก ลูกหรือฝัก และราก ของเภสัชวัตถุ
                 2.   การรู้จักว่าสิ่งใดคือพืชวัตถุ สิ่งใดคือสัตว์วัตถุ สิ่งใดคือธาตุวัตถุ
                 3.   การรู้จัก รูป รส กลิ่น สี และชื่อ ของเภสัชวัตถุ
                 4.   การรู้จักว่าสิ่งใดคือเภสัชวัตถุ สิ่งใดคือตัวยา สิ่งใดคือยา
ข้อ 42.    คณาเภสัช เป็นการศึกษาให้รู้จักพิกัดยา พิกัดยานี้ได้มีการทำหนดแบ่งออกเป็นหมวดๆตามข้อใด?
                 1.   พิกัด2  พิกัด   มหาพิกัด
                 2.   พิกัดน้อย  พิกัด  มหาพิกัด  พิกัดพิเศษ
                 3.   จุลพิกัด  พิกัด  มหาพิกัด
                 4.   จุลพิกัด  พิกัด  มหาพิกัด  พิกัดทั่วไป
ข้อ 43.    ชุมเห็ดเทศ ข้อใดเป็นการใช้ไม่ถูกต้อง?
                 1.   ใบสด ใช้แก้กลาก
                 2.   ใบสด ใช้แก้ท้องผูก
                 3.   ดอกสด ใช้แก้กลาก
                 4.   ดอกสด ใช้แก้ท้องผูก
ข้อ 44.    ตัวยาต่อไปนี้ ดอกดีปลี 1 ส่วน  รากช้าพลู 2 ส่วน  เถาสะค้าน 3 ส่วน  ลูกสมอพิเภก 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 8 ส่วน รากเจตมุลเพลิง 16 ส่วน  ใช้แก้ในกองใด
                 1.   แก้เตโชธาตุกำเริบ
                 2.   แก้เตโชธาตุหย่อน
                 3.   แก้เตโชธาตุพิการ
                 4.   แก้เตโชธาตุระคน
ข้อ 45.    ตัวยารสเมาเบื่อ มีอะไรบ้าง?
                 1.   พาดไฉน
                 2.   เถาขี้กาทั้งสอง
                 3.   ตานทั้ง 5
                 4.   สะแกทั้ง 5
ข้อ 46.    ตัวยาและส่วนประกอบใดต่อไปนี้ เป็นมหาพิกัดอะไร ดอกดีปลี 2 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 1 ส่วน  เถาสะค้าน 5 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 3 ส่วน แก้ในกองใด
                1.   ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองวาโยธาตุ
                2.   ทศเบญจกูล แก้ในกองปถวีธาตุ
                3.   โสฬสเบญจกูล แก้ในกองธาตุลม
                4.   ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองอาโปธาตุ
ข้อ 47.    ท่านจะปรุงยาให้คนไข้เพื่อฟอกเลือด บำรุงโลหิตสตรี จะใช้ในข้อใด
                1.   ใบส้มเสี้ยว  รกมะดัน  ใบมะขาม
                2.   ใบมะขาม คำฝอย รากไทรย้อย
                3.   รกมะดัน  ใบมะยม รากต่อไส้
                4.   ใบมะขาม คำไทย แก่นปรู
ข้อ 48.    เทียนแกลบ  สรรพคุณ ขับลม แก้เสมหะ เป็นตัวยาที่อยู่ในพิกัดใด?
                1.   เนาวเทียน
                2.   สัตตะเทียน
                3.   เทียนพิเศษ
                4.   เบญจเทียน
ข้อ 49.    ใน 1 ตำลึง มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
                1.   1 ตำลึงจีน
                2.   2 ตำลึงไทย
                3.   10 สลึง
                4.   5 สลึง
ข้อ 50. ยาธรณีสันฑะฆาต เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ไช้แก้กระษัยเส้น เถาดานท้องผูก ยาขนานนี้มีข้อห้ามใช้สำหรับผุ้ป่วยกลุ่มใด เพราะ เหตุใด
                1.   ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ เพราะเป็นยารสร้อน เข้าพริกไทยมาก จะทำให้ไข้มากขึ้น
                2.   ผู้ป่วยท้องเสีย เพราะมี ยาดำ รงทอง จะทำให้ถ่าย ท้องเสียมากขึ้น
                3.   สตรีมีครรภ์ เพราะเป็นยารสร้อน มีพริกไทย และยาระบาย จะทำให้แท้งได้
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 51.    ยารสประธาน 3 รส ข้อใดถูกต้อง
                1.   ร้อน เย็นและหวาน
                2.   เย็น สุขุม และฝาด
                3.   รสสุขุม เย็นและร้อน
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 52.    รากของผักคราดหัวแหวน มีสรรพคุณแก้อะไร?
                1.   ขับพยาธิ
                2.   แก้อาการเจ็บคอ
                3.   แก้ไตพิการ
                4.   แก้ปอดบวม
ข้อ 53.    รากช้าพลู เป็นตัวยาประจำธาตุอะไร?
                1.   เตโชธาตุ
                2.   วาโยธาตุ
                3.   อาโปธาตุ
                4.   ปถวีธาตุ
ข้อ 54.    สมุนไพรข้อไหนที่จะใช้ทำยา แก้ร้อนภายใน แก้ขัดข้อ บำรุงเนื้อและกระดูก บำรุงร่างกาย
                1.   เมล็ดงา
                2.   เมล็ดถั่วเขียว
                3.   เมล็ดถั่วลันเตา
                4.   เมล็ดถั่วลิสง
ข้อ 55. ส่วนประกอบของสูตรยากวาดแสงหมึก นอกเหนือจากตัวยาหมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทน์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ดีงูเหลือม ชะมด พิมเสน คือข้อใด?
                1.   ใบกระสัง
                2.   ใบแมงลัก
                3.   ใบกะเพรา
                4.   ใบโหระพา
ข้อ 56.    สารหนู มีโทษอย่างไร
                1.   ชักกระตุก หยุดหายใจ และตายในที่สุด
                2.   กัดกระเพาะ ทำให้อาเจียนเป็นเลือด
                3.   ท้องร่วง ปวดท้องอย่างรุนแรง
                4.   ประสาทหลอน เป็นบ้า
ข้อ 57.    สิ่งต่อไปนี้เป็นสัตว์สัตถุ ให้ท่านพิจารณา รสและสรรพคุณ ของสัตว์ วัตถุใดถูกต้อง ?
                1.   นกนางแอ่น ใช้รังทำยา รสมันคาว สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ บำรุงกำลัง
                2.   นกกา หรืออีกา ใช้กระดูกและขนทำยา สรรพคุณ แก้พิษกาฬ แก้พิษตานซาง แก้ไข้กาฬ
                3.   น้ำผึ้ง ใช้น้ำหวานในรังทำยา รสหวาน สรรพคุณ ใช้ผสมยาปั้นเม็ด แก้ตาฟาง แก้ไอ
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 58.    การตรวจเส้นสุมนาตามตำราเวชศึกษาให้ทำอย่างไร
                1.   ใช้นิ้วกดเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ
                2.   ใช้นิ้วกดเหนือไหปลาร้า
                3.   ใช้นิ้วกดเหนือกระดูกหน้าอก
                4.   ใช้นิ้วกดใต้ลิ้นปี่
ข้อ 59.    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเส้นอัษฎากาศ
                1.   ไม่ควรกดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
                2.   ตรวจชีพจรที่ข้อมือแทนก็ได้
                3.   เป็นเส้นหัวใจตอนบน
                4.   เกี่ยวข้อกับลมปัตฆาต ราทยักษ์
ข้อ 60.    ตรวจชีพจรพบว่า เดินตื้น เต้นเร็วและเดินแรง เม็ดใหญ่ แต่เดินไม่เสมอ มีหยุด แสดงถึงร่างกายผิดปกติอย่างไร
                1.   อ่อนเพลีย
                2.   อาการหนักรักษาไม่ได้
                3.   มีพิษร้อนจัด เพ้อได้
                4.   ใจเหี่ยวแห้ง
ข้อ 61.   ตามตำราเวชศึกษา เส้นที่อยู่เหนือสะดือ 1 นิ้วเศษ เป็นเส้นต่อเนื่องกับเส้นสุมนา มีหน้าที่รับโลหิต จากเส้นสุมนาจ่ายไปตามอวัยวะ ตอนล่างทั่วไปมีขาและเท้าเป็นต้น เรียกว่าเส้นอะไร
                1.   เส้นกาลทารี
                2.   เส้นสุมนา
                3.   เส้นสหัสรังษี
                4.   เส้นอัมพฤกษ์
ข้อ 62.    ตามตำราเวชศึกษา เส้นสุมนาถ้าพิการ จะทำให้เป็นโรคลมชนิดใด
                1.   ชิวหาสดมภ์
                2.   บาดทะจิต
                3.   พิตคุณ
                4.   ตุลาราก
ข้อ 63.    ถ้าตรวจพบผู้ป่วยมีลิ้นเป็นฝ้าละออง น่าจะป่วยเพราะโรคใด
                1.   ไข้รากสาด
                2.   ไข้กาฬ
                3.   ธาตุพิการ
                4.   น้ำลายพิการ
ข้อ 64.    ถ้าตรวจพบผู้ป่วยรู้สึกยอกในซี่โครง 3-4 ด้านซ้าย มีไข้สูง ฟังเสียงหัวใจเต้นเบา ติดขัด ท่านวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคใด
                1.   วัณโรค
                2.   ถุงหุ้มหัวใจอักเสบ
                3.   หัวใจอ่อน
                4.   หัวใจบวม
ข้อ 65.    ถ้าท่านตรวจชีพจรผู้ป่วยแล้วพบว่ามีลักษณะเดินตื้น เต้นแรงและเร็ซ เม็ดใหญ่ เดินเสมอ ท่านคิดว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไร
                1.   มีพิษร้อน แต่โรคยังเบา
                2.   มีพิษร้อน โรคปานกลาง
                3.   มีกำลังน้อย อ่อนเพลีย
                4.   มีไข้พิษ ไข้กาฬ ค่อนข้างมาก
ข้อ 66.    ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจบวม เสียงหัวใจเต้นจะเป็นอย่างไร
                1.   ดังตึ้กๆและช้า
                2.   ดังฟืดๆ แฟดๆ
                3.   ดังทึบและฝืด ไม่โปร่ง
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 67.    ถ้าผู้ป่วยมีอุจจาระสีดำเป็นเมือกข้น ท่านคิดว่าไม่น่าจะเกิดจากโรคใด
                1.   ไข้อติสาร
                2.   ไข้รากสาด
                3.   โรคซาง
                4.   ไข้กาฬ
ข้อ 68.    ต้อแววนกยูง มีลักษณะอย่างไร
                1.   เป็นแววอยู่กลางตาดำ
                2.   ตามันดังเยื่อลำใยขาว
                3.   เห็นเป็นก้อนขาวเป็นเงาอยู่กลางตาดำ
                4.   ตาดำเป็นจุดขาวแวววาวดังขนนกยูง
ข้อ 69.    โรคตาชนิดใหน ที่เจ็บกระบอกตาเวลานอน ตาเป็นดุจเยื่อไม้?
                1.   ต้อฝี
                2.   ต้อก้นหอย
                3.   ต้อวาโย
                4.   ต้อกระจก
ข้อ 70.    คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร ลมเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระ มีดีซึมอยู่เป็นอันมาก เรียกชื่อว่าอะไร
                1.   ทักษณะคุละมะ
                2.   ปิตตะคุละมะ
                3.   โลหิตคุละมะ
                4.   รัตตะคุละมะ
ข้อ 71.    คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
                1.   กล่าวว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป
                2.   กล่าวว่าด้วยลมที่ทำให้เกิดโรคและมีอาการต่างๆ
                3.   กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 72.    โรคมูตร ตามคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร มีกี่ประการ
                1.   12 ประการ
                2.   16 ประการ
                3.   18 ประการ
                4.   20 ประการ
ข้อ 73.    ลมที่บังเกิดให้เนื้อตัวบวม เรียกว่าลมอะไร?
                1.   ลมกำเดา
                2.   ลมผูกธาตุ
                3.   ลมปถวีกำเริบ
                4.   ลมกระษัยจุกอก
ข้อ 74.    ลมที่มีลักษณะและอาการ เมื่อแรกให้หาวเรอและให้เหียน ขากรรไกรแข็ง อ้าขบมิลง ให้แน่นิ่ง ไปไม่รู้สึกตัว ปลุกมิตื่น กำหนด 3 วัน ถึง 7 คืน เป็นลักษณะและอาการของลมอะไร
                1.   ลมมหาสดมภ์
                2.   ลมอัศมุขี
                3.   ลมชิวหาสดมภ์
                4.   ลมอุทรวาต
ข้อ 75.  อาการทั้งสลบทั้งลงทั้งอาเจียน มิรู้ก็ว่าสันนิบาตสองคลอง มือเขียว หน้าเขียว ชัก มิรู้ก็ว่าป่วงให้ลงกำหนด 3 วัน คือลักษณะและ อาการของโรค
                1.   ลมบาทาทึก
                2.   ลมบาดทะจิต
                3.   ลมมหาสดมภ์
                4.   ลมอีงุ้มอีแอ่น
ข้อ 76.    ชื่อของโรคเรื้อนที่เรียกตามลักษณะอาการของโรค ในคัมภีร์วิถีกุฎโรคมีหลายชื่อได้แก่ข้อใด
                1.   เรื้อนวิมาลา เรื้อนหูด เรื้อนบอน เรื้อนดอกหมาก เรื้อนมะไฟๆ เป็นต้น
                2.   เรื้อนกุฎฐัง เรื้อนกวาง เรื้อนกระดูก เรื้อนหูหนาตาเล่อ เรื้อนหิด ๆ เป็นต้น
                3.   เรื้อนเกล็ดปลา เรื้อนมะเฟือง เรื้อนมูลนก เรื้อนดอกหมาก ๆ เป็นต้น
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 77.   บางทีจับให้เซื่อมมึน บางทีให้ร้อนในกระหายน้ำ หอบ สอึก บางทีให้จุกเสียด ชักมือกำเท้างอ มือสั่น บางทีให้ปวดแสบปวดร้อนเป็น กำลัง เป็นลักษณะของ
                1.   ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 3
                2.   ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 4
                3.   ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 1
                4.   ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 2
ข้อ 78.    ฝีที่มักขึ้นที่กระหม่อม กำดัน สันหลัง ขาทั้งสองข้าง ใต้ศอก ใต้รักแร้ ไหล่ทั้งสอง เป็นฝีชนิดใด
                1.   ชนิดคว่ำประเภทที่ 1
                2.   ชนิดคว่ำประเภทที่ 2
                3.   ชนิดหงายประเภทที่ 1
                4.   ชนิดหงายประเภทที่ 2
ข้อ 79.    ฝียอดเดียวคว่ำประเภทที่ 4 ถ้าเกิดในเดือน 11-เดือน 4 เนื่องจากเหตุใด
                1.   ดี ลม เสมหะ ระคนกัน
                2.   ลม น้ำเหลือง กำเดา ระคนกัน
                3.   ดี น้ำเหลือง โลหิตระคนกัน
                4.   โลหิต ลม เสมหะระคนกัน
ข้อ 80.    "อุปปาติกะวัณโรค" บังเกิดด้วยอาโปธาตุ คือฝีชื่ออะไร
                 1.   ฝีมานทรวง
                 2.   ฝีกุตะณะราย
                 3.   ฝีมะเร็งทรวง
                 4.   ฝีดาวดาษฟ้า
ข้อ 81.    คัมภีร์ทิพย์มาลา ได้กล่าวถึงลักษณะฝีไว้กี่ประการ
                 1.   10 ประการ
                 2.   15 ประการ
                 3.   17 ประการ
                 4.   19 ประการ
ข้อ 82.    ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
                 1.   กาฬพิพัธ
                 2.   กาฬพิพิธ
                 3.   กาฬมูตร
                 4.   กาฬสูตร
ข้อ 83.     ฝีหนึ่งเมื่อจะบังเกิด ทำให้เจ็บปวดสันหลัง ให้เมื่อย ให้จุกแดกเป็นกำลัง ให้เสียดในอุทร ให้ซูบผอม บริโภคอาหารมิได้ คือฝีอะไร
                 1.   ฝีธนทวน
                 2.   ฝีธรสูตร
                 3.   ฝีสุวรรณเศียร
                 4.   ฝีมะเร็งทรวง
ข้อ 84.     มาน ( เลือด,  ลม, หิน,น้ำเหลือง, กระษัย)  จัดอยู่ในอติสารอะไร
                 1.   อุทรวาตอติสาร
                 2.   สุนทรวาตอติสาร
                 3.   อุตราวาตอติสาร
                 4.   ปัสสยาวาตอติสาร
ข้อ 85.    อาการให้ลง ร้อนในอก สวิงสวายไม่มีแรง ตัวร้อน อุจจาระเป็นสีแดง บริโภคอาหารไม่รู้รส เป็นอาการของอชินธาตุใด ในคัมภีร์ อติสาร
                 1.   เสมหะอชิน
                 2.   ปิตตะอชิน
                 3.   วาตะอชิน
                 4.   สันนิปาตะอชิน
ข้อ 86.      คัมภีร์กระษัย กล่าวถึงโรคกระษัยกี่จำพวก
                 1.   20 จำพวก
                 2.   24 จำพวก
                 3.   26 จำพวก
                 4.   28 จำพวก
ข้อ 87.      กระษัยไฟเกิดเพื่อเตโชธาตุ 3 ประการ ข้อใดไม่ใช่
                  1.   สันตัปปัคคี
                  2.   ชิรณัคคี
                  3.   ปริณามัคคี
                  4.   ปริทัยหัคคี
ข้อ 88.      กระษัยลมเกิดเพื่อลม จำพวกที่ 6 มีที่ตั้งอยู่กี่แห่ง
                  1.   แห่งเดียว
                  2.   สองแห่ง
                  3.   สี่แห่ง
                  4.   หกแห่ง
ข้อ 89.      คำว่ากระษัย โบราณหมายถึงเป็นโรคอะไร
                  1.   โรคที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้ท้องโต
                  2.   โรคที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
                  3.   โรคที่เกิดขึ้นมาเองหรือเกิดจากองธาตุ
                  4.   โรคที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้มีอาการปวด ยอก ขบ เสียดในร่างกาย
ข้อ 90.     กระทำให้ผิวอัณฑะดำบวม ฟกข้างหนึ่ง เจ็บตาข้างหนึ่ง ปวดศีรษะข้างหนึ่ง ปัสสาวะเป็นน้ำเหลืองโลหิตเจือออกมา แสบตาตามช่อง ปัสสาวะเป็นองคสูตร เกิดในฤดูใด
                  1.   คิมหันตฤดู
                  2.   วสันตฤดู
                  3.   เหมันตฤดู
                  4.   สันนิบาตฤดู
ข้อ 91.      ข้อไหนเป็นความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะของเพศชาย?
                  1.   ช้ำรั่ว
                  2.   องคสูตร
                  3.   ทุราวสา
                  4.   มุตกิต
ข้อ 92.      โรคชนิดใด เมื่อจะบังเกิดให้ผิวอัณฑะดำและบวม มีพิษแสบร้อน ให้ขัดปัสสาวะ เสียดสองราวข้างและหน้าอกจับเป็นเวลา บริโภค อาหารมิได้ ตกเสมหะดุจเป็นบิด เป็นอาการของโรคอะไร
                  1.   อุปทม
                  2.   องคสูตร
                  3.   ช้ำรั่ว
                  4.   ไส้ด้วน
ข้อ 93.     อาการปวดหัวเหน่า ให้แสบองคชาติ ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาวเป็นไปต่างๆ คืออาการของ
                  1.   มุตฆาต
                  2.   มุตกิต
                  3.   สัณฑะฆาต
                  4.   ทุราวสา
ข้อ 94.     กลิ่นอุจจาระที่บังเกิดแต่กองเตโชสมุฎฐานนั้นเป็นเหตุนั้น มีกลิ่นอะไร?
                  1.   กลิ่นข้าวบูด
                  2.   กลิ่นหญ้าเน่า
                  3.   กลิ่นซากศพ
                  4.   กลิ่นปลาเน่า
ข้อ 95.      การใช้ยามหาพรหมภักตร์ เพื่อแก้อุจจาระธาตุมไม่ปกติ ควรใช้อะไรเป้นน้ำกระสายในการทำเป็นเม็ด
                  1.   น้ำเปลือกมะรุมต้ม
                  2.   น้ำสีเสียดต้ม
                  3.   น้ำโสฬสเบญจกูล
                  4.   น้ำทศเบญจกูล
ข้อ 96.      มานหินทั้ง 4 ประการ เกิดจากกองธาตุใด
                  1.   ธาตุดิน
                  2.   ธาตุน้ำ
                  3.   ธาตุลม
                  4.   ธาตุไฟ
ข้อ 97.     ลักษณะอุจจาระธาตุ ที่มีอาการให้ตาพร่า เมื่อยมือ เป็นตะคริวขัดเข่า เมื่อยสันหลัง สองเกลียวข้างแข็ง สมมุติว่าฝีเส้น อาเจียนลม มา จากธาตุใด
                 1.   อาโปธาตุ
                 2.   ปถวีธาตุ
                 3.   วาโยธาตุ
                 4.   เตโชธาตุ
ข้อ 98.      ลักษณะอุจจาระสำแดงโทษ กลิ่นดังข้าวบูด เกิดแต่กองสมุฎฐานใด
                  1.   เตโชธาตุ
                  2.   วาโยธาตุ
                  3.   อาโปธาตุ
                  4.   ปถวีธาตุ
ข้อ 99.     อสาทิยะมรณันติกชวร หมายถึงโรคอะไร
                  1.   โรคเรื้อรัง เพราะกินยาไม่ถูกกับโรค
                  2.   โรคบังเกิดเพราะโอปักกะมิกะโรค
                  3.   โรคเรื้อรังเพราะความชรา
                  4.   โรคเรื้อรังเพราะทานอาหารไม่ถูกกับธาตุ
ข้อ 100.   อสาทิยะอุจจาระคันธารธาตุ ที่ทำให้คนไข้มีอุจจาระกลิ่นดังหญ้าเน่า มีอาการปากแห้ง คอแห้งหนักตัว คือสมุฎฐานเตโชธาตุระคน ด้วย สิ่งใด
                  1.   วัฒฑอชินะ
                  2.   อามะอชินะ
                  3.   วิวัฒฑอชินะ
                  4.   มลอชินะ